Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 มี.ค. เวลา 03:00 • การตลาด
สรุปวิธีอ่านใจลูกค้า หา 4 อินไซต์สำคัญ ไว้พัฒนาแบรนด์ ของ คุณหนุ่ย-การตลาดวันละตอน
- สรุปจากเซสชัน The Art of Branding and Marketing for 2025 ในงาน The Entrepreneur Forum 2025
Brand Sentiment คือ ข้อมูลด้านความรู้สึก หรือความคิดเห็นที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ โดยเก็บรวบรวมได้จาก บทสนทนาของแบรนด์บนเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ
เช่น โพสต์ข้อความ ความคิดเห็น กระทู้สนทนา หรือรีวิว โดยใช้แพลตฟอร์ม Social Listening Tool ในการเก็บข้อมูล
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Brand Sentiment จะมีการจัดหมวดหมู่ออกเป็น 3 ประเภทแบบง่าย ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพิ่มเติม คือ
1. Brand Sentiment แบบ Positive คือ ผู้บริโภคมีความรู้สึกในแง่บวกต่อแบรนด์
เช่น “แบรนด์นี้ใช้ดี”, “ไม่ผิดหวังจริง ๆ” หรือ “ขอแชร์ต่อ อยากแนะนำให้เพื่อนใช้ตาม”
2. Brand Sentiment แบบ Neutral คือ ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่เป็นกลางต่อแบรนด์
เช่น “เคยใช้แล้วก็โอเคนะ” หรือ “เพิ่งซื้อมา เดี๋ยวต้องลองก่อน”
3. Brand Sentiment แบบ Negative คือ ผู้บริโภคมีความรู้สึกในแง่ลบต่อแบรนด์
เช่น “ไม่ประทับใจ”, “ไม่เห็นอร่อยอย่างที่คนเขารีวิวกันเลย” หรือ “บริการแย่มาก ไม่ซื้ออีกแน่นอน”
แต่ในความจริงแล้ว Brand Sentiment ยังมีวิธีในการจัดหมวดหมู่อีกหลายรูปแบบ ให้ง่ายต่อการจัดการ หรือการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพิ่มเติมให้ง่ายขึ้น
ซึ่งวิธีที่จะอธิบายให้อ่านกันในโพสต์นี้ เรียกว่า Brand Sentiment Map ที่คุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ได้อธิบายไว้ในเซสชัน The Art of Branding and Marketing for 2025 ในงาน The Entrepreneur Forum 2025
โดยก่อนที่จะทำ Brand Sentiment Map ได้ สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรก ก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูล Brand Sentiment ให้เรียบร้อยก่อน
เสร็จแล้วจึงนำมาพล็อตในกราฟที่เรียกว่า Brand Sentiment Map ซึ่งเป็นกราฟที่แบ่งออกเป็น 2 แกน ได้แก่
1. แกนตั้ง จะมีอยู่ 2 องค์ประกอบ คือ
- Impress คือ Brand Sentiment ที่ดี อยู่ที่ด้านบนของแกน
- Improve คือ Brand Sentiment ที่ควรปรับปรุง อยู่ที่ด้านล่างของแกน
2. แกนนอน จะมีอยู่ 2 องค์ประกอบ คือ
- Strategy คือ Brand Sentiment ที่ตรงกับที่ได้วางแผนไว้
- Surprise คือ Brand Sentiment ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่าจะเกิดขึ้น
ทำให้ Brand Sentiment Map ของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน มีลักษณะคล้ายตารางที่มี 4 ช่อง (ตามรูปภาพประกอบบทความ) ได้แก่
1. ช่องซ้ายบน Surprise / Impress
คือ Brand Sentiment ที่แบรนด์ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้วางแผนให้เกิดขึ้น แต่เป็น Brand Sentiment ที่ดี ที่แบรนด์ควรต่อยอด
2. ช่องซ้ายล่าง Surprise / Improve
คือ Brand Sentiment ที่แบรนด์ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้วางแผนให้เกิดขึ้น แต่เป็น Brand Sentiment ที่ไม่ดี แบรนด์จึงควรรีบหาทางจัดการเพื่อแก้ไข
3. ช่องขวาบน Strategy / Impress
คือ Brand Sentiment ที่แบรนด์ตั้งใจ วางแผนไว้ และเป็น Brand Sentiment ที่ดี ที่แบรนด์ควรทำต่อไป
4. ช่องขวาล่าง Strategy / Improve
คือ Brand Sentiment ที่แบรนด์ตั้งใจ วางแผนไว้ แต่เป็น Brand Sentiment ที่ไม่ดี แบรนด์จึงควรหาทางปรับปรุง
ซึ่งการทำ Brand Sentiment Map นั้น จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความรู้สึก หรือความคิดเห็นของผู้บริโภค ที่มีต่อแบรนด์ สินค้า บริการ หรือแคมเปญการตลาดในแต่ละแคมเปญ
ทำให้เราสามารถนำไปปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา สินค้า บริการ หรือแคมเปญการตลาด ได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น ในบางครั้งอาจมีสินค้าหรือบริการที่แบรนด์ไม่ได้ให้ความสำคัญ
แต่การทำ Brand Sentiment Map อาจทำให้แบรนด์รู้ได้ว่า สินค้าหรือบริการที่แบรนด์ไม่ได้ให้ความสำคัญนั้น ผู้บริโภคกลับชอบ และสนใจที่จะซื้อมากกว่าที่คิด
ทำให้แบรนด์สามารถนำข้อมูลนี้กลับมาปรับปรุงการตลาด การสื่อสาร รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ได้
หรือเรียกได้ง่าย ๆ ก็คือ Brand Sentiment Map ที่คุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน แนะนำ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่ทำให้แบรนด์วิเคราะห์ Brand Sentiment ได้ง่ายยิ่งขึ้น และพร้อมนำไปใช้งานต่อได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
1.
ข้อมูลจากคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน สรุปจากเซสชัน The Art of Branding and Marketing for 2025 ในงาน The Entrepreneur Forum 2025
แบรนด์
การตลาด
9 บันทึก
12
3
9
12
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย