Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AIA Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 มี.ค. เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นไทย ในปี 2568?
นับตั้งแต่ต้นปี 2568 จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตลาดหุ้นไทย (SET Index) ปรับตัวลดลงแล้วประมาณ 14% อะไรเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา?
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากนับตั้งแต่ต้นปี อ้างอิงจากดัชนี SET Index ที่ระดับ 1,400.21 (ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2567) มาอยู่ที่ระดับ 1,203.72 (ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568) ปรับตัวลดลงแล้ว 14% อันเกิดจากปัจจัยกดดัน ดังนี้
1. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก: โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความเสี่ยงด้านนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นในแง่ของสงครามการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในแง่ของการส่งออกที่สหรัฐฯ มีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากประเทศต่างๆ
2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน: ส่งผลต่อการส่งออกไทย รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวได้ช้า และยังต่ำกว่าตัวเลขในช่วงก่อนเกิดโควิด
3. การชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ: โดยยังขาดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น ภาคการผลิตที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ดังนั้นเครื่องยนต์หลักที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน จึงเหลือเพียงภาคการท่องเที่ยว
4. ผลประกอบการ: บริษัทจดทะเบียนไทย ทยอยประกาศผลประกอบการปี 2567 ซึ่งในภาพรวมแล้ว บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่หลายบริษัท ประกาศตัวเลขผลการดำเนินงานออกมาไม่ค่อยดี โดยผลกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2567 เติบโตใกล้เคียงกับปี 2566 โดยกลุ่มที่เติบโตได้ดี คือกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มขนส่ง ในขณะที่กลุ่มที่หดตัว ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มพลังงาน
5. หนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับสูงมากกว่า 80%: ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากความสามารถในการกู้ยืมเพิ่มเติม ปรับตัวลดต่ำลง อีกทั้ง ธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ดี รมว.คลัง มีแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยการออกโครงการ “คุณสู้เราช่วย” และล่าสุดมีแนวคิดปรับเกณฑ์ของโครงการ “คุณสู้เราช่วย” ในส่วนมาตรการกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นหนี้ต่ำกว่า 5,000 บาท (ซึ่งหากนำเงินมาจ่ายหนี้ จะปิดจบอัตโนมัติ) และจะขยายครอบคลุมในส่วนลูกหนี้กู้ร่วมเพื่อลดระดับหนี้ครัวเรือน
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลไทยเตรียมแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างไรบ้าง?
📌มาตรการด้านตลาดหุ้น
1) รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง มีแนวทางชะลอการขายกองทุน LTF ที่คงเหลือในระบบ ด้วยการให้สิทธิลดหย่อนภาษี ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท หากแจ้งถือครองต่อเนื่อง เป็นเวลา 5 ปี
2) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งทีมช่วยบริษัทจดทะเบียนขนาดกลางและขนาดเล็ก วิเคราะห์ธุรกิจเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและความสามารถในการทำกำไร (โครงการ Jump+) หลังจากพบว่าบริษัทจดทะเบียนมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รวมถึงส่งเสริมการควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งขึ้น และมีความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น
3) ส่งเสริมบริษัท จดทะเบียนให้มีการทำซื้อหุ้นคืน (share buyback)
📌มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
1) มาตรการแจกเงิน 10,000 บาท เฟสที่3 เพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
2) มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านโครงการคนละครึ่ง รวมถึงการพัฒนาเมืองรองให้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น
3) การลงทุนภาครัฐ การดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี รวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
4) การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการเก็บภาษีของรัฐบาล (tax reform)
📌มุมมองของ บลจ. เอไอเอ ประเทศไทย ต่อหุ้นไทย
สภาวะ ตลาดโดยรวมในระยะสั้นยังมีความผันผวน แต่คาดว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัว หลังจากปรับตัวลงแรงท่ามกลางแรงกดดันเชิงลบหลายด้านนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เราเริ่มเห็นปัจจัยบวกที่อาจช่วยหนุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทย ได้แก่
ปัจจัยต่างประเทศ:
• แม้ว่าทางปธน.ทรัมป์ยังคงขู่ปรับขึ้นภาษีนําเข้าจากหลายประเทศ แต่ท่าทีดังกล่าวดูเหมือนเป็นกลยุทธ์เพื่อให้มีการเปิดเจรจา ซึ่งหากไม่มีการปรับขึ้นภาษีจริงและมีการเปิดการเจรจาอาจช่วยลดความตึงเครียดทางการค้าและสร้างเสถียรภาพให้กับตลาด
ปัจจัยภายในประเทศ:
• กระทรวงการคลัง และตลาดหลักทรัพย์กําลังพิจารณามาตรการกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาทิเช่น การชะลอแรงขายไถ่ถอนเงินจากกองทุน LTF ผ่านโครงการ Thai-ESG2 และ โครงการJump+ ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มผลกําไรรวมของตลาดในปี 2569
• ท่าทีของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ ‘เซอไพรส์’ ตลาด ด้วยการปรับลดดอกเบี้ย ในการประชุมกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 มีมติ 6 ต่อ 1 ลดดอกเบี้ยในอัตรา 0.25% เป็น 2.00% สวนทางกับคาดการณ์ ของตลาดว่า ธปท. จะคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25%
การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นนี้ เป็นผลจากความกังวลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจปี 2568 ที่อาจเติบโตต่ำกว่าที่ ธปท. คาดไว้ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทต่างๆ มีแนวโน้มลดลง
📌แนวทางการลงทุนของ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย)
บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ยังคงยึดมั่นในแนวทางการลงทุนตาม “กรอบแนวคิดการลงทุนของตราสารทุน”
ปรัชญาการลงทุน : บริหารพอร์ตการลงทุนเพื่อให้มีการเติบโต โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี มีงบดุลที่แข็งแกร่ง มีคุณภาพดีในระยะยาว ภายใต้กรอบแนวคิดการลงทุนตราสารทุนของ AIA
วัตุประสงค์การลงทุน : บริหารพอร์ตการลงทุนแบบ Active และมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง
การบริหารการลงทุนมีความท้าทายจากหลากหลายปัจจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตโควิด19 ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก รวมถึงปัจจัยกดดันภายในประเทศ อย่างไรก็ดี เรายังคงมุ่งมั่นในการบริหารการลงทุนด้วยความรอบคอบระมัดระวัง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเป็นหัวใจ นั่นคือ “การบริหารเงินให้กับบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย” และ “การบริหารกองทุนรวมให้กับผลิตภัณฑ์ เอไอเอ ยูนิต ลิงค์” เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในระยะยาว ให้กับผู้ถือกรมธรรม์ เอไอเอ ยูนิต ลิงค์
ด้วยการนำศักยภาพในการบริหารเงินลงทุนในฐานะนักลงทุนสถาบันของกลุ่มการลงทุนของเอไอเอที่มีมาอย่างยาวนาน ส่งมอบให้กับลูกค้า เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ ให้ได้รับการดูแลในแบบเดียวกัน
ทีมงานการลงทุนของ บลจ.เอไอเอ (ประเทศไทย) และกลุ่มการลงทุนของเอไอเอ (AIA Investments) ยังคงมุ่งมั่นที่จะบริหารกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ ให้ได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างยั่งยืนในระยะยาว บนระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือกรมธรรม์ เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ ต่อไป
หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจากรายงาน Special Insights เกิดอะไรขึ้นกับหุ้นไทย ในปี 2025 โดย AIA Investments และบลจ.เอไอเอ (ประเทศไทย) ณ วันที่ 5 มีนาคม 2568
เริ่มวางแผนการเงินระยะยาว กับ AIA InvestPro บริการผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยดูแลการลงทุนจาก AIA และ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ ที่เหมาะกับคุณได้แล้ววันนี้
ติดต่อตัวแทน เอไอเอ หรือดูรายละเอียดได้ที่ :
https://www.aia.co.th/th/our-products/save-invest/unit-linked
คำเตือน
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจรายละเอียด เงื่อนไข ความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง รวมถึงทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่
https://www.blockdit.com/aiathailand
aiathailand
การลงทุน
การเงิน
2 บันทึก
1
1
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย