20 มี.ค. เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

พายุก๊าซทอร์นาโดในอวกาศ รอบแกนกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก

ฝุ่นและก๊าซหมุนวนอยู่บริเวณใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกในบริเวณที่ปั่นป่วนรอบหลุมดำมวลมหาศาล (supermassive black hole) ขณะเดียวกัน คลื่นกระแทกพลังงานก็กระเพื่อมไปทั่ว ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติที่ใช้ Atacama Large Millimeter/submillimeter Array (ALMA) ช่วยให้เรามองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ชัดเจนขึ้นถึง 100 เท่า และค้นพบโครงสร้างเส้นใยใหม่ที่น่าแปลกใจในบริเวณลึกลับของอวกาศแห่งนี้
แม้ว่าบริเวณโมเลกุลกลางของกาแล็กซี (Central Molecular Zone: CMZ) เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยโมเลกุลของฝุ่นและก๊าซที่หมุนวนไปมาระหว่างการก่อตัวและการทำลายล้าง แต่กลไกที่ขับเคลื่อนกระบวนการนี้ยังคงคลุมเครือ โมเลกุลทำหน้าที่เป็นตัวติดตามกระบวนการต่างๆ ในกลุ่มโมเลกุล โดยซิลิกอนมอนอกไซด์ (SiO) มีประโยชน์อย่างยิ่งในการตรวจจับการมีอยู่ของคลื่นกระแทก
ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติซึ่งนำโดย Kai Yang จากมหาวิทยาลัย Shanghai Jiao Tong ได้ใช้ความละเอียดและความไวสูงของ ALMA ในการทำแผนที่เส้นสเปกตรัมที่แตกต่างกันภายในกลุ่มเมฆโมเลกุลที่ใจกลางของทางช้างเผือก และสามารถกำหนดโครงร่างโครงสร้างเส้นใยชนิดใหม่ที่มีความยาวและแคบในระดับที่ละเอียดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"เส้นใยบาง" เหล่านี้เป็นสิ่งที่ค้นพบโดยบังเอิญและคาดไม่ถึงในเส้นการแผ่รังสีของ SiO และโมเลกุลอื่นอีกแปดแบบโมเลกุล ความเร็วของเส้นการมองเห็นมีความสอดคล้องกันและไม่สอดคล้องกับการไหลออก ดังนั้น จึงไม่ตรงกับลักษณะของเส้นใยก๊าซหนาแน่นประเภทอื่นที่ค้นพบก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ เส้นใยเหล่านี้ไม่แสดงความสัมพันธ์กับการแผ่รังสีของฝุ่น และดูเหมือนจะไม่อยู่ในภาวะสมดุลของอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium)
แปลและเรียบเรียงโดย
One To Many - A Brief Science
.
แหล่งอ้างอิง
[1] Astronomers discover 'space tornadoes' around the Milky Way's core
[2] ALMA observations of massive clouds in the central molecular zone: slim filaments tracing parsec-scale shocks
โฆษณา