14 มี.ค. เวลา 23:42 • ความคิดเห็น
คนที่ขับรถมานานๆหลายๆปี การขับรถในภาวะปกติที่ทำทุกอย่างๆเป็นอัตโนมัติ เช่น มองกระจก เปิดไฟเลี้ยว ฯลฯ พวกนี้เรียกว่า muscle memory ค่ะ
แต่พอเจอสถานการณ์ฉุกเฉิน (อย่างเช่นในกระทู้นี้) การ react ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ muscle memory ล้วนๆแต่เป็นผลรวมของ "ประสบการณ์ที่สะสม + sense of safety เฉพาะคน"
ในเสี้ยวเวลาแค่แว๊ปเดียว สมองคนเราประมวลผลอย่างรวดเร็วว่าจะ react อย่างไร เช่น เท้าถอนคันเร่งโดยอัตโนมัติ ตาก็มองกระจกโดยอัตโนมัติ ทั้งกระจกข้างและกระจกหลัง มือกระชับพวงมาลัย ฯลฯ เหล่านี้เป็น muscle memory
ส่วนปสก.และ sense of safety ถ้าคนขับไม่มีต้นทุนพวกนี้ตุนอยู่ในสมอง ก็ย่อมไม่สามารถดึงมาใช้ได้ ก็จะ react ไปตาม muscle memory ของร่างกาย
อีกอย่างที่ train กันได้คือ "การตื่นตัวอยู่เสมอขณะนั่งอยู่หลังพวงมาลัย" ไม่ว่าจะเพลีย-เหนื่อย-เครียดจากที่ไหน คนเราสามารถ train สมองให้ทิ้งทุกอย่างไปก่อน แล้วโฟกัสที่การขับขี่
1
สิ่งนี้มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนน สมองจะดึงปสก.และ sense of safety ออกมาอย่างรวดเร็ว ประมวลผลและตัดสินใจได้ดีกว่า คุมสติได้ดีกว่าคนที่ไม่ค่อยตื่นตัว
ทุกครั้งที่เจอสถานการณ์จวนตัวคล้ายๆแบบนี้ ของเรา..อนุสติมักโผล่มาเองโดยอัตโนมัติว่า "เลวร้ายที่สุดคืออะไร" แล้วร่างกายก็ react ไปเอง บางทีก็อย่างกะราชินีหนังบู๊ 555
ในบางสถานการณ์ที่ไม่ได้จวนตัวเท่าไหร่ เช่น รถข้างหน้าเลี้ยวกลับรถกันหลายคัน เราจะเอาไงดี!! หรือขับรถบนทางหลวงระหว่างจังหวัด แล้วเห็นพระธุดงค์เดินเท้าเปล่ากลางแดดเปรี้ยง หรือเจอรถชาวบ้านเหมือนจะจอดเสียอยู่แล้วมีวัยรุ่นนั่งเฝ้ารถอยู่ ฯลฯ พวกนี้ต้องใช้ sense of safety ประเมินสถานการณ์ค่ะ
โฆษณา