ความแข็งแกร่งของ "Malik" จึงคือการไม่พยายามเป็นเพียงอัลบั้มฟังก์ที่เดินตามขนบธรรมเนียม แต่เลือกที่จะหลอมรวมความดิบของร็อกเข้าไปในทำนองและจังหวะแบบแอฟริกัน ในขณะที่เพลงอย่าง "Conga" สะท้อนถึงการผสมผสานของลาตินเพอร์คัสชั่นที่ช่วยเพิ่มความซับซ้อนของชั้นจังหวะให้กับอัลบั้มนี้ ซาวด์กีตาร์ที่มีความแห้งและหนักแน่นในหลาย ๆ แทร็กก่อให้เกิดโครงสร้างที่แตกต่างจากวงฟังก์ในอเมริกาอย่าง Parliament หรือ Kool & The Gang ซึ่งเน้นไปที่ความลื่นไหลและโครงสร้างเพลงแบบป๊อปมากกว่า
อีกแทร็กที่โดดเด่นในอัลบั้มคือ "I Love Music" ซึ่งเป็นเพลงที่มีความเป็นฟังก์ในแบบดั้งเดิมมากกว่าแทร็กอื่น ๆ ของอัลบั้ม มันเป็นเพลงที่มาพร้อมกับจังหวะที่สามารถทำให้คนลุกขึ้นมาเต้นได้ทันที เสียงเบสมีความกลมกลืนกับกลองที่หนักแน่น และเมโลดี้ของเพลงก็มีความสดใสในแบบที่แตกต่างจากเพลงอื่น ๆ อย่างชัดเจน เพลงนี้จึงถือเป็นเครื่องยืนยันว่าวงสามารถรักษามาตราฐานและเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ได้ ขณะที่คล้อยและเล่นไปตามกระแสหลักของฟังก์ในยุคนั้น
ไลน์สมาชิกวงตั้งแต่ช่วงปี 1970-1978
อิทธิพลที่ยาวนานของ "Malik"
แม้ว่าในช่วงที่ออกมา "Malik" และ Lafayette Afro Rock Band อาจไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างเหมือนกับวงฟังก์ชื่อดังในยุคนั้น เช่น Funkadelic หรือ Kool & The Gang แต่ผลงานของพวกเขากลับกลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่ถูกค้นพบใหม่ในภายหลัง นักดนตรีฮิปฮอปจำนวนมากนำแซมเปิลจากเพลงของพวกเขาไปใช้ และทำให้ซาวด์ของวงกลับมามีชีวิตอีกครั้งในยุคหลัง
ในขณะที่หลายคนอาจจะรู้จัก Lafayette Afro Rock Band ผ่านแซมเปิลในเพลงฮิปฮอปยุค 90s หรือจากอัลบั้มรวมฮิตอย่าง Darkest Light: The Best of Lafayette Afro Rock Band (1999) หรือ The Ultimate Collection (2001)