14 มี.ค. เวลา 00:57 • สุขภาพ

วันนี้คุณนอนมากน้อยแค่ไหน?

เป็นที่ทราบกันดีว่าในหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง
ในแต่ละวันเราสามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม
ซึ่งแต่ละคนก็มีภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันไป
1
บางคนทำได้มาก บางคนทำได้น้อย
แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เรามักมองข้ามและให้ความสำคัญ
กับมันน้อยมากทั้งๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญ
ที่ควรทำในแต่ละวันทุกวัน
นั้นคือ การนอนหลับ
1
สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก
ได้กำหนดให้วันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 2 ในเดือนมีนาคมทุกปี
เป็น วันนอนหลับโลก เพื่อช่วยกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ
และสุขอนามัยการนอนที่ดี
วันนอนหลับโลกในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน โดยจะกำหนดให้วันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 แบบเต็มสัปดาห์ ในเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันนอนหลับโลก ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันที่ 14 มีนาคม 2568 หรือวันนี้นั่นเอง
การนอนเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
ของร่างกายเรา เป็นส่วนสำคัญของชีวิตในทุกช่วงอายุเรา ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เราอยู่ในท้องแม่
พอเราคลอดออกมาเป็นทารก
เราก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ 15 ชั่วโมงทั้งกลางวัน
และกลางคืนในการนอน
เพื่อการพักผ่อนและสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท
ช่วยในการพัฒนาของสมอง
พอเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่
เราใช้เวลาในการนอนน้อยลง เหลือเพียง 6-8 ชั่วโมง แต่ก็ยังมากเพียงพอที่เราจะใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตเลยทีเดียว เราพักผ่อนด้วยการนอน
เพื่อให้ต่อมใต้สมองหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมา
ช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอจากการใช้ชีวิต
ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างมวลกระดูก
ช่วยย่อยน้ำตาลและไขมัน รวมไปถึงการส่งเสริม
กระบวนการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย
1
โดยโกรทฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมามากที่สุด
ในช่วงวัยรุ่นอายุ 15 ปี จึงทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่มี
การเจริญเติบโตด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนสูง
น้ำหนัก และกล้ามเนื้อมากที่สุด
ในวัยนี้หากเราอดนอน
มากแค่ไหนเราจะยังไม่ค่อยรู้สึกร่างกายพัง
ร่างกายทรุดโทรมเท่าไร
ทั้งนี้เป็นเพราะภายในร่างกาย
ยังมีฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายเยอะอยู่
แต่หากเราอายุเกิน 30 ปีไปแล้ว
โกรทฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาน้อยลง
ดังนั้นหากเราอดนอนในช่วงวัยนี้ เราจะรู้สึกเพลีย
ร่างกายทรุดโทรม ร่างกายพังได้ง่าย
ซึ่งถ้าดูตามหลักการเหตุผลแล้ว
วัยอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรที่จะอดนอนเลย
แต่ชีวิตจริงเรากลับมองข้ามเรื่องการนอน
ทำให้หลายคนเกิดความเครียดสะสม
นานวันเข้าจึงทำให้ร่างกายทรุดโทรม
จนเป็นเหตุไปสู่โรคร้ายต่างๆ ได้ง่าย
โดยโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในช่วงที่เรา
นอนหลับลึกช่วงเวลาห้าทุ่มถึงตีหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งตามปกติการนอนหลับของเรา
จะมีวงจรการนอนหลับ
แบ่งออกเป็น 1.เริ่มหลับ 2.หลับตื้น
3.หลับปานกลาง 4.หลับลึก
ไปจนถึง 5.หลับฝัน
แต่เราในแต่ละคนจะมีระยะการนอนหลับตื้น
หลับลึกแตกต่างกันไป บางคนหลับน้อย แน่นอนเลยว่าต้องอ่อนเพลียเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ
บางคนหลับนานหลายชั่วโมง แต่หลับลึกเพียงนิดเดียว เวลาตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ทั้งๆ ที่ผ่านการนอนมาหลายชั่วโมงก็ตาม
เพราะฉะนั้นการนอนหลับให้เพียงพอจึงไม่ใช่แต่การนอนจำนวนชั่วโมงที่นานเพียงอย่างเดียว แต่มันอยู่ที่คุณภาพการนอนของเราด้วยว่า หลับลึก หลับสนิทได้จริงแค่ไหน เพราะโกรทฮอร์โมนจะออกมาในช่วงที่เราหลับลึกอยู่เท่านั้น
เมื่อเรานอนหลับลึกได้เพียงพอ ร่างกายเราจะได้รับการซ่อมแซม สมองได้รับการพักฟื้นฟู เมื่อเราตื่นขึ้นมาเราจะรู้สึกแจ่มใสทันที
ซึ่งผมเองก็รู้สึกได้ว่าถ้าวันไหนนอนไม่พอ หลับลึกนิดเดียว วันนั้นจะตื่นขึ้นมาอ่อนเพลียไม่มีแรงจะทำอะไรเท่าไร แต่ถ้าวันไหนมีเวลานอนยาวหลับลึกได้เพียงพอ วันรุ่งขึ้นจะตื่นขึ้นมาแจ่มใสมาก มีแรงจะทำนู้นทำนี้ตลอด พร้อมคิดแก้ปัญหาที่เมื่อก่อนคิดไม่ออกได้ง่ายกว่า
ผมจึงคิดว่าการนอนหลับให้เพียงพอ
จึงเป็นหนทางเริ่มต้นของการทำสิ่งต่างๆ ในทุกๆ เรื่อง
และในวันนี้ที่เป็นวันนอนหลับโลก
ก็ขอให้ทุกคนมีเวลานอนหลับพักผ่อนกันอย่างเพียงพอ
เพื่อจะได้มีแรง มีพลัง เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ
ได้ต่อไปกันครับ...
โฆษณา