16 มี.ค. เวลา 22:26 • สุขภาพ

วัคซีนหวัดใหญ่ซีกโลกใต้ ถึงไทยแล้ว

ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อ ไวรัส Influenza ซึ่งมี 2 ชนิดหลักที่ก่อโรคในคน ได้แก่
ไข้หวัดใหญ่ชนิด A (สายพันธุ์ H1N1 และ H3N2) และไข้หวัดใหญ่ชนิด B (สายพันธุ์ Victoria และ Yamagata) การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีลักษณะเป็น การระบาดตามฤดูกาล (seasonal epidemic) โดยมักเกิดขึ้นปีละ 2 ช่วง คือช่วงฤดูฝน (มิถุนายน - ตุลาคม) และ ช่วงฤดูหนาว (มกราคม - มีนาคม)
กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ มักได้รับผลกระทบรุนแรง โดยการแพร่เชื้อมักเกิดขึ้นในสถานที่ปิด เช่น โรงเรียน หอพัก และสำนักงาน
โดยปกติวัคซีนในไทยมีชนิดเชื้อตายมี 2 แบบคือ 3 และ 4 สายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์เพิ่มเติมที่มีการระบาดในไทยคือ B/Phuket/3073/2013 (B/Yamagata lineage)-like virus ซึ่งมีการระบาดไม่มักนักในไทย
ล่าสุดประเทศไทยมีการนำวัคซีน ชนิด 4 สายพันธุ์มาใช้ โดยประกอบด้วย
เชื้อไวรัสชนิด A สายพันธุ์ H1N1: A/Victoria/4897/2022 (H1N1)pdm09-like virus
เชื้อไวรัสชนิด A สายพันธุ์ H3N2: A/Thailand/8/2022 (H3N2)-like virus
เชื้อไวรัสชนิด B สายพันธุ์ Victoria lineage: B/Austria/1359417/2021 (B/Victoria lineage)-like virus
เชื้อไวรัสชนิด B สายพันธุ์ Yamagata lineage: B/Phuket/3073/2013 (B/Yamagata lineage)-like virus
การได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ โดยทั่วไป ร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกัน แม้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ที่ประมาณ 40-60% แต่การได้รับวัคซีนยังช่วยลดความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
โดยกลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีเป็นต้นไป ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย และโรคเบาหวาน มีภาวะโรคอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 35) และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน
ในปี พ.ศ. 2568 คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ดังนั้น การได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จึงเป็นมาตรการสำคัญในการลดการแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรค การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและสังคม
อ้างอิง
โฆษณา