30 มี.ค. เวลา 07:00 • สิ่งแวดล้อม

นักวิจัยเพิ่งรู้! ‘ท่อส่งก๊าซ’ รั่ว ใต้ทะเลบอลติก เมื่อ ปี 2022 ปล่อย ‘ก๊าซมีเทน’ มากสุดในปวศ

เดือนกันยายน 2022 เกิดหายนะครั้งใหญ่ใต้ “ทะเลบอลติก” เมื่อ “ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม” ขนส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปยังยุโรป แตกร้าวอย่างรุนแรง ส่งผลให้ “ก๊าซมีเทน” ก๊าซเรือนกระจกที่มีฤทธิ์รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง รั่วไหลออกมา ก๊าซก็เริ่มฟองขึ้นที่จุดแตก 4 จุด ทำให้เกิดฟองขนาดใหญ่บนผิวน้ำ ในขณะนั้นผู้เชี่ยวชาญระบุว่าน่าจะควบคุมได้ แต่การวิจัยใหม่เปิดเผยความจริงที่ร้ายแรงกว่ามาก
2
การระเบิดจนทำให้ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีมรั่วไหล เกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครน โดยยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ทั้งรัสเซียและยูเครนต่างโทษกันไปมาว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดระเบิดในครั้งนี้ รวมถึงความเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน
ข้อมูลจากงานการศึกษาที่ประสานงานโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) พบว่า มีก๊าซมีเทนรั่วไหลออกมาระหว่าง 445,000-485,000 ตัน ซึ่งสูงกว่าที่การประมาณการก่อนหน้านี้ ที่ราว 75,000-230,000 ตัน ทำให้กลายเป็นการรั่วไหลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง การค้นพบนี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเร่งด่วนในการลดปริมาณมีเทนทั่วโลก
ก๊าซมีเทนกักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศได้เร็วกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มาก ทำให้มีเทนเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การปล่อยมีเทนออกมาในคราวเดียวมากเกินไปจะเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะที่ไม่คาดคิด
แม้จะมีขนาดใหญ่ เหตุการณ์นอร์ดสตรีมกลับคิดเป็นเพียง 0.1% ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดที่เกิดจากมนุษย์ในปี 2022 และเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซมีเทนของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเพียง 2 วันเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงแหล่งก๊าซมีเทนอื่น ๆ จำนวนมากที่เกิดจากมนุษย์
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ ประมาณการว่า การผลิตและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซมีเทนเกือบ 120 ล้านตันในปี 2023 ส่วนอีก 10 ล้านตันมาจากพลังงานชีวภาพ เช่น มีเทนที่ถูกปล่อยออกมาตามธรรมชาติจากพื้นที่ชุ่มน้ำและแม่น้ำ รวมถึงวัว ทุ่งนา และหลุมฝังกลบขยะ
อ่านต่อ:
โฆษณา