เมื่อความตายพูดได้ กับเทศกาล Death Fest 2025

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในชีวิตคงหนีไม่พ้น #ความตาย หลายคนจึงปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา อ้างว่า..อัปมงคลบ้าง ไม่ควรพูดถึงบ้าง เดี๋ยวจะโชคร้ายนะ หือ? แต่....ไม่ว่าคุณจะพยายามหนี หรือปฏิเสธอย่างไร ชีวิตกับความตายก็ยังเป็นของคู่กันเสมอ ตรงกันข้าม..การหลีกเลี่ยงที่จะคิดหรือพูดถึง อาจเป็นความประมาทอย่างยิ่งในชีวิตของคน คนหนึ่งก็เป็นได้
สไลด์ที่ 1. - 4.
1. ชีวิตที่มีความหมาย... คือชีวิตแบบไหน? : The Garden of Life
2. เวลาของคนเราไม่เท่ากัน? คุณคิดว่าคุณมีเวลาในชีวิตเท่าไหร่ 80 ปี 50 ปี หรือกี่ปี...?
3. - 4. บูธจัดแสดงของสุริยาหีบศพ
เย็นวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568 ผมมีโอกาสเยี่ยมชม “Death Fest 2025 : Better Living, Better Leaving. เพื่อการเป็นอยู่ที่มีความหมาย และวาระสุดท้ายที่ดีที่สุด” เทศกาลแห่งความตายที่รวบรวมองค์ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับความตายครบวงจร ตั้งแต่การดูแลผู้สูงวัย ดูแลความเจ็บป่วยไปจนถึงการป่วยระยะท้าย การเตรียมตัวเพื่อการจากไป การจัดการความตาย หากคุณอยากตายดี จะตายอย่างไร
จัดโดยเครือข่ายพันธมิตร Peaceful Death, The Cloud และ ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ร่วมกับ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ), สภากาชาดไทย, กรมการแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ชีวามิตร, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ)
สไลด์ที่ 5. - 7.
5. เวทีเสวนา วิชา : พิธีศพแต่ละศาสนา เริ่มเวลา : 18.30 - 19.30 น. วันศุกร์ที่ 21 มี.ค. 2568
6. คุณได้ออกแบบการเป็นอยู่ที่มีความหมาย และวาระสุดท้ายที่ดีที่สุดของคุณไว้แล้วหรือยัง?
7. Before Deadline เพราะมีความตาย เราจึงพบความหมายของชีวิต
เราทุกคนต่างรับรู้ว่า “มีความตายเกิดขึ้นทุกวัน” กับคนที่เราไม่รู้จัก กับคนใกล้ชิด หรือวันหนึ่ง...จะต้องเกิดขึ้นกับตัวเราอย่างแน่นอน ในเมื่อความตายคือข้อเท็จจริงของชีวิต ป่วยการที่จะปฏิเสธ จึงควรถูกพูดถึงได้อย่างเป็นปกติและเป็นสาธารณะได้แล้ว
8. ถ่ายกับพ่อเม้ง (Prasit Vitayasamrit) แห่ง “ชูใจ กะ กัลยาณมิตร” หนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมจัดการ
เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากตายร้าย ใช่ไหม? แต่...ใครจะรู้ได้ว่า...เราจะตายอย่างไร “ดี” หรือ “ร้าย” การให้โอกาสตนเองได้เรียนรู้ วางแผนล่วงหน้าก่อนตายและหลังจากตายไปแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ควร ใส่ใจ คำนึงถึงและไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป เพื่อให้การจากไปได้ถูกไตร่ตรอง และวางแผนไว้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
สไลด์ที่ 9. - 11.
9. ได้โอกาสทำบัตรบริจาคอวัยวะเพิ่มอีก 1 ใบ หลังจากได้บริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ กับบริจาคดวงตาไปแล้วตั้งแต่ปี 2562 แต่...ไม่รู้ว่าตอนตายจะได้ถูกใช้จริงๆ ไหม เงื่อนไขคือ (หากบริจาคอวัยวะ) ต้องตายก่อนอายุ 65 ปี มีอวัยวะครบสมบูรณ์ (ถ้าตายด้วยอุบัติเหตุ แขนไปทาง ขาไปทาง หมดสิทธิ์นะ) ต้องไม่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง ควรตายในโรงพยาบาล (เพราะอวัยวะจะถูกส่งต่อได้ทันที) และยังมีเงื่อนไขอีกหลายๆ ข้อ ไม่เป็นไรทำทิ้งๆ ไว้ก่อน จะได้หรือไม่ได้ อย่างที่ตั้งใจมั้ย?...ช่างมัน
10. บูธ “ศูนย์ดวงตาและรับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย”
11. ตายดี..วิถีพุทธ บูธมูลนิธิสันติภาวัน
เทศกาลนี้จัดขึ้น 3 วัน วันสุดท้ายคือวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2568 ที่ IMPACT Exhibition Hall 6 เมืองทองธานี กรุงเทพฯ เวลา 10.00 - 20.00 น.
สไลด์ที่ 12. - 14.
12. - 13. บูธ TEST DIE โดย สุริยาหีบศพ ให้ผู้ชมงานทดลองลงไปนอนในโลงศพจริงๆ มีหลากหลายรูปแบบ ผมเห็นมีหลายคนทดลอง ถ่ายรูปกันสนุก
14. บูธ TEST DIE โดย สุริยาหีบศพ หีบโลงเย็น ตกแต่งด้วยลายไทย
สไลด์ที่ 15. - 16.
15. น่าจะเป็นโลงที่ดูวัยรุ่นที่สุดแล้ว ออกแบบโดยศิลปิน TRK (Thun Trk Puchpen)
16. บูธ สำนักงานออกแบบความตาย “อมตะ”
สไลด์ที่ 17. - 18.
17. บูธรับจัดงานศพ
18. บูธพวงหรีดรักษ์โลก และยังมีอีกหลายๆ บูธ จัดเต็ม Hall 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา