17 มี.ค. เวลา 15:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Vibe Coding เทรนด์ใหม่มาแรง! เมื่อการเขียนโค้ดกลายเป็นเรื่องของ ‘ไอเดีย’ มากกว่า ‘โค้ด’

ถ้าพูดถึง “การเขียนโปรแกรม” คุณนึกถึงอะไร?
  • นั่งพิมพ์โค้ดยาว ๆ ในจอสีดำ?
  • Debugging (แก้บั๊ก) จนหัวหมุน?
  • ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ระดับเทพถึงจะสร้างซอฟต์แวร์ได้?
แล้วถ้าบอกว่า ต่อไปนี้...คุณไม่ต้องรู้โค้ดก็สร้างโปรแกรมเองได้ แค่ “บอก” หรือ “พิมพ์” สิ่งที่ต้องการ แล้วปล่อยให้ AI จัดการส่วนที่เหลือล่ะ?
นี่แหละ! คือแนวคิดของ Vibe Coding เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรงในวงการ AI และอาจเปลี่ยนวิธีการเขียนโปรแกรมไปตลอดกาล!
Vibe Coding คืออะไร?
Vibe Coding คือแนวทางใหม่ในการพัฒนาโปรแกรม โดยใช้ AI เป็นผู้ช่วยหลัก แทนที่คุณจะต้องพิมพ์โค้ดเองทีละบรรทัด คุณแค่ บอก หรือ อธิบาย สิ่งที่ต้องการ จากนั้น AI จะ สร้างโค้ดให้เอง
เจ้าของแนวคิด "Vibe Coding"
แนวคิดนี้ถูกเผยแพร่โดย Andrej Karpathy (อดีตผู้อำนวยการด้าน AI ของ Tesla และหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI) เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2025 บน X (Twitter) ซึ่งอธิบายว่า “ผมไม่ได้เขียนโค้ดจริง ๆ ผมแค่ดูสิ่งที่เกิดขึ้น พูดสิ่งที่ต้องการ แล้วก็ Copy-Paste... มันก็ใช้งานได้”
ตัวอย่างง่าย ๆ จากการทดลองของผมเองเลย โดยใช้ ChatGPT (Canvas) และ Claude (Artifact)
  • ช่วยสร้างภาพ visualizer เพื่อใช้บอกรักภรรยา อยากให้คุณช่วยออกแบบและสร้าง Code โดยใช้ ้html/react โดยให้เธอเห็นแล้วมีความสุข
  • AI ก็จะสร้าง HTML + CSS + JavaScript ให้เลยแบบอัตโนมัติ
ผลลัพธ์ดูได้ตามภาพประกอบได้เลยครับ ลองเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่าง ChatGPT โดยใช้ Model "o1" และ Claude โดยใช้โดยใช้ Model "Sonnet 3.7" ดูนะครับ โดยการสร้างใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที
Create By "o1"
Create By "Sonnet 3.7"
จุดสำคัญของ vibe coding คือ “ให้ AI จัดการส่วนที่ยุ่งยากแทน” คุณแค่คิดไอเดีย ไม่ต้องเสียเวลาลงลึกกับโค้ด!
Vibe Coding ทำงานยังไง? (เทคโนโลยีเบื้องหลัง)
หลักการของ vibe coding ไม่ซับซ้อนเลยครับ มีแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้น
  • 1.
    บอกสิ่งที่ต้องการ (Prompt) เช่น “ช่วยสร้างเว็บสำหรับรับสมัครสมาชิกที่มีระบบล็อกอินให้หน่อย”
  • 2.
    AI ประมวลผล คำพูดหรือข้อความของคุณด้วยเทคโนโลยี Natural Language Processing (NLP) และ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs)
  • 3.
    AI สร้างโค้ด และให้ผลลัพธ์ที่ใช้งานได้ทันที!
vibe coding ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลักดังนี้
  • Large Language Models (LLM): โมเดล AI เช่น Anthropic Sonnet 3.7 หรือ OpenAI o1 ที่ได้รับการฝึกจากข้อมูลโค้ดจำนวนมาก สามารถสร้างโค้ดจากคำสั่งภาษาธรรมชาติได้
  • Speech Recognition: ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งจะถูกแปลงเป็นข้อความก่อนส่งไปยัง LLM
  • Natural Language Processing (NLP): ใช้ประมวลผลคำสั่งเพื่อให้ AI เข้าใจเจตนาของผู้ใช้และสร้างโค้ดที่เหมาะสม
ความแตกต่างจากการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิมคือ vibe coding ลดการเขียนโค้ดด้วยมือ โดยผู้ใช้เน้นกำหนดไอเดียและทิศทาง ขณะที่ AI ทำส่วนของการเขียนโค้ด ซึ่งอาจทำให้ลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องคุณภาพโค้ด
เปรียบเทียบ Vibe Coding กับการเขียนโปรแกรมแบบเดิม
เครื่องมือ Vibe Coding ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง?
