23 มี.ค. เวลา 13:41

บันทึก Systems Thinking Workshop กับอาจารย์ David Peter Stroh...

ผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากความตั้งใจดี กับการคิดเชิงระบบ
ผ่านพ้นไปอย่างมีพลัง กับ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ การคิดเชิงระบบ กับการจัดการปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Systems Thinking for Climate Action
ดีใจที่ได้มีโอกาสจัดงานนี้ร่วมกับอาจารย์เดวิด ปีเตอร์ สโตรห์ David Peter Stroh ผู้เขียนหนังสือ Systems Thinking for Social Change หนังสือที่ผู้นำและนักคิดเชิงระบบทั่วโลกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหาสังคมในบริบทต่างๆ ได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งภรรยาของอาจารย์ ดร. มาริลีน พอล Marilyn Paul, Ph.D. และหนุ่มน้อยโจนาธาน ลูกของอาจารย์
สัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเป้าหมายให้เกิดการนำแนวคิดเรื่องการคิดเชิงระบบมาแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้นำตระหนักว่าอาจเกิดผลกระทบที่เราไม่คาดคิดจากความตั้งใจดีในการแก้ไขปัญหา
การนำ Systems Thinking มาใช้ช่วยให้เรามีโอกาสหลุดจากวังวนของ "การแก้ปัญหาเดิมซ้ำๆ" และเปลี่ยนไปสู่ "การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เพื่อแก้ปัญหาอย่างแท้จริง"
- บทเรียนสำคัญจากการคิดเชิงระบบ Systems Thinking พอจะสรุปได้ดังนี้
• ปัญหาที่ดูเหมือนจะมีวิธีแก้ง่ายๆ มักจะมีผลกระทบซับซ้อน
• ทางแก้ที่ดีต้องไม่เน้นแค่ผลลัพธ์ระยะสั้น แต่ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ระยะยาว
• ต้องมองหาต้นตอของปัญหาแทนที่จะรีบแก้ที่อาการของปัญหา
• ต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในระบบ และผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต
การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ได้ผล(ในระยะสั้น) มักได้รับความนิยม และเพราะได้ตอบโจทย์ในระยะสั้น วิธีดังกล่าวจึงมักเป็นทางเลือกแรก เสมือนเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่มี กลายเป็นเสพติดวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น ผู้นำควรพยายามหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาเพื่อแก้ต้นเหตุของปัญหา ที่อาจไม่เป็นที่นิยม Not popular เพราะเห็นผลได้ช้ากว่า
- การเสพติดวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น (Addicted Solutions) กับการคิดเชิงระบบ
 
เมื่อเผชิญกับปัญหา เรามักมองหาวิธีแก้ไขที่ให้ผลลัพธ์รวดเร็ว แต่บางครั้งวิธีการเหล่านี้กลับกลายเป็น "กับดัก" เพราะแม้จะช่วยบรรเทาปัญหาในระยะสั้นและเป็นที่นิยม แต่ในระยะยาวอาจสร้างผลกระทบที่รุนแรงขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ (unintended consequences)
แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับ 2 รูปแบบหลักของ systems archetypes:
1. Shifting the Burden การผลักภาระ
- เป็นทุกสถานการณ์ที่มีทั้ง วิธีแก้ปัญหาชั่วคราว และ วิธีแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่คนมักเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาชั่วคราวเพราะให้ผลลัพธ์เร็วกว่า
- วิธีแก้ปัญหาชั่วคราวทำให้ดูเหมือนปัญหาหายไป แต่ในระยะยาวปัญหาเดิมยังคงอยู่ และอาจรุนแรงขึ้น
2. Fixes That Fail การแก้ไขที่ล้มเหลว
- เกิดขึ้นเมื่อเราพยายามแก้ปัญหาด้วยทางออกที่ดูเหมือนจะได้ผล แต่สุดท้ายกลับสร้างผลข้างเคียงที่เลวร้ายกว่าเดิม ผลกระทบที่ไม่ได้คาดหวัง Unintended Consequences
กับดักของการเสพติดของวิธีการแก้ปัญหา (ระยะสั้น) Addicted Solutions
- ให้ผลเร็ว แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ → คนมักเลือกใช้ เพราะดูเหมือนปัญหาหายไปเร็ว
- ยิ่งใช้ ยิ่งต้องใช้มากขึ้น → เหมือนเสพติด ต้องพึ่งพาวิธีเดิม ๆ ตลอด
- สร้างผลกระทบระยะยาวที่แย่กว่าเดิม → กลายเป็นปัญหาวงจรซ้ำซ้อน
ตัวอย่างของ Addicted Solutions และผลกระทบระยะยาว
1. การใช้ยาแก้ปวดแทนการรักษาสุขภาพ
- ระยะสั้น: ใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดอาการ
- ระยะยาว: เนื่องจากไม่ได้แก้ไขต้นตอของปัญหาสุขภาพ → ต้องใช้ยามากขึ้นเรื่อย ๆ → อาจติดยา → สุขภาพแย่ลง
2. การใช้สารเคมีของเกษตรกรเพื่อฆ่าแมลง
- ระยะสั้น: แมลงศัตรูพืชลดลง
- ระยะยาว: แมลงพัฒนาภูมิต้านทาน → ต้องใช้สารเคมีแรงขึ้น → ระบบนิเวศเสียหาย
3. การสร้างเรือนจำเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม
- ระยะสั้น: อัตราอาชญากรรมดูเหมือนลดลง
- ระยะยาว: ไม่ได้แก้ปัญหาต้นเหตุ เช่น ความยากจนและการศึกษา → อาชญากรรมยังคงเกิดขึ้น → ต้องสร้างเรือนจำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
--- แนวทางหลุดพ้นจากกับดักนี้ด้วยการคิดเชิงระบบ
- มองให้ไกลกว่าแค่ผลลัพธ์ระยะสั้น → อาจถามตัวเองว่า “วิธีนี้จะส่งผลอะไรใน 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี?”
- มองหา "รากของปัญหา" แทนที่จะรักษาแค่อาการ → ปัญหาจริง ๆ อยู่ที่ไหน?
- ใช้แนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน → แทนที่จะเลือก "ยาแก้ปวด" ลองพัฒนา "สุขภาพที่แข็งแรง"
- คิดเชิงระบบและวิเคราะห์ Feedback Loops → วิธีแก้ไขปัญหาจะส่งผลกระทบอะไรต่อไปบ้าง?
#การคิดเชิงระบบ
#SystemsThinking
#UnintendedConsequences
#ผลกระทบที่ไม่ได้คาดหวัง
#ห้องปฏิบัติการทางสังคม
#SocialLabThailand
#มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย
#สสส.
#สภาลมหายใจกรุงเทพฯ
โฆษณา