Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wichanchai
•
ติดตาม
23 มี.ค. เวลา 07:56 • ธุรกิจ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Virtual 360 กับกลยุทธ์การขายที่อยู่อาศัย
อย่างที่เราทราบกันดีว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ภาครัฐในขณะนั้นจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมสถานการณ์ ส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจทุกอุตสาหกรรมต่างได้รับลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าบริษัทน้อยใหญ่ และอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงคงหนีไม่พ้นภาคบริการและการท่องเที่ยว
จากการศึกษาของ TDRI ธุรกิจกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวประเภทแรก ได้แก่ภาคบริการ ธุรกิจโรงแรม สายการบิน สปา ร้านตัดผม ผับและบาร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจตัวแทนจองตั๋ว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และธุรกิจรองลงมาคือ ร้านอาหาร ธุรกิจก่อสร้าง การขนส่งสาธารณะ สถานีบริการเชื้อเพลิง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเนื่องด้วยลักษณะพิเศษของอสังหาริมทรัพย์ทั้งมูลค่าที่แพงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น มีเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ สภาพคล่องต่ำเมื่อเทียบกับทรัพย์สินอื่น
อีกทั้งมูลค่าของตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังมีขนาดประมาณ 5% ของมูลค่า GDP ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะจำทุกท่านไปย้อนดูการปรับกลยุทธ์ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา
(https://www.scb.co.th/en/personal-banking/stories/business-maker/thailand-after-covid-ep1.html)
ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ได้วิวัฒนากรไปอย่างรวดเร็ว เดิมทีเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือ VR มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเกิดจากงานวิจัยของรัฐบาล ที่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับด้านการทหารและการจำลองในการบินเสมือนจริงความคิดเรื่องเทคโนโลยีความจริงเสมือนถูกนำเสนอโดย Ivan Sutherland นักวิจัยด้านเทคโนโลยีความจริงเสมือน ในปี ค.ศ. 1965
Ivan ให้คำนิยามของ Virtual Reality ว่าเป็นการสร้างโลก (เสมือน) ขึ้นมาผ่านการสร้างวัตถุ เช่น หน้าต่างที่มีความสมจริงที่สามารถสร้างเสียงที่มีความสมจริง สร้างความรู้สึกที่มีความสมจริงและตอบสนองต่อการกระทำของผู้ชมอย่างสมจริง และเทคโนโลยีดังกล่าวมีการเติบโต จนเกิดการนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ผ่านทางหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนหรือผ่านทางเครื่องฉายภาพต่าง ๆ
ปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อข้อมูลและวิธีการแสดงผลของการสื่อสารของเทคโนโลยี ระบบ VR ไปใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ การเรียนการสอน การฝึกและทดลองขับยานพาหนะ การศึกษา การแพทย์การท่องเที่ยวการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด การรับชมภาพยนตร์แบบ VR ตลอดจนการตลาดแบบ Immersive ที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างออนไลน์หรือออฟไลน์
เป็นการผสานการตลาดระหว่างแพลตฟอร์มด้วยการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำโดยการทำให้แก่ผู้บริโภค สร้างเหตุการณ์และทำให้ดำดิ่งอยู่กับประสบการณ์นั้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่และมุมมองที่ต่างไปจากเดิม
(https://abrillianttribe.com/virtual-reality-in-real-estate-revolutionizing-property-showings/)
สำหรับการนำเทคโนโลยีสร้างภาพเสมือนมาประยุกต์ใช้กับการขายของอสังหาริมทรัพย์นั้น เราอาจจะพบเห็นกันได้ทั่วไปเพราะผู้พัฒนาย่อมสร้างภาพจำลองและบรรยากาศที่ช่วยสร้างความน่าอยู่น่าอาศัยให้แก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีความจริงเสมือน VR ยังค่อนข้างมีข้อจำกัดตรงที่ผู้ใช้งานต้องมีอุปกรณ์ใช้งานรองรับระบบดังกล่าว เราจึงมักจะเจอภาพจำลองที่สร้างขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ยังไม่สามารถตอบโต้กับเราได้อย่างสมบูรณ์
เมื่อย้อนกลับไปช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างรุ่นแรง KKP Research รายงานว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบไม่ต่างอะไรจากภาคการท่องเที่ยว โดยในปี พ.ศ. 2563 มีที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมมีจำนวนยูนิตเปิดใหม่ ลดลงจากปีก่อนหน้าราว 38,000 หน่วย หรือคิดเป็น ลดลง 60 % ซึ่งจากการเปิดโครงการใหม่ลดลงจึงส่งผลกระทบไปยังภาควัสดุก่อสร้างและการจ้างงานที่ลดน้อยลงตาม เราจึงมักพบเห็นการกระตุ้นการขายจากผู้ประกอบการและมาตรการช่วยเหลือจากรัฐต่างๆ มากมาย
เมื่อมาโฟกัสกลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการ เราต่างมักจะเห็นการปรับตัวของผู้พัฒนาทางด้านการตลาดมากมาย โดยเฉพาะการปรับตัวภายใต้เงื่อนไข Social Distance หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งตรงนี้เองเทคโนโลยี VR ได้เข้ามาช่วยแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว แต่ก็ยังไม่หมดซะทีเดียว เนื่องจากการจะให้บริการ VR เต็มรูปแบบนั้นจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่รองรับระบบ แต่ก็มีผู้พัฒนาบางรายที่แก้ข้อจำกัดดังกล่าว นั้นได้แก่ ANANDA
(https://www.youtube.com/watch?v=DdEEjtp8SzY)
ANANDA นำเทคโนโลยี VR มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการขายและการสื่อสารการตลาด น้ันคือ โครงการ Ananda 360 Virtual Tour โดยเป็นการพัฒนาเว็บไซต์และการนำเสนอห้องตัวอย่างผ่านรูปแบบ 360 องศา และสิ่งที่เหนือกว่าเจ้าอื่น คือ มีบริการสนทนาสดกับเจ้าหน้าที่พัฒนาการขายควบคู่กันไปได้ด้วยเพื่ออธิบาย ถามตอบกันได้อย่าง Realtime
สอดคล้องกับการศึกษาของภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล ที่พบว่าช่วงโควิด-19 บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการใช้กลยุทธ์การปรับตัว 5 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการวางแผน, ด้านการตลาด, ด้านการเงิน, ด้านการทำงานองค์กร และด้านการป้องกันโควิด-19 ซึ่งมีการ ใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดกว่าร้อยละ 50 ของการเลือกใช้กลยุทธ์ทั้งหมด ซึ่งกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ทาง ANANDA เลือกใช้ สอดคล้องกับ ส่วนประสมทางการตลาด(Marketing mix) ในด้าน Place และ Promotion
บริษัทเลือกที่จะปรับช่องทางการขายจากเดิมลูกค้าต้องไปที่ห้องตัวอย่าง หรือที่ Site แต่เมื่อมีสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ประกอบกับมาตรการเว้นระยะห่างในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้ บริษัทเลือกจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Online และยังอาศัยเทคโนโลยี VR มาช่วยสร้างภาพในรูปแบบ 360 อีกทั้งยังสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นด้วยการเพิ่ม Function การสนทนาถามตอบกับเจ้าหน้าที่ Realtime อีกด้วย
แม้จะยังต้องใช้คนจริง ๆ เข้ามาช่วยแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ก็นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นด้วยดีสำหรับการทำการตลอดรูปแบบ Immersive อย่างหนึ่ง และยังพบว่าการนำเทคโนโลยีดังกล่าว ANANDA ยังคงเลือกที่จะใช้มาจวบจนปัจจุบัน ภายใต้รูปแบบ ANANDA 360 vr live tour ซึ่งครอบคลุมคอนโดมิเนียมทุก Segment และยังรวมไปถึงที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบบางโครงการ
การปรับตัวภายใต้สถานการณ์อันยากที่จะคาดเดา พร้อมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าจะพอให้ท่านผู้อ่านเรียนรู้จากบทความข้างต้น ในอนาคตคาดว่าเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ โดยความจริงเสมือน (VR) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีผลกระทบอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถสำรวจทรัพย์สินได้อย่างล้ำลึก และช่วยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาการขายได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ
ในขณะที่การเกิดขึ้นของ VR ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ VR จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมจำลองที่เสมือนจริง ทำให้ผู้ใช้สามารถสำรวจทรัพย์สินได้ดีกว่าการใช้ภาพถ่ายหรือวิดีโอแบบเดิมๆ ไม่ใช่แค่เครื่องมือเทคโนโลยีสำหรับคนไฮเทคอีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับบริษัทผู้พัฒนา ทำให้ผู้ซื้อสามารถเข้าชมทรัพย์สินจากที่บ้านได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง อีกทั้งยังสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างแบบจำลองและปรับแต่งพื้นที่ อาทิ การจัดเฟอร์นิเจอร์ สีผนัง อย่าง Realtime
ตลอดจนพัฒนาการประยุกต์ใช้ควบคู่กับ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับพฤติกรรมผู้ใช้งานเพื่อปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ทีนี้
วิชาญชัย บัวทรัพย์
*บทความนี้จัดทำขึ้นโดยไม่ได้แสวงหากำไร และเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2506620 การบริหารการตลาดด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายการอ้างอิง
https://tdri.or.th/2020/04/covid-21/
https://computerhistory.org/blog/the-remarkable-ivan-sutherland/
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4119/
https://advicecenter.kkpfg.com/th/business-talk/covid-19-impact-on-real-estate
blockdit
ธุรกิจ
การลงทุน
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย