Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
23 มี.ค. เวลา 12:00 • ธุรกิจ
วางแผนภาษี Influencer จากรายได้ 4 ประเภท
Influencer จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุนสูง อาศัยความรู้ความสามารถของตนเองเป็นสำคัญ เนื่องจาก Influencer ทำงานเป็นอิสระ ลักษณะเงินได้จึงเข้าข่ายอยู่ 2 มาตรา คือ มาตรา 40 ( 2 ) และมาตรา 40( 8 ) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
🪙มาตรา 40 ( 2 )
เป็นลักษณะงานที่มีค่าใช้จ่ายน้อย ไม่มีการจัดตั้งเป็นสำนักงาน อาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในอันที่จะก่อให้เกิดเงินได้ และไม่มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน
🪙มาตรา 40 ( 8 )
เป็นลักษณะงานที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีการจัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ มีการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และมีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน
จากลักษณะที่แตกต่างดังกล่าว เราก็สามารถวิเคราะห์รายได้ของ Influencer ซึ่งสามารถแบ่งคร่าวๆ เป็น 4 อย่าง ดังนี้
➡️1. รายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากแพลตฟอร์มต่างๆ
รายได้นี้ถือเป็นเงินได้มาตรา 40 ( 8 ) หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงเท่านั้น (หักอัตราเหมาไม่ได้) และเนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นรายได้จากการขายสินนค้าและบริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
➡️2. รายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า
เป็นรายได้ทำนอง “รับจ้างทำงานให้” ดังนั้น
ถ้าทำคนเดียว อาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ ถือเป็นมาตรา 40 ( 2 ) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
ถ้าทำเป็นรูปธุรกิจ มีสำนักงาน มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน มีการจ้างพนักงาน มีการลงทุน ถือเป็นมาตรา 40( 8 ) หักค่าใช้จ่ายตามจริง
➡️3. รายได้จากการถูกจ้างให้ออก Event
ถ้าทำคนเดียว อาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ ถือเป็นมาตรา 40 ( 2 ) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
ถ้าทำเป็นรูปแบบธุรกิจ มีสำนักงาน มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน มีการจ้างงาน มีการลงทุน ถือเป็นมาตรา 40 ( 8 ) หักค่าใช้จ่ายตามจริง
ถ้าออก Event ในลักษณะ นักร้อง นักแสดง ถือเป็นมาตรา 40 ( 8 ) หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือแบบเหมา 40-60% ไม่เกิน 600,000 บาท
➡️4. รายได้จากการขายสินค้าและบริการ
เป็นมาตรา 40 ( 8 ) หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือแบบเหมา 60%
รายได้ข้อ 2-4 เป็นรายได้จากการขายสินค้าและบริการ หากเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หาก Influencer สามารถเปลี่ยนเงินได้ของตนเองมาในรูปธุรกิจเป็นเงินได้ มาตรา 40 ( 8 ) ได้ ก็จะสามารถเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายได้ ขณะเดียวกันก็ควรเก็บเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน เพื่อจะได้พิจารณาว่าจะหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือหักแบบเหมาดี และใช้กลยุทธ์เพิ่มค่าลดหย่อนเสริมจะช่วยให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้น
อ้างอิง: หนังสือ "รู้งี้ ไม่ถูกเรียกภาษีย้อนหลัง" เขียนโดย สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP
#aomMONEY #วางแผนภาษี #Influencer #วางแผนการเงิน
30 บันทึก
23
21
30
23
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย