Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
19 มี.ค. เวลา 15:21 • สุขภาพ
ทำไมเครียด ถึงลงกระเพาะ
ความเครียดเป็นโหมดการทำงานของร่างกายที่มีความซับซ้อนมากที่สุดชนิดหนึ่ง
เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ระบบประสาทซิมพาเทติกจะถูกกระตุ้น ทำให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะเพิ่มขึ้น และลดการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้
2
ภาวะเครียดลงกระเพาะ (Stress-related Gastric Symptoms) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายตอบสนองต่อความเครียดโดยส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ และแสบร้อนกลางอก แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่ใช่โรคกระเพาะโดยตรง แต่สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะอักเสบของเยื่อบุกระเพาะหรือแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
ความเครียดกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อ Cortisol เมื่อฮอร์โมนดังกล่าวมีมากขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างทำงานผิดปกติ จากการหลั่งกรดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อน (GERD) กรดที่เพิ่มขึ้นยังกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร ทำให้ลำไส้แปรปรวน มีอาการปวดท้องรุนแรง
นอกจากนี้ ความเครียดยังทำให้เกิดความแปรปรวนของค่าความเป็นกรด-ด่างของพื้นผิวด้านในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้(Dysbiosis) ทำให้แบคทีเรียชนิดดีลดลง ชนิดก่อสารกระตุ้นการอักเสบเพิ่มขึ้น
1
2
นอกจากปัจจัยภายในแล้ว ปัจจัยภายนอกที่เราทำเมื่อมีความเครียด เช่น กินอาหารเร็วขึ้น ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากขึ้น หรือสูบบุหรี่ ยิ่งซ้ำเติมความแปรปรวนของระบบทางเดินอาหาร ให้ยิ่งแย่ลงกว่าเดิม
นอกจากการควบคุมความเครียดแล้ว สิ่งที่เราต้องทำเมื่อมีภาวะเครียดลงกระเพาะคือหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นกรด เช่น อาหารเผ็ด อาหารมัน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายช่วยลดความเครียดและส่งเสริมระบบย่อยอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ และหากไม่ดีขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อน ควรพบแพทย์ทำตรวจรักษาอย่างเหมาะสม
อ้างอิง
Chrousos, G. P. (2009). "Stress and disorders of the stress system." Nature Reviews Endocrinology, 5(7), 374-381.
https://doi.org/10.1038/nrendo.2009.106
Taché, Y., & Bonaz, B. (2007). "Corticotropin-releasing factor receptors and stress-related alterations of gut motor function." Journal of Clinical Investigation, 117(1), 33-40.
https://doi.org/10.1172/JCI30087
ความรู้รอบตัว
สุขภาพ
34 บันทึก
54
2
62
34
54
2
62
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย