24 มี.ค. เวลา 15:52 • การศึกษา

ทำไม ? เราถึงอดทน "ทำ" สิ่งที่ "ไม่อยากจะทำ" ตามแนวทางพุทธศาสนา

คุณเคยถามตัวเองมั้ยครับว่า ทำไม ? เราต้องตื่นขึ้นมาทุกเช้า
.
เพื่อทำในสิ่งที่หัวใจ "ไม่ได้เรียกหา"
.
ยอมเสียสละตนเอง ทำงานที่ไม่ชอบ
เพราะต้องเลี้ยงดูครอบครัว คนที่คุณรัก
.
อดทนอยู่ในความสัมพันธ์ที่ร้าวราน
ทั้งที่ตนเองยังไม่รู้เลยว่า ต้องอดทนไปเพื่ออะไร ?
.
คำถามนี้ ไม่ใช่แค่ปัญหาชีวิต ครับ
.
แต่คือ 'ปริศนาธรรม' ที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงตอบไว้แล้วเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว ครับ
ก่อนจะเข้าถึงมุมมองของ "พุทธศาสนา"
พวกเราลองมาดูมุมมองของ "ทางโลก" กันก่อนนะครับ
.
สังคมสอนให้เราสร้าง "ตัวตน" ผ่านอาชีพ ฐานะ การยอมรับ
.
แต่เมื่อเราเชื่อมโยงกับ "ตัวตนปลอม" นี้มากเกินไป การละทิ้งมันจึงรู้สึกเหมือน ยากมาก ๆ
.
เราจึงต้อง "อดทน" อยู่กับสิ่งที่ "ทำร้ายตัวเอง"
.
เพียงเพื่อรักษา "ภาพลวงตา" ของความสมบูรณ์แบบ
จนกว่าวันหนึ่ง เราจะมีกำลังพอที่จะถามว่า
สิ่งนี้คือ "ตัวของฉัน" จริง ๆ หรือ
.
บางครั้ง การอดทน "ทำ" สิ่งที่ "ไม่อยากจะทำ"
ไม่ได้เกิดจากความอ่อนแอ นะครับ
.
แต่เป็น การเลือกอย่างมี "สติ" เพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
เช่น คุณแม่ ที่ทนทำงานหนัก เพื่อลูก
.
ศิลปินที่อดทน รอวันถูกค้นพบ
.
หรือแม้แต่ การยืนหยัดในความสัมพันธ์ที่เจ็บปวด
.
เพราะเชื่อใน "บางสิ่งบางอย่าง" ที่ลึกซึ้งมากกว่าเหตุผล
.
และนี่ละครับ คือจุดที่ "จิตวิญญาณ" ถูกทดสอบ
.
หากสังเกตให้ลึกลงไปกว่านั้น คุณอาจพบว่า
.
ไม่ใช่ "คุณ" ไม่มีที่ให้ไปทำสิ่งใหม่ หรือ ไม่ใช่คุณกลัวการเปลี่ยนแปลง นะครับ
.
แต่ธรรมชาติ จะสอนให้ "คุณ" รู้ว่า ทุกสิ่งมีจังหวะของตัวเอง
เมล็ดพันธุ์ต้องฝังอยู่ใน "ดินที่มืดมิด" นานเท่าไหร่ ก่อนจะงอกเป็นต้นไม้
.
การอดทนอยู่ของมนุษย์ก็อาจเป็น "การตั้งครรภ์ทางจิตวิญญาณ" ครับ
.
ที่รอเวลา ที่ความคิด สภาวะอารมณ์ และ โอกาสภายนอก มาบรรจบกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อการเกิดใหม่ ครับ
.
ฉนั้นครับ หากท่านใด ที่มีสภาวะ อดทน "ทำ" สิ่งที่ "ไม่อยากจะทำ" อยู่ตอนนี้ ก็ให้ผ่อนคลายได้เลย นะครับ
.
ตึงเกินไป สายพิณก็จะขาด หย่อนเกินไป เสียงพิณก็จะไม่ไพเราะ
.
เมื่อปรับสายให้พอดี เสียงก็จะไพเราะ ครับ
"ความอดทน" ก็คือ 1 ในขั้นบันไดชีวิต ที่ผ่านช่วงเวลาชีวิต ต้องขยับขึ้นไปที่ละขั้น
.
มันไม่ใช่จุดจบ ครับ แต่มันเป็น สะพานเชื่อมระหว่าง "สิ่งที่เราเป็น" กับ "สิ่งที่เราควรจะเป็น"
.
บางครั้งการอดทน คือ "การมอบความรัก"
แต่บางครั้ง มันก็คือ "การทรยศต่อจิตวิญญาณของตนเอง"
.
คือไม่มีผิด ไม่มีถูก ครับ
.
สิ่งสำคัญ คือ "ไม่ตัดสิน" การอดทนของตัวเอง หรือ ผู้อื่น
.
เพราะทุก "การเลือก" ล้วนมีรากฐานมากจากเหตุผลที่ซับซ้อน เกินกว่าตัวบทบาทจะเข้าใจได้
ในมุมมองของ "พุทธศาสนา" การที่มนุษย์ยังคง "อดทน" ทำสิ่งที่ไม่ปรารถนา
.
ล้วนสัมพันธ์กับ "กฎแห่งทุกข์" (ความทุกข์ในอริยสัจ 4)
.
และ การเวียนว่ายใน "สังสารวัฏ" ซึ่งสามารถเจาะลึกถึงแก่นได้ดังนี้ ครับ
.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า "ชีวิต คือ ความทุกข์"
.
แต่ไม่ใช่ "ความทุกข์" แบบสิ้นหวังนะครับ
หากเป็นความทุกข์ที่เกิดจาก
สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ
.
- กามตัณหา (ความอยากในสิ่งเสพย์) อยากได้เงินทอง ยศฐา บรรดาศักดิ์ เพื่อเติมเต็มความว่าง
.
- ภวตัณหา (ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่) อยากเป็น ลูกที่ดี อยากให้คุณพ่อ คุณแม่เพอร์เฟค ตามกรอบของสังคม
.
- วิภวตัณหา (ความอยากไม่เป็นนั่นเป็นนี่) กลัวสูญเสียสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น แม้รู้ว่ามันทำร้ายเรา
.
เราจึงเปรียบเหมือน "ม้าพันธุ์ดี" ที่ผูกตัวเองไว้กับเสาหลัก
.
โดยที่เสานั้น คือ "ความคิดของเราเอง" ครับ
การอดทน อยู่ในสภาพที่ไม่ปรารถนา จึงอาจเป็น "วิบากกรรม"
.
ที่ต้องเผชิญเพื่อ "ชำระหนี้กรรมเก่า" หรือเป็น "กรรมใหม่" ที่กำลังสร้างเพราะ "ขาดสติ" ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี)
.
เมื่อมี อวิชชา (ความไม่รู้)
- จึง สร้างสังขาร (ความคิดปรุงแต่ง)
- จึง เกิดตัณหา
- จึง เกิดความยึดมั่นถือมั่น
- จึง เกิดภพ เกิดชาติ
- จึง เวียนว่ายในทุกข์
ยกตัวอย่างเช่น
- คนที่อดทน ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะหลงคิดว่า "เงิน คือ ความสุขสุดท้าย"
.
นั้นอาจเป็นเพราะ อวิชชา (ความไม่รู้) นะครับ
.
คนที่ทนอยู่ในความสัมพันธ์ toxic (เป็นพิษ) เพราะยึดติดในภาพลวงตา ของ "ความรัก"
.
นั้นอาจเป็นเพราะ อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) นะครับ
.
ในแนวทาง "พระโพธิสัตว์" "พุทธศาสนา" มองการ "อดทนต่อความทุกข์" ว่า เป็น "ขันติบารมี"
.
ที่ช่วยหล่อหลอม "จิต" ให้แข็งแกร่ง ผ่านการยอมรับ "กฎแห่งกรรม" และ ใช้ "ความทุกข์" เป็นบทเรียน ครับ
ยกตัวอย่างเช่น
- อดทนทำงานที่ไม่ชอบ เพื่อฝึก "การไม่ยึดติด" กับความปรารถนาส่วนตัว
.
- ทนอยู่ใน "สถานที่ความทุกข์" เพื่อเรียนรู้ว่า "ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม"
.
แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่ "การอดทน" แบบหลงงมงาย นะครับ
.
หากเป็นการอดทนด้วย "สติปัญญา" (ญาณะ) ที่รู้ว่า อดทนไปเพื่ออะไร ?
.
แต่หากจะให้ "คุณ" มองลึกลงไปกว่านั้น
พุทธศาสนา มหายานกล่าวว่า แท้จริงแล้ว "ผู้ทน" "การทน" และ "สิ่งให้ทน"
.
ล้วนคือ "ศูนยตา" (ความว่าง) การทน จึงเป็นเพียงภาพลวงของ "จิต" ที่ยังหลงอยู่ในมายา (ความหลอกลวง)
.
เมื่อเห็นแจ้งใน "ศูนยตา" (ความว่าง) จะรู้ว่า "ทุกข์ก็ว่าง สุขก็ว่าง เฉย ๆ ก็ว่าง" การอดทน จึงสิ้นสุดลงเอง ครับ
.
เมื่อเราเปลี่ยนมุมมอง การอดทนจะกลายเป็น "การฝึกจิต"
.
เหมือนดอกบัว ที่อดทนในโคลนตม เติบโตในโคลนตม เพื่อรอการเบ่งบาน
ครั้งหนึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงพบชายชราคนหนึ่ง กำลังนั่งร้องไห้
.
เพราะต้องอดทนทำงานหนัก เพื่อลูกที่ไม่กตัญญู
.
พระองค์ตรัสว่า ทุกชีวิตล้วนเป็นลูกของกรรม
.
การอดทนของเธอวันนี้ คือ การชำระหนี้กรรมเก่า
.
แต่จงอย่าสร้าง "กรรมใหม่" ด้วย "ความโกรธ"
.
นี่คือการสอนว่า "การอดทน" ต้องมาควบคู่กับ "ปัญญา" ครับ
.
- รู้ว่าอะไร ? ควรอดทนเพื่อขัดเกลาตน
- รู้ว่าอะไร ? ควรปล่อยเพื่อไม่ยึดติด
สรุป ครับ
การอดทน "ทำ" สิ่งที่ "ไม่อยากจะทำ" หรือ การทนอยู่กับสิ่งไม่ปรารถนา
.
อาจเป็นได้ทั้ง
- อยากได้สิ่งลวงตา (เงิน ทอง ชื่อเสียง) เพื่อเติมเต็มความว่าง
.
- อยากเป็นในสิ่งที่สังคมกำหนด (บทบาทสมมติ)
.
- กลัวสูญเสียสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น (แม้มันทำร้ายเรา)
.
อวิชชา : ความไม่รู้ว่า "ทุกสิ่งไม่เที่ยง" และ "ไม่มีตัวตนที่แท้จริง"
.
ทำให้เรายอมเป็นทาสของกิเลส นะครับ
.
- วิบากกรรมเก่า คือ ผลจากกรรมที่ต้องชดใช้
.
- กรรมใหม่ การสร้างกิเลสต่อเนื่องจากความหลง เช่น ทนทำงานไม่ชอบเพราะต้องการเงิน
แต่ "พุทธศาสนา" มองว่า "กรรมไม่ใช่คำสาป" ครับ
.
หากเป็นบทเรียน เพื่อให้เราเรียนรู้เพื่อ "หลุดพ้น"
.
การอดทน ในพุทธศาสนาไม่ใช่ "การยอมจำนน" นะครับ
.
แต่คือ "การเผชิญหน้า กับเงาของตนเอง"
.
เมื่อเราหยุดถามตนเองว่า "ทำไม ? ต้องอดทน"
และ เริ่มตั้งคำถามใหม่ว่า "เราจะได้เรียนรู้อะไร ? จากความอดทนนี้
.
นั่นคือ ช่วงเวลาที่ความทุกข์ จะกลายเป็นแสงสว่างนำทาง
.
- ผู้รู้จักความทุกข์ ย่อมรู้จักปล่อยวาง
- ผู้ปล่อยวางได้ ย่อมพบหนทางอันเกษม
.
การอดทน จะสิ้นสุดลง เมื่อเราเห็นแจ้งว่า
.
"ไม่ใช่เราที่อดทน แต่เป็นกิเลสที่กำลังดับไป
.
สวัสดีครับ
.
#ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา , #อดทน
  • 1.
โฆษณา