14 มี.ค. เวลา 05:09 • ปรัชญา
ห้องสมุดเด็กหญิงหิ่งห้อย
ผมเคยได้ยินคำพูดหนึ่งที่สะกิดใจมาก "มนุษย์เรียนรู้จากความผิดพลาดมากกว่าคำเตือน"
เราทุกคนรู้ว่าไฟร้อน แต่เด็กแทบทุกคนต้องลองแตะดูเองถึงจะเข้าใจ เรารู้ว่าต้องดูแลสุขภาพ แต่ส่วนใหญ่ก็เริ่มออกกำลังกายก็ตอนหมอบอกว่า “คอเลสเตอรอลสูงแล้วนะ” เรารู้ว่าควรเก็บเงิน แต่ก็มักจะเริ่มจริงจังตอนเงินเก็บเริ่มหมด
มันไม่ใช่ว่าเราไม่รู้ แต่บางครั้งมันเป็นเรื่องของ "ความรู้สึก" มากกว่าความรู้ เรามักจะไม่รู้สึกถึงปัญหาจริงๆ จนกว่ามันจะมาถึงเรา
ลองนึกภาพง่ายๆ ว่าคุณเดินเข้ามาในห้อง แล้วเห็นเพดานมีรอยน้ำซึม ถ้าคุณเป็นคนที่รอบคอบสุดๆ อาจจะรีบหาช่างมาซ่อม แต่ถ้าคุณเป็นคนทั่วไป คุณอาจจะแค่เหลือบมองแล้วคิดว่า “ยังไม่รั่วหรอก ไว้ก่อนก็ได้” แล้ววันหนึ่งฝนตกหนัก หลังคารั่ว น้ำหยดลงกลางห้อง ตอนนั้นแหละ... เราถึงจะลุกขึ้นมาแก้ปัญหา
มนุษย์เราไม่ชอบเสียพลังงานไปกับสิ่งที่ "ยังไม่เกิดขึ้น" เราไม่ได้เกียจคร้านหรอก แต่สมองของเราถูกออกแบบมาให้จัดการกับสิ่งที่เห็นชัดก่อนเสมอ และสิ่งที่ "คาดว่าอาจจะเกิด" มักไม่เร่งด่วนพอที่จะทำให้เรารู้สึกต้องลงมือ
แต่พอปัญหามาจริงๆ ปุ๊บ... เราถึงจะเริ่มแก้
น่าแปลกดีไหม?
หรือบางทีนี่อาจเป็นธรรมชาติของเรากันแน่—ที่เรียนรู้จากสิ่งที่กระทบเราโดยตรง มากกว่าจากคำเตือนลอยๆ
Experience is the teacher of all things.
ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด
Julius Caesar
โฆษณา