21 มี.ค. เวลา 11:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

สัตว์ที่สูญพันธุ์​ไปแล้ว

สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว​▪️▪️◼️🔲
แต่มีโอกาสฟื้นคืนชีพ 🦣🐦 🐂🦓🐺
วิทยาการด้านพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพก้าวหน้าไปอย่างมาก จนทำให้แนวคิดในการฟื้นคืนสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลายเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้จริง นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาวิธีการนำสัตว์ที่เคยสูญพันธุ์กลับมา โดยอาศัยดีเอ็นเอจากตัวอย่างที่ยังหลงเหลืออยู่ และใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรมร่วมกับสัตว์ที่มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรม
ปัจจุบัน มีความพยายามฟื้นคืนสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยใช้กระบวนการที่ซับซ้อน เริ่มจากการสกัดดีเอ็นเอของสัตว์ที่สูญพันธุ์
นำไปเปรียบเทียบและแก้ไขจีโนมของสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งใกล้เคียงกันมากที่สุด
จากนั้นนำเซลล์ที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมไปพัฒนาเป็นตัวอ่อนและเพาะเลี้ยงจนสามารถเกิดเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกับสายพันธุ์ดั้งเดิม
แม้ว่าการฟื้นคืนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างความก้าวหน้าได้แล้ว ในปี 2003 นักวิจัยจากสเปนสามารถโคลนนิ่งแพะป่าบูคาร์โด (Capra pyrenaica pyrenaica) สูญพันธุ์ไปในปี 2000 ได้สำเร็จ แม้ว่าแพะที่เกิดขึ้นจะเสียชีวิตในเวลาไม่นานก็ตาม
นอกจากนี้ ในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างตัวอ่อนของกบกระเพาะฟักใต้ (Rheobatrachus silus) เป็นกบที่เคยมีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียและให้กำเนิดลูกผ่านปาก แม้ว่าการทดลองยังไม่สามารถพัฒนาเป็นลูกอ๊อดได้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านนี้
ในอนาคต อาจใช้เวลาไม่ถึงสิบปี ก่อนที่สัตว์บางชนิดที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้วจะกลับมาโลดแล่นบนโลกอีกครั้ง ตัวอย่าง​ สายพันธุ์ที่มีโอกาสได้รับการ
ฟื้นคืนชีพ ▪️▪️◼️
🐂 Aurochs​ บรรพบุรุษแห่งวัวบ้านที่อาจฟื้นคืนชีพ
**ออร็อค* * (Bos primigenius) เป็นบรรพบุรุษของวัวบ้าน (Bos taurus) และเคยมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศของทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกาเหนือ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของออร็อคถูกค้นพบและมีอายุประมาณ 700,000 ปีก่อน​ เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกที่ใหญ่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ในยุโรปหลังยุคน้ำแข็ง
ออร็อค​สูญพันธุ์ไปเนื่องจากการล่าสัตว์อย่างหนักและการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย ออร็อคตัวสุดท้ายที่มีการบันทึกไว้อยู่ในป่า Jaktorów ประเทศโปแลนด์ และตายใยปี ค.ศ. 1627
โอกาสในการฟื้นคืนชีพ
▪️▪️◼️🔲
การฟื้นคืนออร็อคแตกต่างจากโครงการคืนชีพ
สายพันธุ์ที่สูญพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้การตัดต่อพันธุกรรม​ ดีเอ็นเอของออร็อคยังคงมีอยู่ในวัวบ้านหลายสายพันธุ์ ทำให้สามารถใช้กระบวนการ "การผสมพันธุ์แบบย้อนกลับ" เพื่อคัดเลือกและผสมพันธุ์วัวที่มีลักษณะใกล้เคียงกับออร็อคมากที่สุด
โครงการฟื้นฟูออร็อคที่ดำเนินการในเนเธอร์แลนด์ได้พัฒนาวัวมาแล้วมากกว่า 6 รุ่นและกำลังเข้าใกล้การสร้างวัวที่มีลักษณะคล้ายออร็อค​มากที่สุด การวิจัย
ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อฟื้นฟูลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมของ​ ออร็อค​ ให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด
🐦 นก​ Dodo​ การสูญพันธุ์ที่อาจกลับมา
นกโดโด​ (Raphus cucullatus) เป็นนกขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้ เคยอาศัยอยู่บนเกาะมอริเชียส ใกล้ชายฝั่งมาดากัสการ์ นกชนิดนี้สูญพันธุ์ในช่วงศตวรรษที่ 17 เนื่องจากผลกระทบจากการล่าอาณานิคมของยุโรป
นักเดินเรือชาวยุโรปมาถึงมอริเชียสในปี 1598 และได้นำสัตว์ต่างถิ่น เช่น หนู แมว และลิง เข้ามายังเกาะ สัตว์เหล่านี้ล่าทำลายไข่และลูกนกโดโด ขณะที่มนุษย์เองก็ล่านกโดโดเพื่อเป็นอาหาร ประกอบกับการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้จำนวนประชากรของนกโดโดลดลงอย่างรวดเร็ว จนสูญพันธุ์ไปในปี 1681
โอกาสในการฟื้นคืนชีพ
▪️▪️◼️🔲
ดีเอ็นเอของนกโดโดยังคงหลงเหลืออยู่ในตัวอย่างที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในปี 2022.นักวิทยาศาสตร์สามารถจัดเรียงลำดับ
จีโนมของนกโดโดได้จากตัวอย่างที่ได้รับการเก็บรักษาเป็นอย่างดี แต่การฟื้นคืนชีพของนกโดโดยังคงมีอุปสรรคหลายด้าน เช่น การเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรนกที่เกิดใหม่
ในทางเทคนิค นกมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์โดยใช้ไข่ แทนที่จะต้องอาศัยการตั้งครรภ์ ช่วยให้กระบวนการคืนชีพมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
🐦 นก​ Dodo​ การสูญพันธุ์ที่อาจกลับมา
นกโดโด​ (Raphus cucullatus) เป็นนกขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้ เคยอาศัยอยู่บนเกาะมอริเชียส ใกล้ชายฝั่งมาดากัสการ์ นกชนิดนี้สูญพันธุ์ในช่วงศตวรรษที่ 17 เนื่องจากผลกระทบจากการล่าอาณานิคมของยุโรป
นักเดินเรือชาวยุโรปมาถึงมอริเชียสในปี 1598 และได้นำสัตว์ต่างถิ่น เช่น หนู แมว และลิง เข้ามายังเกาะ สัตว์เหล่านี้ล่าทำลายไข่และลูกนกโดโด ขณะที่มนุษย์เองก็ล่านกโดโดเพื่อเป็นอาหาร ประกอบกับการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้จำนวนประชากรของนกโดโดลดลงอย่างรวดเร็ว จนสูญพันธุ์ไปในปี 1681
โอกาสในการฟื้นคืนชีพ
▪️▪️◼️🔲
ดีเอ็นเอของนกโดโดยังคงหลงเหลืออยู่ในตัวอย่างที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในปี 2022.นักวิทยาศาสตร์สามารถจัดเรียงลำดับ
จีโนมของนกโดโดได้จากตัวอย่างที่ได้รับการเก็บรักษาเป็นอย่างดี แต่การฟื้นคืนชีพของนกโดโดยังคงมีอุปสรรคหลายด้าน เช่น การเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรนกที่เกิดใหม่
ในทางเทคนิค นกมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์โดยใช้ไข่ แทนที่จะต้องอาศัยการตั้งครรภ์ ช่วยให้กระบวนการคืนชีพมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
🦓 Quagga.สายพันธุ์ย่อยของม้าลายที่สูญพันธุ์
"ควากก้า" (Equus quagga quagga) เป็นสายพันธุ์ย่อยของ ม้าลาย (Equus quagga) เคยพบได้เฉพาะในแอฟริกาใต้ ควากก้ามีลักษณะเด่นคือ ลายทางที่จางลงบริเวณส่วนหลังแตกต่างจากม้าลายชนิดอื่น
ในช่วงศตวรรษที่ 19 ควากก้าถูกล่าเพื่อนำขนมาใช้ประโยชน์ และถูกกำจัดเพื่อลดการแข่งขันกับปศุสัตว์ทำให้จำนวนประชากรลดลงจนสูญพันธุ์จากป่า​ ควากก้า​ ตัวสุดท้ายที่ถูกเลี้ยงไว้ตายในปี​ 1883 ปัจจุบันมี โครงกระดูกควากก้าเหลืออยู่เพียง 7 โครง
ความพยายามในการฟื้นคืนชีพควากก้า
▪️▪️◼️🔲
ตั้งแต่ปี 1987 แอฟริกาใต้ได้ดำเนิน โครงการ
ควากก้าว​ ใช้วิธีการคัดเลือกม้าลายราบที่มีลายทางน้อยกว่าปกติ เพื่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายกับควากก้ามากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแนวคิด
เกี่ยวกับการ โคลนควากก้าโดยการสกัดดีเอ็นเอจากไขกระดูกของโครงกระดูกควากกา​ หรือจาก ตัวอย่างสัตว์สตัฟฟ์ แล้วฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ม้าลาย อย่างไนก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา
🐅Thylacine​ นักล่าผู้ลับหายจากแทสเมเนีย
"ไทลาซีน" (Thylacinus cynocephalus) หรือที่รู้จักกันในชื่อเสือแทสเมเนียน เป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่กินเนื้อเป็นอาหาร มีลักษณะคล้ายหมาป่าและมีลายทางบริเวณหลังส่วนล่าง ไทลาซีนเคยอาศัยอยู่ทั่วออสเตรเลีย แต่สูญพันธุ์จากแผ่นดินใหญ่มานานกว่า 3,000 - 2,000 ปี​โดยยังคงมีประชากรหลงเหลือ
อยู่บนเกาะแทสเมเนีย
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19​ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปในแทสเมเนียมองว่าไทลาซีนเป็นสัตว์นักล่าที่เป็นภัยต่อปศุสัตว์ จึงมีการล่าจำนวนมาก จนนำไปสู่การสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ ตัวสุดท้ายที่ถูกบันทึกไว้เสียชีวิตในสวนสัตว์เมื่อปี 1936
โอกาสในการฟื้นคืนชีพ
▪️▪️◼️🔲
ตัวอย่างของไทลาซีนที่เก็บรักษาไว้มีอยู่จำนวนมากในพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก ทำให้สามารถสกัดดีเอ็นเอออกมาเพื่อใช้ในการศึกษาทางพันธุกรรม ในปี 2017
นักวิจัยสามารถถอดรหัสจีโนมของไทลาซีนได้สำเร็จ และในปี 2023 มีการสกัดอาร์เอ็นเอจากตัวอย่างที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้
อย่างไรก็ตาม ดีเอ็นเอของไทลาซีนที่ค้นพบมีสภาพแตกกระจาย ทำให้ต้องมีการแก้ไขทางพันธุกรรมจำนวนมากเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อฟื้นคืนสายพันธุ์ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีความท้าทายหลายด้านที่ต้องเอาชนะก่อนที่ไทลาซีนจะกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
🦣 แมมมอธขนปุย​ ยักษ์น้ำแข็งที่อาจฟื้นคืนชีพ
แมมมอธขนปุย (Mammuthus primigenius)​
เคยท่องไปทั่วทุ่งทุนดราในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือเมื่อราว 300,000 ถึง 10,000 ปีก่อน เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย งกินเวลาตั้งแต่ 2.6 ล้านถึง 11,700 ปีก่อนแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน แต่กลุ่มเล็ก ๆ บนกาะ Wrangel สามารถอยู่รอดได้นานกว่านั้นและเพิ่งหายไปเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน
สาเหตุของการสูญพันธุ์ของแมมมอธขนปุยอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในช่วงปลายยุคน้ำแข็ง รวมถึงการล่าของมนุษย์และปัญหาความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ลดลง
โอกาสในการฟื้นคืนชีพ
▪️▪️◼️🔲
ชั้นดินเยือกแข็งในแถบอาร์กติกได้ช่วยรักษาซากแมมมอธขนปุยไว้ในสภาพที่ดีเยี่ยม ทำให้ดีเอ็นเอยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคนิคทางพันธุศาสตร์เพื่อสกัดและจัดเรียงลำดับจีโนมของแมมมอธ จากนั้นใช้เทคนิคตัดต่อยีนเพื่อ
ใส่ลักษณะทางพันธุกรรมของแมมมอธลงใน
ช้างเอเชียเป็นญาติที่ใกล้เคียงที่สุด
บริษัท Colossal Biosciencesในสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกด้านนี้ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสร้าง ลูกแมมมอธตัวแรกได้ภายในปี 2028*
หนูขนฟู​▪️▪️◼️🔲
ก้าวแรกสู่การคืนชีพแมมมอธ
ในเดือนมีนาคม 2025​ บริษัท Colossal
ได้จัดแสดง "หนูขนฟู" ป็นหนูทดลองที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีขนหนานุ่มสีน้ำตาลทอง คล้ายกับขนของแมมมอธขนปุย
นักวิทยาศาสตร์สามารถปรับแต่งยีน 6 ตัวในหนูเพื่อควบคุม ความยาว สี และเนื้อสัมผัสของขนปิดการทำงานของยีนเดิม และในบางกรณีก็แทนที่ด้วยยีนที่พบในแมมมอธขนปุยโดยตรง
"หนูขนฟู" ถือเป็นหลักฐานเชิงแนวคิดที่แสดงให้เห็นว่าสามารถนำลักษณะของแมมมอธเข้าสู่จีโนมของสัตว์อื่นได้​ แต่การพัฒนา "ช้างขนฟู" หรือแมมมอธ
ยุคใหม่ ยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องใช้เวลาและการวิจัยอีกมาก
แม้ว่าจะยังมีอุปสรรคอีกมาก แต่ความฝันที่จะเห็น
แมมมอธขนปุยเดินบนโลกอีกครั้งก็ใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที
โฆษณา