“ไม่มีอาหารกลางวันฟรี” หรือ “There’s no such thing as a free lunch” คือประโยคอมตะทางเศรษฐศาสตร์ที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกนิยมพูดกัน วลีนี้เริ่มต้นในอเมริกาช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จากร้านอาหารและบาร์ที่แข่งขันกันดึงลูกค้า ด้วยการโฆษณาว่า "Free Lunch" หรือ “อาหารกลางวันฟรี”
ย้อนกลับไปในปี 1873 หนังสือพิมพ์ Columbia Daily Phoenix ยังเคยเขียนถึง "Free Lunch" ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่แพงที่สุด: "One of the most expensive things in this city—Free lunch." สะท้อนความจริงอันเจ็บปวดว่า "ของฟรี" อาจเป็นสิ่งที่มีราคาสูงที่สุด โดยที่เรามองไม่เห็น
กว่า 100 ปีต่อมา มิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล หยิบวลีนี้มาตอกย้ำในหนังสือ "There’s No Such Thing as a Free Lunch" (1975) อธิบายว่า สิ่งที่เราได้รับมาโดยที่คิดว่าไม่เสียเงิน มักจะมีคนอื่น หรือแม้แต่ตัวเราเอง ต้องจ่ายในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ
เพราะในโลกนี้ ไม่มีของฟรีจริงๆ ไม่ว่าคนหรือสังคมก็ไม่มีทางได้ "บางสิ่งโดยไม่ต้องแลกอะไรเลย" (in reality, a person or a society cannot get "something for nothing")