24 มี.ค. เวลา 05:13 • ท่องเที่ยว

Egypt (07) The Great Pyramid of Giza : มหัศจรรย์ทางวิศวกรรมของอียิปต์โบราณ

พีระมิด เป็นสถาปัตยกรรมอียิปต์โบราณที่สำคัญและโดดเด่นที่สุด .. พีระมิดอียิปต์ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อนยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมจนถึงทุกวันนี้
.. เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงทักษะและความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกอียิปต์โบราณ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างสามเหลี่ยมลาดเอียงที่เรียบไม่ได้ปรากฏขึ้นในวันหนึ่ง แต่การออกแบบได้วิวัฒนาการมาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างที่แตกต่างกันหลายพันปีในภูมิภาคนี้
พีระมิดในประเทศอียิปต์ .. เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ
ชาวอียิปต์ในสมัยโบราณมีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย … การสร้างพีระมิด ก็เพื่อเป็นสุสานและที่ฝังพระศพของฟาโรห์อียิปต์โบราณ (แต่ไม่ใช่ฟาโรห์ทุกพระองค์จะสร้างพีรามิดเป็นสุสาน เช่นฟาโรห์ในสมัยอาณาจักรใหม่ ก็ได้มีการสร้างสุสานแบบเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปในหน้าผาที่เรียกว่า “หุบผากษัตริย์”)
… และเพื่อให้แน่ใจว่ากษัตริย์ของพวกเขาจะทรงมีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับโลกหน้า จึงได้ฝังทรัพย์สินและสิ่งของส่วนพระองค์ไปพร้อมกัน
การสร้างพีรามิดในอียิปต์ เป็นสถาปัตยกรรมชั้นสุดยอดในสมัยอาณาจักรเก่า (Old Kingdom) กับอาณาจักรกลาง (Middle Kingdom) ทำด้วยการนำหินมามาเรียงๆกันให้สูงขึ้นไปเป็นรูปทรงพีรามิด ..
ช่วงยุคทองของการสร้างพีรามิด คือ ในช่วงของราชวงศ์ที่ 4 ที่มีการสร้างพีรามิดขนาดใหญ่โตมหึมาหลายองค์ด้วยกันในบริเวณที่ราบสูงกีซ่า
พีระมิดเห่งเมืองกีซ่า (The Great Pyramid of Giza)
พีระมิดเห่งเมืองกีซ่า .. เป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมอียิปต์โบราณ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เป็นที่บรรจุพระบรมศพของกษัตริย์คีออปส์ (CHEOPS) หรือ คูฟู ซึ่งพระองค์เป็นผู้สร้างพีรามิดนี้ขึ้นเอง เมื่อก่อนคริสตกาลประมาณ 2,500 ปี นับอายุจนถึงปัจจุบันก็กว่า 5,000 ปี
พีระมิดเห่งเมืองกีซ่า ตั้งอยู่ที่กลางทะเลทราย .. เดิมสูง 481.4 ฟุต แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 450 ฟุต ฐานกว้าง 768 ฟุต ใช้หินทรายตัดเป็นแท่งรูปสามเหลี่ยมหนักประมาณก้อนละ 2 ตันครึ่ง บางก้อนหนักถึง 16 ตัน
หินเหล่านี้ ถูกเอามาซ้อนกันขึ้นไปเป็นทรงกรวย เชื่อกันว่าพีระมิดองค์นี้จะทนแดดทนฝนอยู่ได้อีกนานกว่า 5,000 ปี และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของยุคโบราณสิ่งเดียวเท่านั้นที่มีอายุยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน
การเข้าชมภายในปิรามิดแห่งคีออปส์ จำเป็นต้องซื้อทางเข้าพิเศษ ซึ่งจะเพิ่มให้กับทางเข้าทั่วไปของปิรามิดแห่งกีซา ...
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือตั๋วเข้าชมปิรามิดแห่งกีออปส์มีจำนวนจำกัดและอาจขายหมดอย่างรวดเร็ว ดังนั้นไกด์ของเราจึงดำเนินการซื้อล่วงหน้า
มหาพีรามิดแห่งกีซ่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่กว้างใหญ่มาก .. หากจะเดินชมด้วยตัวเองทั้งหมดก็คงทำได้ แต่แดดแรงมากและไม่มีที่ร่มให้หลบแดด
เราจึงเลือกที่จะใช้บริการนั่งบนหลังอูฐไปกันเป็นคาราวาน ซึ่งก็ได้ความรู้สึกละบรรยากาศของทะเลทรายอยู่บ้าง ..
สถานีบริการนั่งอูฐ และพาหนะอื่นๆ ซึ่งรวมถึงรถม้ารูปลักษณ์โบราณ .. สถานีบริการพาหนะเหล่านี้ไม่ได้อยู่บริเวณด้านหน้าตรงทางเข้า (ซึ่งมีส่วนดี คือ ไม่วุนวาย และไม่บดบังทิวทัศน์ของพีรามิด) เราต้องเดินตามทางเดินไปเรื่อยๆ ขึ้นเนินเตี้ยๆนิดหน่อย
ระหว่างทาง สามารถที่จะชื่นชมกับความใหญ่โตของพีรามิดได้ .. รวมถึงนึกย้อนและจินตนาการไปถึงเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมหัศจรรย์ที่เราได้เข้ามาเห็น และสัมผัสอยู่ในขณะนี้
.. หินขนาดมหึมาที่เรียงซ้อนกันจนเป็นมหาพีรามิดมีขนาดใหญ่มาก
.. น่าพิศวงถึงความสามารถของคนโบราณในการตัดหินให้ได้ขนาดที่คำนวนไว้ และการขนส่งมายังสถานที่ก่อสร้างพีรามิด
.. ทางเข้าไปชมภายในมหาพีรามิด .. เราไม่ได้เข้าไปด้านใน แต่มีภาพสเก็ตจำลองภายในคูหาพีรามิดมาให้ชม
สถานีบริการพาหนะในการเดินทางเข้าไปชมบริเวณรอบนอก
.. เราเลือกใช้บริการนั่งอูฐ ซึ่งหลังจากผู้โดยสารอยู่บนหลังสัตว์หน้าตาบ้องแบ๊วแล้ว จะมีคนคอยจูงให้อูฐเดินช้าๆ ในขณะที่เราอยู่บนหลังของมัน
การเคลื่อนตัวไปช้าๆบนหลังอูฐมีส่วนดี คือ เราได้ซึมซับภาพของความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมโบราณได้อย่างเต็มอิ่ม
.. เก็บทัศนียภาพมุมที่สูงจากพื้นดินได้สวยงาม
รวมถึงสามารถหยุดเก็บภาพประทับใจในมุมสวยๆตามที่ต้องการ .. และที่สำคัญที่สุดไม่เหนื่อยมากจากการเดินท่ามกลางความร้อนสูงที่เราไม่คุ้นเคย
พีระมิดแห่งกีซ่าประกอบด้วย
1.พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า .. สร้างสร้างในยุคอาณาจักรเก่า โดยฟาโรห์ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 4 (ราว 2600 ปี ก่อนคริสตกาล)
สร้างในแบบพีรามิดทรงแท้ (True pyramid) และมีขนาดใหญ่ และเก่าแก่ที่สุดในจำนวนพีรามิดทั้ง 3 องค์ ..
พีระมิดแห่งนี้มีขนาดของฐานยาวด้านละ 230 เมตร สูง 146.59 เมตร มีปริมาตร 2,583,283 ลบม.
ประกอบด้วยหินปูนและหินแกรนิตประมาณ 2.3 ล้านก้อน ซึ่งมีน้ำหนักระหว่าง 2 ถึง 70 ตัน หินก้อนใหญ่แต่ละก้อนได้รับการวางตำแหน่งอย่างแม่นยำ เนื่องจากปิรามิดมีระยะคลาดเคลื่อนเพียง 1 เซนติเมตรที่ฐาน และมีความเอียงไปทางทิศเหนือเพียง 1 องศาเท่านั้น
**ปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่คล้ายกันนี้สามารถทำได้โดยใช้ระบบก่อสร้างที่นำวิถีด้วยเลเซอร์เท่านั้น
การวางแนวที่แม่นยำ และทางเดินภายในที่ซับซ้อน .. ทำให้บรรดานักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีหลงใหลมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ
ว่ากันว่า .. การสร้างพีรามิดแห่งนี้ใช้เวลาทั้งหมด 30 ปี ...
โดย 10 ปีแรกเป็นการเตรียมตัดหินจาก Arabian Hills (Mugattam Hills) ที่อยู่ใกล้ตะวันออกของกรุงไคโร โดยใช้แรงงานแบ่งกันเป็นผลัด ๆ ละ 3 เดือน แต่ละผลัดใช้แรงงานกว่าแสนคน การลำเลียงหินต้องอาศัยฤดูน้ำหลาก และการขุดคูคลองเพื่อล่องหินมา …
ส่วน 20 ปีหลัง เป็นการขุดเจาะใต้ดิน สร้างตัวปิรามิดและการตกแต่งภายใน
โครงสร้างอันงดงามนี้ .. ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงทักษะและความเฉลียวฉลาดของชาวอียิปต์โบราณ
ทางเข้าเดิมของมหาพีระมิดอยู่ทางด้านเหนือ สูงจากฐานประมาณ 17 เมตร ทางเดินแคบๆ นี้นำไปสู่โถงทางเดินและห้องภายในของพีระมิด และเชื่อกันว่าได้รับการปิดผนึกอย่างระมัดระวังหลังการก่อสร้างเพื่อปกป้องห้องเก็บศพและสมบัติล้ำค่า
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงปิรามิดได้ผ่านทางอุโมงค์โจร ซึ่งเป็นทางเดินทางเลือกที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 9 อุโมงค์นี้เลี่ยงการออกแบบเดิมส่วนใหญ่และเปิดทางให้เข้าชมแกลเลอรีใหญ่และห้องของกษัตริย์
ไกด์เล่าว่า .. การก่อสร้างนั้นคาดว่าต้องใช้แรงงานคนนับพันคนเป็นเวลาประมาณ 20 ปี โดยการก่อสร้างจะเริ่มขึ้นที่ฐานโดยก่อซ้อนหินแต่ละก้อน แล้วลดหลั่นทีละชั้นสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ มีเครื่องทุ่นแรงที่ใช้หลักการเดียวกับปั้นจั่น แต่ทำจากไม้
.... หินแต่ละก้อนจะต้องคำนวณให้ได้ขนาดที่ถูกต้องตรงเป๊ะ จึงจะประกบกันแนบสนิท เมื่อถึงยอดบนสุดก็จะฉาบให้เรียบจากบนลงล่าง ด้วยหินแกรนิตบดละเอียด
สภาพในวันที่เราไปเยือน .. ยังมองเห็นว่าหินแต่ละก้อนก่อต่อกันอย่างชัดเจนทุกด้าน ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด แต่อาจะเพราะความเก่าแก่หลายพันปี หินบางส่วนจึงสึกกร่อนไปตามเวลา ผนังที่ถูกฉาบเรียบไว้ก็ร่อนหายไปหมด บางส่วนหินพังทลายลง และยอดปิรามิดก็ไม่แหลมเหมือนเดิน
พีรามิดแห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน .. มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า …
อย่างไรก็ตาม .. พีรามิดองค์นี้ก็ยังเต็มไปด้วยปริศนาที่นักโบราณคดีต่างต้องการคำตอบ ตั้งแต่วิธีการสร้างว่า ชาวอียิปต์โบราณสามารถสร้างโครงสร้างที่ทำด้วยหินขนาดมหึมาอย่างนี้ด้วยวิธีใด
ตลอดจนถึงการตามหาห้องลับซึ่งอจจะยังคงซุกซ่อนอยู่ใต้มหาพีรามิดนี้
ในปี 1923 การค้นพบห้องที่ซ่อนอยู่ภายในพีระมิดใหญ่ได้สั่นคลอนรากฐานของโบราณคดีแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากไม่เคยพบมัมมี่ในพีระมิดกิซ่าเลย การไม่มีอยู่ให้เห็นอย่างชัดเจนนี้ทำให้เกิดคำถามที่ไม่อาจปฏิเสธได้:
.. อาคารที่น่าเกรงขามเหล่านี้อาจเป็นอะไรอื่นนอกจากหลุมศพธรรมดาได้หรือไม่? นักทฤษฎีที่กล้าหาญเสนอว่าอนุสรณ์สถานเหล่านี้อาจเป็นเครื่องจักรพลังงานที่ซับซ้อนซึ่งได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนเพื่อทำหน้าที่บางอย่างที่เหนือความเข้าใจในปัจจุบันของเรา
การก่อสร้างที่ไร้ที่ติซึ่งมาพร้อมกับห้องและทางเดินที่เหมือนเขาวงกต บ่งบอกว่าชาวอียิปต์โบราณหรือบางทีอาจเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และก้าวหน้ากว่านั้นอาจมีความรู้ที่สูญหายไปจากประวัติศาสตร์
2.พีระมิดคาเฟร (Khafre) .. สุสานของฟาโรห์เคเฟร (ฟาโรห์องค์ที่ 4 ในราขวงศ์ที่ 4) โอรสของฟาโรห์คุฟู ปกครองอียิปต์ ระหว่าง 2558 - 2532 ปีก่อนคริสตกาล ฐานปิรามิดแต่ละด้านกว้าง 215.5 เมตร ความสูงเดิม 143.5 เมตร ปัจจุบันสูง 136.4 เมตร เนื่องจากส่วนล่างสึกกร่อน
ตั้งอยู่ตรงกลางของพีระมิดทั้ง 3 และสร้างอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีบางคนเข้าใจผิดว่า “พีระมิดคาเฟร” คือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า และทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี “มหาสฟิงซ์” (The Great Sphinx of Giza) หินแกะสลักขนาดมหึมาที่มักปรากฏในภาพถ่ายคู่กับพีระมิดคาเฟร
พีระมิดคาเฟรมีขนาดของฐานแต่ละด้านยาว 215 เมตร สูง 143.5 เมตร มีปริมาตร 2,211,096 ลบม.
ส่วนใหญ่คนรู้จักพีรามิดองค์นี้ในชื่อเล่นๆว่า “พีรามิดสวมหมวก” .. เพราะเมื่อมองไปยังพีรามิดองค์นี้ จะดูเหมือนว่ามีพีรามิดอีกอันที่ขนาดเล็กกว่าสวมอยู่ข้างบน
แต่แท้ที่จริงแล้วคือหินฉาบองค์พีรามิดที่ยังคงมองเห็นได้ที่บริเวณยอดของโครงสร้างนั่นเอง
3.พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) .. มีขนาดเล็กที่สุดและเก่าแก่น้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า สร้างโดยฟาร์โรห์ เมนคูเร พระราชโอรสของฟาโรห์เคเฟร และเป็นพระนัดดาของฟาโรห์คูฟุ
ปิรามิดของพระองค์เดิมสูง 65.5 เมตร ปัจจุบันคงเหลือ 62 เมตร ฐานแต่ละด้านกว้าง 105 เมตร ช่วงเวลาการปกครองอียิปต์ของฟาโรห์เมนคูเรไม่เป็นที่แน่ชัด จึงคาดการณ์ว่าการสร้างปิรามิดนี้ เสร็จสมบูรณ์ระหว่าง 2600 - 2500 ปีก่อนคริสตกาล
จากตำแหน่งการก่อสร้างทำให้คาดได้ว่า เดิมอาจตั้งใจสร้างให้มีขนาดใกล้เคียงพีระมิดคูฟู และพีระมิดคาเฟรแต่ในที่สุดก็สร้างในขนาดที่เล็กกว่า พีระมิดเมนคูเรมักปรากฏในภาพถ่ายพร้อมกับหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen's Pyramids)
นอกจากมหาพีรามิดของฟาร์โรห์แล้ว ยังมีพีรามิดขนาดเล็กในบริเวณเดียวกันด้วย .. The Queen’s Pyramid of Henutsen ซึ่งอาจจะเป็นมเหสีหรือลูกสาวของฟาร์โรห์ คูร์ฟู ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของมหาพีรามิด และถัดไปเป็นวิหารของเทวีไอซิส
Reference : ข้อความบางส่วนจาก Wikipedia
น่าสนใจที่ได้เรียนรู้ว่า .. การสร้างปิรามิดอยู่ในช่วงเวลาของราชวงศ์ที่ 4 ถึงราชวงศ์ที่ 6 .. พีรามิดขนาดเล็กยังคงถูกสร้างขึ้นมานานกว่าหนึ่งพันปี พีรามิดของพวกเขาถูกค้นพบ แต่ซากพีรามิดของคนอื่นอาจยังคงถูกฝังอยู่ใต้ทราย
เมื่อเห็นได้ชัดว่าปิรามิดไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ร่างกายมัมมี่ของกษัตริย์ แต่เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับโจรหลุมศพ ..
หลังจากนั้นกษัตริย์ก็ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังศพที่ซ่อนอยู่ในหน้าผาหิน แม้ว่าพีรามิดอันงดงามไม่ได้ปกป้องร่างของกษัตริย์อียิปต์ที่สร้างพีรามิดเหล่านี้ แต่พีระมิดก็ได้ทำหน้าที่รักษาชื่อ และเรื่องราวของกษัตริย์เหล่านั้นให้มีชีวิตมาจนถึงทุกวันนี้
มหาสฟิงซ์แห่งกีซ่า (The Great Sphinx of Giza)
ผู้คนทั่วโลกรู้จัก กีซ่า จากความโด่งดังของมหาพีรามิดทั้งสาม และรูปสลักสฟิงซ์ ที่สร้างขึ้นในยุคอาณาจักรใหม่ ..
มหาสฟิงซ์แห่งกีซ่า ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กับพีระมิดคาเฟร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) ถือเป็นสฟิงซ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สฟิงซ์ มีชื่อเรียกในภาษาอียิปต์ว่า Horemakhet ซึ่งหมายความว่า Horus in the horizon อีกชื่อหนึ่งที่เรียกโดยผู้คนแถวนั้น คือ pw-Hol หรือ Place of Horus .. ดังนั้นเทพเจ้าฮอรัสจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับสฟิงซ์
สฟิงซ์แห่งกิซาแกะสลักจากหินก้อนขนาดมหึมาเพียงก้อนเดียว โดยมีความยาวของลำตัวที่ 73.5 เมตร สูง 21 เมตรใบหน้ามีความยาว 5 เมตร จมูกยาว 2 เมตร
ส่วนเคราไม่สามารถระบุตัวเลขของขนาดได้ ปัจจุบันนี้เคราและจมูกของสฟิงซ์ยักษ์ตัวนี้ ถูกแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ BRITISH MUSEUM กรุงลอนดอน
สฟิงซ์แห่งกิซา เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในโลก ... เชื่อกันว่ามีอายุย้อนไปถึงรัชสมัยของฟาโรห์คาเฟร (ประมาณ 2558–2532 ปีก่อนคริสตศักราช) ในช่วงอาณาจักรอียิปต์โบราณ
สฟิงซ์ ..เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของกษัตริย์ หรือเป็นสัตว์ที่มีชาญฉลาดและมีพลังเพื่อปกป้องพระศพและทรัพย์สมบัติภายในพีรามิด ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์และสัญลักษณ์ของพลัง ปัญญา และความแข็งแกร่ง
รูปสลักสฟิงซ์ของอียิปต์ .. ลักษณะเป็นสัตว์ที่มีการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต
ส่วนลำตัวของสฟิงซ์ มีรอยผุกร่อนอย่างชัดเจนทั้งจากสภาพภูมิอากาศอันเลวร้ายในทะเลทรายและพายุทรายพัดกระหน่ำทับถมอยู่เป็นประจำ
และเนื่องจากถูกแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากในอดีตท่วมมาถึงครึ่งตัว กัดกร่อนให้บริเวณฐานเสียหายและเหลือร่องรอยการแช่น้ำ ทำให้ปัจจุบันนี้ มหาสฟิงซ์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์เท่าไรนัก แต่ก็สามารถมองภาพความยิ่งใหญ่ในอดีตได้
ส่วนศีรษะมนุษย์ซึ่งอาจเป็นตัวแทนของคาเฟร สัญลักษณ์ของฟาโรห์อียิปต์ คือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูแผ่แม่เบี้ยและมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์
ลำตัวสิงโตสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างสติปัญญาของมนุษย์และความสามารถของสัตว์ ..
ตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา สฟิงซ์ได้ทนต่อการกัดเซาะ ความเสียหาย และความพยายามในการบูรณะตามธรรมชาติ รวมถึงการซ่อมแซมที่เริ่มต้นตั้งแต่ยุคอาณาจักรใหม่
สฟิงซ์ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตำนานมากมาย โดยนักวิชาการในสมัยโบราณและสมัยใหม่ได้ถกเถียงกันถึงจุดประสงค์ อายุ และผู้สร้างดั้งเดิมของสฟิงซ์
Photo : Internet
ข้อความที่จารึกที่เท้าของสฟิงซ์ที่เรียกว่า Dream Stela กล่าวว่า .. Thutmosis IV (1412 - 1403 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นเจ้าชาย แห่งราชวงศ์ที่ 18 ที่มีอายุราชวงศ์ห่างกันกว่า 1,000 ปี กับฟาโรห์เคเฟรแห่งราชวงศ์ที่ 4 ที่สร้างสฟิงซ์...
พระองค์ ได้เสด็จออกล่าสัตว์ในบริเวณหุบเขาใกล้กับที่ราบสูงกิซา ด้วยร่างกายที่เหนื่อยอ่อน พระองค์จึงนอนพักใกล้ๆกับสฟิงซ์ที่ทรายได้กลบลำตัวเหลือส่วนหัวเพียง 5 เมตร ที่โผล่พ้นทราย และฝันไปว่า ..
.. สฟิงซ์ได้บอกให้พระองค์ขุดทรายที่ทับถมสฟิงซ์มาเนิ่นนานออกไป แล้วเจ้าชายจะได้รับพรให้สวมมงกุฎของกษัตริย์แห่งอียิปต์ และขึ้นครองราชย์เป็นการตอบแทน..
ต่อมามีการเคลียร์ทรายที่ทับถมสฟิงซ์ออก และในที่สุดพระองค์ก็ได้เสด็จขึ้นครองอาณาจักรแห่งไอยคุปต์ เป็นฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 4 แห่งราชวงศ์ที่ 18 โดยมีเทพฮอรัสฮาร์มาคิสเป็นเทพผู้ปกป้อง
Thutmosis ได้จารึกเรื่องราวไว้บนแผ่นศิลาซึ่งเป็นประตูวิหารที่นำไปสู่พีรามิดของฟาร์โรห์คาเฟร แต่อย่างไรก็ตาม Dr. Hawass ได้กล่าวว่า ..
เจ้าชาย Thutmosis อาจจะเขียนเรื่องขึ้นมาเพื่อกลบเกลื่อนเรื่องการตายของพี่ชายซึ่งตอนนั้นเป็นมกุฎราชกุมาร รวมถึงอาจจะเป็นการย้ำว่าพระองค์เป็นผู้ถูกเลือกจากเทพเจ้าให้ขึ้นครองราชย์
ว่ากันว่า … เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในสมัยราชวงศ์มาเมลุค (ศต.ที่ 11 และ 15) เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด ทหารได้เอาใบหน้าของสฟิงซ์ยักษ์เป็นเป้าซ้อมยิง ทำให้บริเวณส่วนหน้ามีรูพรุน รูปงูแแผ่แม่เบี้ยที่หน้าผากหักหาย โดยเฉพาะทำให้จมูกหักลง และเคราหลุดไป
ปิรามิดเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาคาร .. ทางด้านทิศเหนือ มีร่องรอยของทางน้ำที่ไกด์เล่าว่า ..
.. เป็นทางที่ใช้นำร่างของฟาร์โรห์มาเตรีมทำมัมมี่ที่วิหารใกล้ๆกับสฟิงซ์ ก่อนจะนำร่างไปตามอุโมงค์ทางเดินใต้ดิน แล้วฝังไว้ใต้มหาพีรามิด
อย่างไรก็ตามความขาดแคลนของบันทึกโบราณ .. ทำให้ยากที่จะแน่ใจว่าการใช้อาคารทั้งหมดในคอมเพล็กซ์ปิรามิด รวมถึงขั้นตอนการฝังศพที่แน่นอน
หลายคนคิดว่าร่างกายของกษัตริย์ถูกนำขึ้นโดยเรือขึ้นไปบนแม่น้ำไนล์ไปยังที่ตั้งของพีระมิด และอาจจะเตรียมทำมัมมี่ในศานสถานในหุบเขาก่อนที่จะถูกวางไว้ในปิรามิดเพื่อฝังศพ
เหตุการณ์ในช่วงต่อมา
ปลายศต.ที่ 12 .. Al-Malek al-Aziz Othman ben Yusuf (ปี 1171 - พศจิกายน 1198) สุลต่านองค์ที่ 2 ของอียิปต์ ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ 2 ของ Saladin และทายาทพยายามจะรื้อถอนปิรามิด เริ่มด้วยปิรามิดเมนคูเร
หลังจากทำงานนี้มาได้ 8 เดือน พบว่าการรื้อถอนมีราคาแพงเกือบเท่าการสร้างปิรามิด เหล่าคนงานไม่สามารถถอดหินได้มากกว่า 1 - 2 ก้อนต่อวัน โดยเสียค่าใช้จ่ายและทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเต็มกำลัง บางคนใช้ลิ่มตอกให้หินแตกเป็นก้อนเล็ก ๆ ใช้คันโยกเพื่อขยับหิน ขณะที่คนอื่น ๆ ใช้เชือกเพื่อดึงก้อนหินลงไป
.. แต่เมื่อก้อนหินตกลงมา ก็จะฝังตัวลงไปในทราย ต้องใช้แรงงานขุดออกไปอีก ทำให้ความตั้งใจที่จะรื้อพีรามิดห่างไกลออกไป สิ่งที่ได้คือการทำให้พีรามิดเสียหาย โดยทิ้งร่องแนวขนาดใหญ่ทางด้านทิศเหนือ
โฆษณา