Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
25 มี.ค. เวลา 15:18 • สุขภาพ
นอนกรน ทำร้ายสมองทางอ้อมได้
ก่อนที่สมองเจ้าตัวคนที่นอนกรนจะเสื่อม คนรอบๆน่าจะเสื่อมก่อน เพราะไม่ได้นอนกัน มีคนมาติดเครื่องรถในห้องนอนทุกคืน แต่ใครจะรู้ว่า นอกจากเรื่องของการนอนกรนที่ก่อความรำคาญและมลพิษด้านการนอนให้กับคนรอบข้างแล้ว การนอนกรนยังส่งผลเสียมากกว่าที่ใครหลายคนคิด
และนอกจากเรื่องของการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นอันตรายที่ได้รับการยอมรับจากการนอนกรนแล้ว การนอนกรน ยังส่งผลร้ายต่อสมองในระยะยาวอีกด้วย
2
การนอนกรน ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัดขณะหลับเป็นระยะ สิ่งนี้นำมาซึ่งภาวะที่เรียกว่า ภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงเรื้อรัง (Chronic Intermittent Hypoxia: CIH)
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงเรื้อรัง เป็นภาวะทางพยาธิวิทยาที่มีลักษณะเป็นช่วง ๆ ของการขาดออกซิเจนสลับกับการกลับมาได้รับออกซิเจนใหม่ การเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนเป็นช่วง ๆ ซึ่งนำไปสู่ภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) การอักเสบในระบบ และความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ผลกระทบสำคัญทางพยาธิสรีรวิทยา
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงเรื้อรัง กระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระ (Reactive Oxygen Species: ROS) มากเกินไป ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์ โปรตีน และดีเอ็นเอ การเพิ่มขึ้นของ ROS ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเยื่อบุหลอดเลือดและการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในระยะยาว
ส่วนของสมอง ภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงเรื้อรังมีส่วนทำให้ hippocampus สร้างเซลล์ใหม่ได้ลดลง ประกอบกับความเสียหายจาก ROS ทำให้ hippocampus ได้รับความเสียหายในระยะยาว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และการสร้างความทรงจำ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว นอกจากนี้ ROS ยังสามารถกระตุ้นการอักเสบในส่วนอื่นๆของสมองได้อีกด้วย
งานวิจัยทางคลินิกและสัตว์ทดลองได้แสดงให้เห็นว่า CIH มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรคอัลไซเมอร์ โดยส่งเสริมการสะสมของเบตา-อะไมลอยด์ (Aβ) และทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาท นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่า CIH สามารถลดประสิทธิภาพของระบบไกลมฟาติก (glymphatic system) ซึ่งมีบทบาทในการกำจัดของเสียออกจากสมอง
ดังนั้น การนอนกรน จึงไม่ใช่แค่การสร้างความรำคาน แต่คนที่คุณรักอาจกำลังผ่อนส่งภัยร้านแบบไม่รู้ตัว นอกจากการลดน้ำหนัก ควบคุมการกินแล้ว การตรวจ Sleep test ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจร่างกายในขณะที่เรานอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
1
อ้างอิง
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9599901/
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
44 บันทึก
45
9
83
44
45
9
83
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย