24 มี.ค. เวลา 11:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปภาวะตลาดประจำสัปดาห์ที่ 17 - 21 มี.ค. 2568

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัว สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังคำแถลงของ Fed ว่าเงินเฟ้อจากภาษีของทรัมป์เป็นเรื่องชั่วคราว
  • Fed คงดอกเบี้ยที่ 4.25-4.5% และลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เป็น 1.7%
  • เยอรมนีผ่านแผนปฏิรูปการคลัง ส่งเสริมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกลาโหม
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และญี่ปุ่น (BOJ) คงดอกเบี้ยตามคาด
  • ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงหลังการประกาศ Special Action Plan ที่ไม่ระบุรายละเอียดชัดเจน
  • เศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัว ยอดค้าปลีก +4% ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม +5.9%
  • ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว SET +1.1% โดย บBS ปรับเพิ่มการลงทุนในหุ้นไทยเป็น Overweight ขณะที่ ธปท. คลายมาตรการ LTV กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์
สถาณการณ์ตลาด
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนี Dow Jones +1.2%, S&P 500 +0.5% และ Nasdaq +0.2% โดยฟื้นตัวหลังคำแถลงของประธาน Fed ที่มองว่าเงินเฟ้อที่อาจเกิดจากนโยบายภาษีของทรัมป์จะเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว พร้อมยืนยันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง
  • ประเด็นภาษีนำเข้า แม้ประธานาธิบดีทรัมป์ ยืนยันจะมีผลบังคับใช้ 2 เม.ย. นี้ แต่ก็กล่าวว่าอาจมีความยืดหยุ่นบางประการ ซึ่งช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ สัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน
  • การประชุมธนาคารกลาง
o ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.25-4.5% ตามคาด โดยระบุถึงความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจ จึงลดคาดการณ์ GDP ปีนี้จาก 2.1% เป็น 1.7% และเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อพื้นฐานจาก 2.5% เป็น 2.8% ขณะที่เครื่องมือ Dot Plot ยังคงชี้ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้
๐ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คงดอกเบี้ยที่ 4.5% ตามคาด เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากนโยบายของทรัมป์ และความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจอังกฤษ
o ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงดอกเบี้ยที่ 0.5% ตามคาด ซึ่งเศรษฐกิจญี่ปุ่นบ่งชี้โอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มได้ แต่อาจชะลอการขึ้นจนถึงกลางปี ทั้งนี้ผลการเจรจาค่าจ้างรอบแรก สามารถปรับขึ้นเฉลี่ย 5.46% ตั้งแต่ เม.ย ซึ่งแข็งแกร่งสดในรอบ 34 ปี และเป็นสัญญาณบวกต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขณะที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นแตะ 4% ใน ม.ค.
  • เศรษฐกิจยุโรป
๐ เยอรมนีผ่านแผนปฏิรูปการคลัง สนับสนุนการลงทุนด้านความมั่นคงและโครงสร้างพื้นฐานโดยจัดสรรงบประมาณ 5,000 ล้านยูโรสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม
๐ การใช้จ่ายด้านกลาโหมที่เกินกว่า 1% ของ GDP ได้รับการยกเว้นจากข้อจำกัด Debt Brake (นโยบายที่ยอมให้มีการขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกิน 0.35% ของ GDP)
๐ รัฐทั้ง 16 แห่งของเยอรมนีได้รับอนุญาตให้กู้ยืมได้สูงสุด 0.35% ของ GDP หรือประมาณ 16,000 ล้านยูโร ซึ่งนโยบายนี้เปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ซึ่งเดิมรัฐต่างๆจะต้องทำงบประมาณแบบสมดุล โดยมีงบประมาณรายได้กับรายจ่ายที่พอดีกัน
๐ ตลาดการเงินโดยรวมตอบรับเชิงบวกต่อนโยบายการคลังของเยอรมนี และนักวิเคราะห์มองว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในยูโรโซน
  • เศรษฐกิจจีน
๐ ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยต้นสัปดาห์ยังคงมีความหวังต่อมาตรการกระตุ้นการบริโภคของจีนที่เรียกว่า Special Action Plan แต่การแถลงข่าวยังไม่มีรายละเอียดเชิงลึกออกมา ทำให้ช่วงปลายสัปดาห์มีแรงขายทำกำไรเกิดขึ้น
๐ Special Action Plan ที่ประกาศออกมา ระบุในภาพกว้างว่าจะเน้นเพิ่มรายได้และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน และจะมีการจัดตั้งโครงการเงินอุดหนุนสำหรับการดูแลเด็ก รวมถึงส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว และรักษาเสถียรภาพตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์
๐ ตัวเลขเศรษฐกิจจีน ม.ค. และ ก.พ. ส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยยอดค้าปลีกขยายตัวสูงกว่าคาดที่ 4% เทียบรายปี เร่งตัวขึ้นจาก 3.7% ใน ธ.ค. ซึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นให้ประชาชนซื้อสมาร์ทโฟน ของใช้ในบ้านและรถยนต์ และการใช้จ่ายช่วงวันหยุดตรุษจีน
๐ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 5.9% เทียบรายปี สูงกว่าคาดที่ 5.3%
  • เศรษฐกิจไทย
๐ ตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นตัว โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี SET +1.1% ขณะที่ UBS ปรับเพิ่มการลงทุนในหุ้นไทยเป็น Overweight จากระดับราคาที่น่าสนใจ
๐ ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ประกาศคลายมาตรการ LTV เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุญาตให้กู้ซื้อบ้านใหม่ได้ 100% สำหรับสัญญากู้ที่ทำตั้งแต่ 1 พ.ค. 68 ถึง 30 มิ.ย. 69
  • ราคาน้ำมัน WTI+1.6% และ Brent +2.2% สัปดาห์ก่อน จากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง รวมถึงแผนการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ การประกาศตัวเลขสำคัญ เช่น อัตราเงินเฟ้อ, GDP, PMIและอื่น ๆ จะมีผลในสัปดาห์นี้
นโยบายการลงทุนและคำเตือน
● เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
● ผู้ลงทุนสามารถขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่สำนักงานของบริษัทจัดการ หรือจาก www.krungsriasset.com หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย หรือเจ้าหน้าที่ขายหน่วยลงทุน
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ติดตามกองทุนกรุงศรี อัปเดตข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
#KrungsriAsset #กองทุนกรุงศรี #Weeklymarketview #สรุปภาวะตลาดรายสัปดาห์
โฆษณา