22 มี.ค. เวลา 12:15 • ปรัชญา

"ทำดี" กับคนทั้งโลก แต่ "ทำร้าย" คนในบ้าน วิกฤตครอบครัว ในมุมมองพุทธศาสนา พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา

ในตอนนี้นะครับ กระผมขอนิยามคำว่า "คนในบ้าน" คือ
.
พ่อแม่ลูก สามีภรรยา คนใก้ลชิด เพื่อนสนิท และ คนที่เราไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน นะครับ
.
กระผมก็ อนุญาตสารภาพตามตรงเลย นะครับว่า
ในระหว่างที่กระผมนั่งเขียนบทความ และ ทำคลิปในตอนนี้นั้น
.
กระผมก็นั่งแอบยิ้มแห้ง ๆ อยู่คนเดียว อยู่เหมือนกันครับ อิอิ
.
มาเริ่มกันเลย ครับ
บางทีแล้ว เราอาจหลงลืมว่า "คนในบ้าน" คือ กระจกที่สะท้อนตัวตนที่แท้จริงของเรา
.
จนเผลอใช้ความดีทั้งหมด ไปแลกกับโลกข้างนอก
และ เหลือเพียงความเหนื่อยล้า กลับมาแบ่งปันให้ "คนในบ้าน"
.
เปรียบเหมือน อากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวัน
จนลืมคุณค่าของ "คนในบ้าน" ว่าพวกเขา คือ “อากาศทางจิตใจ” ครับ
.
"คนในบ้าน" ทำกับข้าวให้กิน 1,000 ครั้ง เราก็ไม่เคยพูดคำว่า "ขอบคุณ"
นั่นอาจเป็นเพราะว่า "ความคุ้นเคย" ทำให้เรามองว่า "คนในบ้าน" ทำเพราะเป็นหน้าที่
.
จนคุณหลงลืมไปว่า นั้นคือ "ความรัก" ที่ไม่มีเงื่อนไข ที่ "คนในบ้าน" ได้มอบให้แก่คุณ ครับ
.
แต่เรายังหลง และ ยังอยู่ในเมฆ หมอก แห่งม่านของ "อวิชชา" (ความไม่รู้) เท่านั้นเอง ครับ
แล้วถ้ากระผม จะบอกคุณว่า
คนเราไม่ว่าจะเกิดมาจากไหน ?
ทุกคน !!! ย่อมมีความเห็นแก่ตัวเป็นพื้นฐาน
.
มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ครับ มันคือตัวตนของเรา
.
มันจะเศร้าไปมั้ยครับ ตอนนี้ เฮ้อ !!! (ถอนหายใจ)
.
- บางคน ทำดีด้วยทรัพย์ บริจาคเงินช่วยเหลือกับหน่วยงานต่าง ๆ แต่ให้ "คนในบ้าน" เพียงหยิบมือ
.
ก็เพียงเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม จนทำให้ "คนในบ้าน" เดือดร้อนขัดสน
.
จนหลงลืมไปว่าหาก "คนในบ้าน" อิ่ม ดี มีสุข
ตัวคุณเอง ก็จะเปร่งประกาย จากความอิ่มเอิบ ที่มาจากข้างใน ครับ
- บางคน ทำดีด้วยวาจา พูดเพราะ กับเพื่อนฝูง คนรู้จัก ลูกค้า เพียงเพราะ ต้องการผลประโยชน์ทางธุรกิจ
.
ส่วนการพูดจากับ "คนในบ้าน" มีแต่ ใช้อารมณ์ ความเครียด ความวิตกกังวล พูดจาโดยปราศจากการคิดวิเคราะห์
.
เพราะหลงลืม ด้วยความคุ้นชิ้นว่า "คนในบ้าน" ยังไงก็ได้
- บางคน ทำดีด้วยการงาน มีบุญบ้านไหน งานสังคมที่ใด ใช้แรงงานช่วยเขาทั่ว
.
แต่งานทั่วไปในบ้านของตนเอง ไม่เคยหยิบจับ เพราะหลงคิดว่า "คนในบ้าน" เขาทำอยู่ก่อนแล้ว
.
แต่ไม่รู้ว่า "คนในบ้าน" เขาก็เหนื่อย และ เขาก็ทำเพราะ "เขารักคุณ" ไม่อยากให้คุณ เหนื่อยด้วย
.
เฮ้อ !!! (ถอนหายใจ) โลกเรานี้มันมีความหลายหลายทางชีวภาพจริง ๆ นะครับ อิอิ
ที่นี้ครับ กระผมอยากให้คุณ มาดูในมุมมองของ "พุทธศาสนา" กันบ้างนะครับ
.
ว่าทำไม ? คนเราถึง ทำดี" กับคนทั้งโลก แต่กลับมา "ทำร้าย" คนในบ้าน
.
"พุทธศาสนา" บอกว่า "ทุกข์เกิดจากตัณหา"
แต่ "ตัณหา" ที่อันตรายที่สุด คือ "ความคุ้นเคย" ครับ
.
"ตัณหา" แบ่งออกเป็น 3 ประเภท นะครับ
.
1. กามตัณหา คือ ความอยากได้สิ่งต่าง ๆ มาบำรุงบำเรอความสุข ทางกาย และ จิตใจ
.
2. ภวตัณหา คือ ความอยากอยู่ในฐานะ ที่ตนเองพึงพอใจ
.
3. วิภวตัณหา คือ ความอยากพ้นไปจากสภาพไม่พึงใจ ที่ตนเองประสบอยู่
ส่วน "ความคุ้นเคย" ไม่ใช่ตัณหาปกติ ครับ
.
หากเป็น "ตัณหา" ที่แฝงตัวในรูปของความหลงลืม
จนเรา "มองไม่เห็น" ว่า มันกำลังทำร้ายเรา ครับ
.
พวกเรามีความเชื่อพื้นฐานว่า "คนในบ้านต้องเข้าใจกันเองอยู่แล้ว"
.
จนเผลอทิ้งมารยาท ความเกรงใจ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน และ การให้อภัย
.
สรุปง่าย ๆ ครับ คือ เราไม่ปฏิบัติ มารยาท ความเกรงใจ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน และ การให้อภัย ให้กับ "คนในบ้าน" ครับ
เราทำสิ่งนี้ กับคนนอกบ้าน อาจจะเป็นเพราะความ "กลัว" นะครับ
.
- กลัวคนนอกบ้านไม่เล่นด้วย
- กลัวเขาไม่รัก
- กลัวเขาไม่ซื้อของของเรา
- กลัวเขาจะตำหนิ ติฉิน นินทา
- กลัวเขาจะไม่เห็นคุณค่าของตนเอง
- กลัวคนที่รวยกว่าจะไม่ยอมรับ แต่คนจนเราไม่สน เพราะไม่มีประโยชน์ใด ๆ กับตัวเรา
.
สรุปคือ เรากลัวทุกอย่าง แต่สิ่งเดียวที่เราลืม "กลัว" ก็คือ "คนในบ้าน" ครับ
เปรียบเหมือน "ต้นไม้" ที่ยืนใกล้กัน จนลืมรดน้ำ
เพราะคิดว่า "รากต้นไม้" ของกันและกัน จะช่วยไว้ได้
แต่สุดท้าย ทุกคนก็แห้งเหี่ยวตายไปด้วยกัน
.
การทำดีกับคนนอกบ้าน อาจเป็นแค่ต้องการ "บารมี" และ "ผลประโยชน์ทับซ้อน" นะครับ
.
ซึ่งจริง ๆ เราก็ไม่รู้ว่า "บารมี" และ "ผลประโยชน์ทับซ้อน"
มันจะสำคัญจริง ๆ กับตัวของเรา หรือเปล่า เราก็ยังไม่รู้เลยครับ
"พุทธศาสนา" ได้บอกไว้ว่า
บุคคลย่อมเป็นทายาทแห่งกรรมของตน
แต่ "ครอบครัว" คือ กลุ่มคนที่กรรมมาบรรจบกัน
.
การไม่ใส่ใจกัน คือ การสร้าง วิบากกรรม "ร่วม" นะครับ
.
เพราะทุกคำพูดหยาบ ทุกสายตาเย็นชา ทุกการกระทำที่ไม่ให้เกียรติ
.
คือ เมล็ดพันธุ์แห่งความทุกข์ ที่งอกเงยในจิตใจ ทั้ง "ผู้ให้" และ "ผู้รับ"
.
เป็นยังไงบ้างครับทุกท่าน
พอกระผมเขียนบทความ หาข้อมูลมาถึงตรงนี้ กระผมนี่ อึ้ง !!! เลยครับ
แล้วถ้ากระผมจะบอกคุณว่า หากแต่การทำดีกับ "คนในบ้าน" คือ "การฝึกตน" ละครับ
.
ทุกท่านคิดว่ายังไง ? ครับ
.
หาก "วัดวาอาราม" คือสถานที่ฝึก "จิต"
"บ้าน" ก็คือ ศูนย์กลางแห่งการ "ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน" ครับ
.
ลองเริ่มต้นวันใหม่ด้วย "ความเคารพสมาชิกครอบครัว" แบบง่าย ๆ
ไม่ต้องพูดศัพท์สูง แค่ยิ้ม ครับ และ ถามไถ่ด้วยความเป็นห่วงที่แท้จริง ว่า
.
แม่จ๋า วันนี้กินข้าวหรือยัง , พ่อจ๋า วันนี้อยากกินอะไร ลูกจะทำให้กิน
.
เมียจ๋า , สามีจ๋า วันนี้ฉันเครียด เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ? กันดี
.
ทีมงาน ครับ ธุรกิจโรงงานเราติดขัด พวกเราจะร่วมช่วยกันคิดเพื่อให้โรงงานไปต่อได้อย่างไร ?
โดยพูดจา ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล พูดออกมาจากความรู้สึก รัก และ เป็นห่วงซึ่งกันและกัน จากใจจริง ครับ
.
ทุกท่านว่า มันจะยากเกินไปมั้ยครับ ถ้าเราจะพูดกับ "คนในบ้าน" ด้วยพื้นฐานของ ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
.
เมื่อโกรธ ก็ให้นึกถึงคำสอนเรื่อง ขันติ (ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ)
.
เพราะวันที่พวกเขาจากไป สิ่งที่เหลือ ก็คือ ความทรงจำที่เราปลูกฝังไว้ นั้นแหละครับ
หลายต่อ หลายคน นะครับ ที่มาร้องไห้ต่อหน้า "ศพ" ไม่มีโอกาสได้พา "ศพ" นั้นไป ที่ชอบ ที่ชอบ
.
พวกเรา เสียเวลา จากเมฆ หมอก แห่งม่านของ "อวิชชา" (ความไม่รู้) กันมามากเท่าไหร่แล้วครับ กี่ภพ กี่ชาติ แล้ว
.
เฮ้อ !!! (ถอนหายใจครับ) อิอิ
"พระพุทธองค์" สอนให้แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์
แต่ก่อนจะรักโลกทั้งใบ "ต้องรักคนที่อยู่ห้องถัดไปให้ได้ก่อน นะครับ
.
"ครอบครัว" คือ บททดสอบสุดท้ายก่อนการหลุดพ้น
.
หากคุณผ่านสนามรบนี้ด้วยความเข้าใจ
ไม่ว่าโลกภายนอก จะโหดร้ายเพียงใด
.
คุณก็จะมี "กำลังใจ" มีทีมงานที่พร้อมจะทุ่มเท เพื่อคุณ ครับ
.
ไม่แน่นะครับ ทีมงานครอบครัวนี้ เขาอาจตายแทนเราได้เลย ครับ
เราก็จะมี สวนดอกไม้ เป็น "สรวงสวรรค์" มีสถานที่พักผ่อนย่อนใจ ในยามเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
.
แสงสว่าง ในสนามหญ้ายามเย็น กลิ่นไอของความอบอุ่น ยามได้กินข้าว พร้อมหน้า พร้อมตา
.
ไม่ว่าการงานใด ก็จะไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะคุณจะเต็มอิ่มไปด้วยกำลังใจ ครับ
ทุกปัญหาที่รุมเร้า คุณจะไม่ใช่หัวเดียวกระเทียมลีบ (คนเดียวโดดเดี่ยวไม่มีพรรคพวก , ตัวคนเดียวไม่มีญาติพี่น้อง)
.
เพราะจะมีคนคอยรับฟัง และ คอยเสริฟน้ำเย็น ๆ ให้ดื่มด่ำ อย่างชื่นใจ
การทำดีกับคนนอก คือ "การสร้างภาพ"
การทำดีกับครอบครัว คือ "การสร้างตน"
.
"บ้าน" ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่คือ ‘โรงฝึกอริยะ’ ที่แท้จริง
.
ที่นี่ "ความเงียบสงบ" สอนให้เรา "เรียนรู้ที่จะฟัง"
.
ความขัดแย้ง สอนให้เรา "เห็นกิเลส"
.
และ ความรักที่เจ็บปวด คือ บทเรียนสุดท้ายก่อนจะละทิ้งตัวตน
.
จงรัก "ครอบครัว" ให้เหมือนรัก "ตัวเอง" หรือรัก "พระพุทธเจ้า" นะครับ
เพราะในสายตา มุมมองของธรรมะ
.
- พ่อแม่ คือ พระโพธิสัตว์
- คู่สมรส คือ ครูฝึกชั้นสูง และ
- ลูก คือ ทูตแห่งกรรมที่คอยมาเตือนสติ ว่า เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก
.
การทำดีกับ "ครอบครัว" จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ ครับ
แต่คือการ "บูชาพระพุทธเจ้าที่มีชีวิต”
.
เพราะบ้าน คือ สถานที่ทดสอบ "สัจธรรม" สูงสุดว่า
"เรารักผู้อื่นจริง หรือ แค่สร้างภาพ "
.
การทำดีที่แท้จริง ต้องเริ่มจาก
"การเป็นคนดีในบ้านให้ได้ก่อนนะครับ ก่อนที่จะไปเป็นคนดีของสังคม"
เพราะ "ครอบครัว" คือ "ด่านทดสอบแรก แห่งความเป็นพระโพธิสัตว์"
.
ที่สอนให้เรารู้ว่า "การให้ที่ยากที่สุด ไม่ใช่การให้เงินทองพันล้าน
.
แต่คือ "การให้อภัย" คนในบ้านด้วยหัวใจ ที่ไร้เงื่อนไข
พุทธดำรัส ได้กล่าวไว้ว่า
.
"ดูก่อนคหบดี ผู้ใดทำร้ายคนในบ้าน
เขากำลังขุดหลุมศพ ทางจิตวิญญาณ
.
แต่ผู้ใด ฝึกตนกับ "ครอบครัว" ได้
ผู้นั้น คือ อรหันต์ผู้ไม่ต้องบวช
.
ผู้ใดทำดีกับคนทั้งผอง แต่ทำร้าย บิดา - มารดา
ผู้นั้น เปรียบประดุจ ปลูกสวนดอกไม้
รดน้ำพรวนดิน แต่ทิ้งรากแก้วให้แห้งตาย ครับ
.
ความดีทั้งปวงย่อมไร้ค่า
เพราะต้นไม้แห่งกุศล
ต้องหยั่งรากลึก ในดินแห่งครอบครัวก่อน
จึงจะแผ่ กิ่ง ก้าน ใบ ไปช่วยเหลือโลกภายนอกได้
.
สวัสดีครับ
#ครอบครัว , #พ่อแม่ , #ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา
โฆษณา