.. ยังปรากฏว่า มีพัฒนาการความคิดทางด้านปรัชญาแฝงอยู่ในความเชื่อของชาวอียิปต์ เช่นในคัมภัร์มรณะ (The Book of Dead) ซึ่งเป็นหนังสือทางศาสนาและพิธีกรรมที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอียิปต์มากที่สุด
เรื่องราวของการเดินทางหลังความตาย (after life) และบทสวดต่างๆ จะถูกเขียนบนกระดาษปาปิรุส และถูกฝังหรือเก็บไว้ในสุสานกับมัมมี่ เพื่อเป็นการนำทางและป้องกันอันตรายให้กับวิญญาณ หนังสือนี้รู้จักกันในนามของ Book of the Dead ซึ่งมีเล่มที่ค่อนข้างสมบูรณ์ถูกจัดแสดงที่ British Museum
น่าสนใจที่ได้เรียนรู้ว่า “โลกหลังความตาย” ในความเชื่อของคนอียิปต์โบราณ มิใช่การเกิดใหม่ในโลกมนุษย์ แต่เป็นการเกิดใหม่ในโลกแห่งสวรรค์ ที่เรียกว่า Fields of Reeds หรือทุ่งต้นกก นั่นเอง
คัมภีร์มรณะ หรือ Book of the Dead ของชาวอียิปต์โบราณ ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอียิปต์โบราณ ชาวไอยคุปต์โบราณเรียกคัมภีร์ที่พวกเขาเขียนขึ้นมานี้ว่า prt m hrw อ่านว่า “เพเรต เอม เฮรู” แปลว่า Spells for Coming Forth by Day .. คัมภีร์มรณะ หรือ Book of the Dead เป็นคำที่บัญญัติขึ้นมาโดยนักอียิปต์วิทยาสมัยใหม่
ในช่วงสมัยอาณาจักรโบราณ (Old Kingdom) ไม่มีการใช้คัมภีร์มรณะ แต่จะมีคัมภีร์ที่เรียกว่า Pyramid Text หรือจารึกพีรามิด ส่วนอาณาจักรกลาง (Middle Kingdom) จะใช้ Coffin Texts หรือจารึกโลงศพ … ส่วนคัมภีร์มรณะ มาใช้เอาในสมัยอาณาจักรใหม่ (New Kingdom)