17 มี.ค. เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์

ข้อคิดการเงินผิดๆ ที่โซเชียลชอบบอก แต่คุณไม่ควรทำตาม

รวม 8 คำแนะนำทางการเงินยอดฮิตที่อาจทำให้คุณพังมากกว่าปัง ถ้าจะเชื่อต้องคิดให้ดี
โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยคำแนะนำด้านการเงิน… แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่ดี
2
หากคุณเคยเลื่อนฟีดแล้วเจอโพสต์ที่บอกว่า “นี่คือทางลัดสู่ความมั่งคั่ง” “สบายกระเป๋า” หรือ “ทำแบบนี้แล้วคุณจะปลดหนี้ได้เร็วขึ้น” คุณไม่ใช่คนเดียวที่เห็นสิ่งเหล่านี้ โลกออนไลน์เต็มไปด้วย “นักการเงินอินฟลูเอนเซอร์” หรือที่เรียกว่า Finfluencers ที่ให้คำแนะนำเรื่องเงิน แต่รู้หรือไม่? ไม่ใช่ทุกคำแนะนำจะถูกต้อง
1
บางคำแนะนำอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้คุณติดกับดักทางการเงินโดยไม่รู้ตัว! ลองมาดูกันว่ารู้จัก 8 คำแนะนำที่ “แย่ที่สุด” ที่พบได้บ่อยบนโซเชียล และแนวทางที่ดีกว่าเพื่อให้คุณตัดสินใจทางการเงินได้ปลอดภัยขึ้น มีอะไรบ้าง?
1. “ถ้าขาดเงินสด ให้กู้เงินด่วน (Payday Loan)”
📌 ความจริง: นี่คือกับดักหนี้ที่อันตรายมาก!
โฆษณาสินเชื่อเงินด่วนมักจะบอกว่า “ได้เงินเร็ว ไม่เช็กเครดิต” ซึ่งฟังดูเป็นทางออกที่ดีในยามฉุกเฉิน แต่เบื้องหลังคือดอกเบี้ยมหาศาลที่อาจพุ่งสูงถึง ตั้งแต่ร้อยละ 20 ไปจนถึง ร้อยละ 2,300* (ข้อมูลจากตัวจริงสนามข่าว)
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- ลองขอขยายเวลาชำระจากเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ
- ใช้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ย 0% ชั่วคราว ดีกว่ากู้เงินด่วน
- ค่อยๆ สร้างกองทุนฉุกเฉิน เพื่อไม่ต้องพึ่งพาสินเชื่อดอกเบี้ยสูง
2. “เช่าอยู่เสียเงินเปล่า ซื้อบ้านดีกว่า”
📌 ความจริง: การเช่าไม่ได้แย่เสมอไป และการซื้อบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย
บนโซเชียลมีเดียมักมีการบอกว่า “ถ้าคุณเช่าอยู่ แปลว่าคุณกำลังโยนเงินทิ้ง” แต่ในความเป็นจริง การซื้อบ้านมีค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่มากมาย เช่น ค่าซ่อมแซม ค่าภาษี ค่าดูแลบ้าน และดอกเบี้ยเงินกู้
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- หากยังไม่พร้อมจะซื้อบ้าน การเช่าก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นทางการเงิน
- ใช้ช่วงเวลาที่เช่าอยู่เพื่อออมเงินดาวน์ และปรับปรุงเครดิตให้ดีขึ้นเพื่อได้ดอกเบี้ยกู้ที่ต่ำลงในอนาคต
- หากต้องการลดค่าเช่า ให้ลองทำสัญญาเช่าระยะยาว หรือแชร์ห้องกับเพื่อน
3. “อย่าใช้บัตรเครดิต ถ้าไม่อยากเป็นหนี้”
📌 ความจริง: บัตรเครดิตไม่ได้แย่ แต่การใช้ผิดวิธีต่างหากที่ทำให้เป็นหนี้
บัตรเครดิตเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ หากใช้ให้ถูกต้อง มันช่วยสร้างเครดิตสกอร์ เพิ่มสภาพคล่อง และให้รางวัลพิเศษจากการใช้จ่าย
1
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- ใช้บัตรเครดิตเฉพาะเมื่อจำเป็น และจ่ายคืนเต็มจำนวนทุกเดือน
- ตั้งค่าการแจ้งเตือนยอดใช้จ่าย เพื่อป้องกันการรูดเกินตัว
- ใช้บัตรเครดิตที่ให้ Cash Back หรือแต้มสะสม เพื่อเพิ่มประโยชน์จากการใช้จ่าย
4. “ล้มละลายสิ แล้วเริ่มต้นใหม่ได้”
📌 ความจริง: การล้มละลายเป็นทางเลือกสุดท้าย ไม่ใช่ปุ่ม Reset ทางการเงิน
บางอินฟลูเอนเซอร์ทำให้การล้มละลายดูเหมือนเป็นทางลัดในการล้างหนี้ แต่ความเป็นจริงคือ มันส่งผลเสียระยะยาว เช่น เครดิตสกอร์ตกต่ำ อาจสูญเสียทรัพย์สิน และต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางการเงินในอนาคต
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือขอลดดอกเบี้ย
- ใช้วิธีรีไฟแนนซ์หรือรวมหนี้เพื่อให้จ่ายคืนได้ง่ายขึ้น
- หาทางเพิ่มรายได้เพื่อนำเงินมาโปะหนี้ให้เร็วขึ้น
5. “สบายกระเป๋า ถ้าเลือกดาวน์ 0 บาท ผ่อนยาวๆ”
📌ความจริง: การดาวน์ 0 บาทช่วยให้ซื้อของได้ง่ายขึ้น แต่ก็มาพร้อมดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ เพราะไม่มีเงินดาวน์มาหักเงินต้น ทำให้ยอดกู้สูงและต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น สุดท้ายคุณอาจจ่ายแพงกว่าราคาปกติของสินค้า
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- ลองเก็บเงินก่อนซื้อเพราะการซื้อสินค้าเงินสดจะช่วยให้คุณซื้อได้แบบไม่มีภาระดอกเบี้ย
- ถ้าจำเป็นต้องผ่อน ให้เลือกผ่อนผ่านบัตรเครดิตเพื่อสะสมแต้ม หรือผู้ให้บริการที่มีโปรผ่อน 0%
- หาทางเพิ่มรายได้เพื่อนำเงินมาโปะหนี้ให้เร็วขึ้น
6. “เก็บเงินฉุกเฉินเยอะๆ สิดี”
📌ความจริง: แม้ว่าการมีเงินฉุกเฉินสำคัญจะเป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการวางแผนการเงิน แต่หากเก็บไว้มากเกินไปโดยไม่ลงทุนเลย อาจเสียโอกาสให้เงินงอกเงย อีกทั้งเงินสดที่เก็บไว้นับวันมูลค่าก็จะลดลงตามอัตราเงินเฟ้อ
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- เก็บเงินฉุกเฉินแค่ 6 - 12 เดือนของค่าใช้จ่ายจำเป็น ไว้ในบัญชีที่เข้าถึงง่าย
- นำเงินส่วนที่เกินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น หุ้น กองทุนรวม หรือพันธบัตรรัฐบาล
7.ซื้อของเวลาลดราคา หรือซื้อมาตุนไว้เยอะๆ ประหยัด
📌ความจริง: การซื้อของลดราคาอาจคุ้มค่า ถ้าเป็นของที่จำเป็น แต่หากซื้อมากเกินไปอาจใช้ไม่ทัน หมดอายุ และกลายเป็นของที่ไม่จำเป็นในที่สุด
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- วางแผนล่วงหน้า ซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นและใช้ได้จริง เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเกินตัว
- ใช้หลัก “คิดก่อนซื้อ” เช่น ถามตัวเองว่า “ถ้าไม่ลดราคา สินค้าชิ้นนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม?”
8.ไม่ขายไม่ขาดทุน
📌ความจริง: การไม่ขายไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ขาดทุน เพราะหากสินทรัพย์มีมูลค่าลดลง (เช่น หุ้นร่วงหนักหรือบ้านราคาตก) มูลค่าทรัพย์สินของคุณก็ลดลงเช่นกัน อีกทั้งการถือสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มแย่ต่อไป อาจทำให้เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
💡 ทางเลือกที่ดีกว่า:
- ติดตามและประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของตนอยู่เสมอ อย่ายึดติดกับราคาที่ซื้อมา แต่ให้ดูศักยภาพในอนาคต
- หากสินทรัพย์ไม่มีแนวโน้มฟื้นตัว หรือมีทางเลือกลงทุนที่ดีกว่า ควรพิจารณาที่จะขายและนำเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
[ 🔍 วิธีหลีกเลี่ยงคำแนะนำทางการเงินที่ไม่ดีบนโซเชียล ]
1. ตรวจสอบว่าใครเป็นคนให้คำแนะนำ
- คนๆ นั้นมีความรู้ด้านการเงินจริงหรือไม่?
- มีใบรับรองหรือประสบการณ์ด้านการเงินหรือเปล่า?
2.ระวังโฆษณาแฝง
- บางโพสต์อาจไม่ได้ให้คำแนะนำที่เป็นกลาง แต่เป็นโฆษณาแฝงเพื่อขายสินค้าทางการเงิน
3. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
- ถ้าคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับคำแนะนำด้านการเงิน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักวางแผนการเงินหรือที่ปรึกษาทางการเงิน
🔚สรุป: โซเชียลมีเดียอาจเต็มไปด้วยคำแนะนำทางการเงินมากมาย แต่คุณต้องรู้เท่าทันว่าไม่ใช่ทุกคำแนะนำที่ควรเชื่อ การกู้เงินด่วนเพื่อแก้ปัญหาชั่วคราว การเชื่อว่าการเช่าเป็นเรื่องเสียเงิน การกลัวบัตรเครดิตจนเกินไป หรือการคิดว่าการล้มละลายคือทางออก ล้วนเป็นแนวคิดที่อาจทำให้คุณพลาดเป้าหมายทางการเงิน
แทนที่จะเชื่อคำแนะนำออนไลน์อย่างไม่มีการกลั่นกรอง ลองใช้หลักการวิเคราะห์ให้รอบคอบ ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คุณสามารถเดินหน้าสู่ความมั่นคงทางการเงินได้อย่างแท้จริง
#aomMONEY #การเงินส่วนบุคคล #การเงิน #รู้เท่าทัน
โฆษณา