24 มี.ค. เวลา 16:27 • สุขภาพ

เอไอ มีผลอารมณ์มนุษย์ได้แค่ไหน

หากใครเกิดทันสุดยอด chatbot กวนช่วงล่างอย่าง simsimi (ยินดีด้วยครับ คุณแก่555) เราจะเห็นบทบาทที่สำคัญที่แม้แต่ Ai ยุคนี้ก็ยังโดดเด่นไม่ถึง คือการเข้ามามีบทบาทต่ออารมณ์ของมนุษย์โดยตรง ในขณะที่ Ai ปัจจุบันเน้นเรื่องงานและข้อมูลเป็นหลัก
ล่าสุดมีการศึกษาที่ระบุว่า การใช้แชทบอทเชิงอารมณ์ อาจเป็นอนาคตไม่ไกล ของแวดวงการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านจิตวิทยา ที่ Ai อาจเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
นักวิจัยจาก MIT Media Lab และ OpenAI ได้ทำการศึกษาหลายชุดเพื่อตรวจสอบว่า "การใช้ AI ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์" (affective use) สามารถส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้ใช้อย่างไร วิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากว่า 40 ล้านครั้งของ ChatGPT ผ่านระบบอัตโนมัติที่ไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ MIT ยังทำการทดลองแบบควบคุม (RCT: Randomized Controlled Trial) โดยมีผู้เข้าร่วมเกือบ 1,000 คนที่ใช้ ChatGPT เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ศึกษาผลกระทบของคุณสมบัติแพลตฟอร์ม (เช่น โหมดเสียงและรูปแบบการใช้) ต่อภาวะทางจิตสังคมของผู้ใช้ เช่น ความเหงา การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การพึ่งพาทางอารมณ์ และการใช้ AI ในลักษณะที่อาจเป็นปัญหา
แม้ว่าส่วนใหญ่ของการสนทนาบนแพลตฟอร์มไม่มีสัญญาณของการมีอารมณ์ร่วม เช่น ความเห็นอกเห็นใจหรือการสนับสนุน การมีปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์กับ ChatGPT เป็นกรณีที่พบได้น้อย
และแม้ในกลุ่มผู้ใช้ที่ใช้ ChatGPT บ่อยมาก แต่การแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจนพบได้ในกลุ่มผู้ใช้จำนวนน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ใช้ Advanced Voice Mode การใช้งาน Text หรือแชตบอตปกติ ให้ผลลัพธ์ที่รุนแรงกว่าการใช้เสียง เพราะการใช้ Text นั้นคนสามารถพูดในเรื่องเชิงอารมณ์หรือความเป็นส่วนตัวได้มากกว่าการสั่งการรูปแบบเสียง เนื่องจากอาจมีคนรอบข้างได้ยิน
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการทดสอบใน ChatGPT เพียงตัวเดียวเท่านั้น ไม่แน่เราอาจเจอข้อมูลที่น่าสนใจ หากมีการเปรียบเทียบบริบทที่คล้ายกันกับ Ai ตัวอื่นๆ
นอกจากนี้ยังขาด Peer review และใช้เพียงภาษาอังกฤษเท่านั้น ทำให้การสื่อสารอาจยังมีข้อจำกัด
แต่หากมีการศึกษาทดลองในลำดับต่อไป ไม่แน่ว่าเราอาจมี Ai ที่ใช้ในเชิงจิตบำบัดได้จริง และสร้างประโยชน์แก่ผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลก
อ้างอิง
โฆษณา