ปัจจุบันมีเครื่องมือเด่น ๆ หลายตัวที่กำลังมาแรงในตอนนี้ โดยแต่ละตัวก็จะมี Model LLM คอยทำงานเบื้องหลัง
  • Replit Agent: เน้นการสร้างเว็บหรือแอปแบบรวดเร็ว ตั้งแต่ต้นจนจบ เหมาะกับผู้เริ่มต้น
  • Cursor Composer: เน้นการทำงานร่วมกับนักพัฒนาที่มีพื้นฐานอยู่บ้าง ให้ AI ช่วยเขียน-ปรับแก้โค้ด
  • Bolt.new: เหมาะกับการทำ Prototype เว็บแอปอย่างรวดเร็วที่สุด (เพียงไม่กี่นาที!)
  • Lovable.dev: แพลตฟอร์ม Vibe coding ครบวงจรที่เน้นให้ผู้ไม่มีพื้นฐานสามารถสร้างเว็บหรือแอปคุณภาพสูงได้ทันที
เครื่องมือยอดนิยมสำหรับ Vibe Coding
แล้ว Vibe Coding มันดีกว่าวิธีเดิมๆ อย่างไร?
ข้อดีหลักๆ ของการใช้ Vibe Coding คือ
  • ✅ ประหยัดเวลา: สร้างโปรเจ็กต์ง่ายๆ เสร็จได้ภายในไม่กี่นาที แทนที่จะเสียเวลาเป็นชั่วโมงหรือวัน
  • ✅ ใครๆ ก็สร้างแอปได้: คนที่ไม่เคยแตะโค้ดเลยก็สามารถสร้างแอปเล็กๆ ของตัวเองได้
  • ✅ ช่วยลดงานซ้ำซ้อน: งานง่ายๆ หรือโค้ดที่ซ้ำๆ AI จะจัดการแทนคุณได้ทันที
  • ✅ เปิดโอกาสใหม่ๆ: ให้ทุกคนสามารถสร้าง “ซอฟต์แวร์ส่วนตัว” เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะที่ตอบโจทย์ตัวเองได้โดยตรง
แต่ก็ใช่ว่า Vibe Coding จะไม่มีจุดอ่อนเลย
ถึงแม้จะฟังดูดีแค่ไหน แต่ Vibe Coding ก็มีข้อจำกัดที่ควรระวังเช่นกัน
  • ⚠️ ความแม่นยำยังไม่สมบูรณ์: AI อาจสร้างโค้ดที่ยังมีบั๊กหรือใช้งานไม่ได้ 100% คุณต้องตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง
  • ⚠️ ปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัย: บางครั้ง AI อาจสร้างโค้ดที่มีช่องโหว่หรือข้อผิดพลาดทางเทคนิค คุณต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นในการตรวจสอบหรือให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล
  • ⚠️ ไม่เหมาะกับโปรเจ็กต์ที่ซับซ้อน: สำหรับงานใหญ่ๆ หรือระบบที่ต้องการความมั่นคงสูง คุณยังต้องมีนักพัฒนาที่มีประสบการณ์ในการดูแลใกล้ชิด
ผลกระทบของ Vibe Coding ต่ออนาคตวงการไอที
หลายบริษัทใหญ่เริ่มปรับตัวกันแล้วนะครับ เช่น Google และ Microsoft ที่หันมาใช้ AI เขียนโค้ดจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะ Google ที่ล่าสุดบอกว่า 25% ของโค้ดใหม่เขียนโดย AI แล้วด้วยซ้ำ!
นี่อาจทำให้ โปรแกรมเมอร์ระดับจูเนียร์ ต้องรีบปรับตัว เพราะ AI อาจเข้ามาแทนที่งานเขียนโค้ดที่เคยเป็นของมนุษย์แบบเดิม ๆ ในอนาคตอันใกล้
แต่ในอีกด้าน มันก็เป็นโอกาสสำหรับผู้ที่มีไอเดียดี ๆ และพร้อมเรียนรู้ เพราะต่อจากนี้คุณสามารถ “สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยไอเดียล้วนๆ” ได้แล้ว!
🤔 อนาคตของ Vibe Coding จะเป็นอย่างไร?
Vibe Coding อาจกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการพัฒนาโปรแกรม โดย AI จะช่วยลดงานที่ซับซ้อน นักพัฒนาอาจมุ่งเน้นไปที่การออกแบบระบบและการแก้ปัญหามากขึ้น แทนที่จะต้องพิมพ์โค้ดด้วยตนเอง
1
  • อนาคตของ Vibe Coding อาจรวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติที่ไม่ต้องอาศัยโค้ดเลย
  • บทบาทของนักพัฒนาอาจเปลี่ยนไป เป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแล AI มากกว่าการเขียนโค้ดเอง
  • บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ อาจพัฒนาแพลตฟอร์มที่รองรับ Vibe Coding โดยสมบูรณ์
บทสรุป
Vibe Coding คืออนาคตของการสร้างซอฟต์แวร์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้ว่ายังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่ก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการเทคโนโลยีที่คุณไม่ควรมองข้าม!
แล้วคุณคิดยังไงกับเทรนด์นี้? คุณพร้อมจะลอง Vibe Coding แล้วหรือยัง? ลองแชร์ความคิดเห็นของคุณได้เลยครับ 😊
Reference Source
1. Chowdhury, H. & Mann, J. (2025). Silicon Valley’s next act: bringing “vibe coding” to the world. Business Insider
4. Vibe Coding: The Future of Software Development or Just a Trend?
โฆษณา