16 มี.ค. เวลา 11:17 • การตลาด
ต้องดูด้วยว่างานศิลปะนั้นแพงด้วยเหตุผลอะไร เช่น ตัวศิลปิน มีชื่อเสียง แพงที่เทคนิคชั้นสูง หรือว่าผลงานนั้นใช้เวลานาน ก็คือแพงที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้ หรือว่า แพงที่กาลเวลาไม่อาจทำลายคุณค่าทางผลงาน มีความเป็นอมตะ
ความแพงที่ตัวศิลปิน แสดงว่าทำผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับการยกย่อง หรือได้รับรางวัลจากการประกวด รางวัลจากประเทศชาติ เช่นศิลปินแห่งชาติ ไม่ว่าศิลปินจะวาดหรือว่าแสดงผลงานอะไร จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น มีลายเส้นที่ได้รับการยอมรับ ไม่ว่าเขาจะทำอะไร ผลงานก็แพงทุกชิ้น
คนที่ซื้อผลงานอาจจะไม่ได้เข้าใจศิลปะหรอก แต่เขาชื่นชอบศิลปิน รักศิลปิน ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะห่วยหรือดีเลิศ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นผลศิลปินท่านนั้นก็ขายได้ เรียกว่าซื้อชื่อเสียงของเขา
แพงที่เทคนิคตัวชิ้นงาน เช่น งานปั้น งานแกะสลัก ตัวศิลปินอาจไม่เป็นที่รู้จัก แต่ผลงานออกมาสวยมาก จนสามารถเรียกว่าราคาที่สูงได้ เพราะหาคนที่จะปั้น หรือว่า แกะชิ้นงานออกมาแบบนี้ไม่ได้แล้ว คนที่เขาซื้อ อาจไม่สนใจว่าใครทำ แต่สนใจงานชิ้นนั้น ว่างดงามมากแค่ไหน เรียกว่าหลงใหลในชิ้นงานมากกว่าตัวคนทำ
แพงด้วยการเวลา งานศิลปะที่อยู่มาเป็นร้อย ใครมองก็ยังทึ่งในความงาม อาจไม่รู้ว่าใครสร้าง ไม่รู้ว่าใช้เทคนิคอะไร รู้แต่ว่ากาลเวลาไม่อาจทำลายความงามที่ยังคงอยู่ได้ ก็จะแพงที่ความเป็นอมตะ แพงในการดูแลรักษา แพงในการซ่อมบำรุง คุณค่ามันเหนือกาลเวลา
แต่ถ้าเป็นพวกพระเครื่อง มักจะแพงที่เรื่องเล่า ปาฎิหาริย์ ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ที่ไม่มีอะไรจับต้องได้เลย จะแพงที่หายากอันนี้ก็การตลาด ไร้เหตุผลยิ่งกว่างานศิลปะ
ส่วนคนรวยบางคนงานศิลปะก็แค่ที่ฟอกเงิน ไม่ได้ชื่นชมอะไรหรอก แต่ไม่รู้จะเอาเงินไปไว้ไหน ก็ทำเป็นว่าซื้องานศิลปะมา แล้วก็ขายต่อ
ส่วนนักสะสม อันนี้ถือเป็นรสนิยมส่วนตัว ชอบอะไรก็ซื้อมา มูลค่าตามความชอบและกำลังทรัพย์
โฆษณา