Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Yolo Green News
•
ติดตาม
20 มี.ค. เวลา 04:21 • สิ่งแวดล้อม
ทำไมเอาสายไฟลงดิน ถึงได้นานขนาดนี้!
การนำสายไฟลงดินเป็นวิธีการที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน และแก้ไขปัญหาในหลายด้าน รวมถึงทำให้ภูมิทัศน์สวยงามมากขึ้น โดยในไทยมีโครงการรนำสายไฟลงดินมากกว่า 40 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่เสร็จ แล้วทำไมเอาสายไฟลงดินถึงได้นานขนาดนี้!
ทำไมจะต้องเอาสายไฟลงดิน?
ปัจจุบันหลายเมือง โดยเฉพาะเมืองขนาดใหญ่มักจะมีปัญหาสายไฟฟ้ารกรุงรัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเมือง การนำสายไฟลงดินทำให้เกิดข้อดีหลายด้าน ดังนี้
1.เพิ่มความปลอดภัย: ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากสายไฟขาด ไฟฟ้าช็อต หรือเสาไฟล้ม
2.ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ: ลดโอกาสไฟฟ้าดับจากพายุฝน ลมแรงหรือต้นไม้ล้ม
3.ปรับปรุงทัศนียภาพ: เมืองดูสะอาดตา ไม่มีสายไฟรกรุงรัง
4.ลดต้นทุนการซ่อมบำรุงระยะยาว: ถึงแม้ว่าต้นทุนในการนำสายไฟลงดินจะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก แต่ในอนาคตจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแน่นอน
การนำสายไฟลงดินไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยมากนัก เนื่องจากการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. ได้ริเริ่มโครงการระบบสายไฟใต้ดินครั้งแรกในปี 2527 ซึ่งผ่านมาแล้วประมาณ 41 ปี ซึ่งเริ่มจากถนนสีลมเป็นที่แรก แต่จนถึงปัจจุบันการนำสายไฟลงดินก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพมหานครเสียที แล้วสาเหตุมันเกิดจากอะไร?
ทำไมการนำสายไฟลงดินถึงใช้เวลานาน?
1.ข้อจำกัดทางโครงสร้างพื้นฐาน: มีระบบสาธารณูปโภคใต้ดินจำนวนมาก เช่น ท่อประปา ท่อระบายน้ำ
2.ต้นทุนสูง: การที่จะนำสายไฟลงดินต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก เฉลี่ย 30 - 50 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
3.ต้องได้รับอนุญาตจากหลายหน่วยงาน: การนำสายไฟลงดินต้องประสานงานกับหลายหน่วยงาน ถึงจะเริ่มดำเนินการได้
4.โครงการมีขนาดใหญ่และต้องทำเป็นระยะ: เนื่องจากการนำสายไฟลงดินเป็นใครงการที่ใหญ่ และต้องใช้งบประมาณสูงมาก จึงต้องทยอยดำเนินโครงการทีละส่วน
แต่หากมีการวางแผน และเร่งรัดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้โครงการนี้เสร็จได้เร็วขึ้น
#yologreennews #ข่าว #ข่าวสิ่งแวดล้อม #สายไฟฟ้าลงดิน #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย
เรื่องเล่า
ข่าววันนี้
ความรู้รอบตัว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย