Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right Style by Bom+
•
ติดตาม
24 มี.ค. เวลา 16:56 • การเมือง
ทรัมป์ลูกผีลูกคนแบบนี้ เร่งให้พันธมิตรภายใต้ “ร่มนิวเคลียร์สหรัฐ” ต้องพัฒนาของตัวเอง
ทรัมป์อาจเดินเกมให้สหรัฐออกจากนาโตด้วย “วิธีทางเทคนิค” โดยไม่จำเป็นต้องถอนตัวจากการเป็นสมาชิก
บทความเผยแพร่หนึ่งน่าสนใจบน Financial Times (สื่อของอังกฤษ) เกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของ “ทรัมป์” ซึ่งส่งผลต่อร่มคุ้มครองนิวเคลียร์ของสหรัฐที่หลายประเทศพันธมิตรหวังพึ่งกันอยู่ โดยในบทความกล่าวใจความสำคัญไว้ว่า [1]
“ปรากฏการณ์เอาแน่เอานอนไม่ได้ของทรัมป์กลายเป็นแรงจูงใจอันทรงพลังสำหรับเสียงในประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมองว่าอาวุธนิวเคลียร์ในมือของตนเองเป็นวิธีแก้ปัญหาพื้นฐานสำหรับปัญหาที่เกิดจากความไว้ใจไม่ได้ของนโยบายสหรัฐฯ”
เครดิตภาพ: Financial Times
ในบทความของ FT ระบุว่า เยอรมนี-โปแลนด์-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เป็นกลุ่มประเทศที่ตั้งใจและเต็มใจจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เป็นของตัวเอง ประเทศทั้งหมดเหล่านี้อยู่ภายใต้ร่มนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ
3
หากเราพิจารณา “โปแลนด์” ในระดับตัวบุคคลอย่างประธานาธิบดี “อันเดรส ดูดา” ของโปแลนด์ที่ช่วงนี้ขอการสนับสนุนติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในดินแดนของตนเพื่อ “ยับยั้งการขยายอิทธิพลของรัสเซีย” [2]
“พรมแดนของนาโตขยายไปทางตะวันออกในปี 1999 ดังนั้น 26 ปีต่อมาควรมีการย้ายโครงสร้างพื้นฐาน (นิวเคลียร์) ของนาโตมาทางตะวันออกด้วยเช่นกัน สำหรับผมแล้ว สิ่งนี้ชัดเจน” คำพูดของดูดาประธานาธิบดีโปแลนด์
สำหรับการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง ยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการดังกล่าว แต่สำหรับวอร์ซอเรื่องนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในแง่ของด้านเทคโนโลยีและเงินทุนที่มี
เครดิตภาพ: The Sun
ใน “เยอรมนี” นักการเมืองบางคนได้ส่งสัญญาณบอกใบ้ถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง แต่ในอนาคตนายกรัฐมนตรีคนใหม่ “ฟรีดริช เมิร์ซ” ก็คาดหวังที่จะขยายขอบเขตของ “ร่มอาวุธนิวเคลียร์จากฝรั่งเศสและอังกฤษ” มาครอบคลุมยังเยอรมนีอีกทาง โดยยังคงให้สหรัฐอเมริกาเป็นร่มนิวเคลียร์ของตนเองต่อไป โดยเชื่อว่าวอชิงตันและโดยเฉพาะอย่างยิ่งลอนดอนจะร่วมมือกันต่อต้านความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของเบอร์ลิน
1
เครดิตภาพ: Sky News
ส่วน “เกาหลีใต้” และ “ญี่ปุ่น” มีโอกาสทองในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศนี้เช่นเดียวกับเยอรมนีอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ แต่วอชิงตันถ้าต้องการเป็นมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ พวกเขาจะยอมหรือไม่? คำตอบคือไม่เด็ดขาด!
สรุปแล้วบทความเรื่องนี้ของ Financial Times ส่วนตัวมองว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เป็นการคาดเดาและต้องการส่งสัญญาณออกไปเพื่อต่อต้านทรัมป์ นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกสามารถพูดคุยออกมายังไงก็ได้ แต่มีเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่แท้จริง
มาดูกันต่ออีกบทความหนึ่ง คราวนี้บนสื่ออเมริกันอย่าง Newsweek โดยระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับการถอนตัวของสหรัฐฯ ออกจากนาโตภายใต้การนำของทรัมป์ ในขณะเดียวกันการถอนตัวอย่างเป็นทางการของสหรัฐฯ จากกลุ่มถือเป็นเรื่องยากทางทฤษฎี เนื่องจากต้องได้รับแจ้งล่วงหน้าหนึ่งปีและได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาสองในสาม หรือต้องผ่านกฎหมายแยกต่างหากโดยสภาคองเกรสสหรัฐฯ [3]
แต่การที่สหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานนาโตของมาตรา 5 (เกี่ยวกับความมั่นคงร่วมกัน) ของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนืออาจทำให้ความเหนียวแน่นของพันธมิตรอ่อนแอลงได้
“กระบวนการที่ไม่เป็นทางการทำได้ง่ายกว่า (หากทรัมป์คิดจะทิ้งนาโต)” เดวิด แบลกเดน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านความมั่นคงและกลยุทธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ในสหราชอาณาจักรกล่าว ในความเห็นของเขา รัฐบาลทรัมป์จำเป็นต้องกระซิบเพียงว่าสหรัฐฯ จะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้มาตรา 5 และความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของพันธมิตรในนาโตจะถูกทำลายลงอย่างมาก
แบลกเดนเขียนว่าคลังอาวุธนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ของอเมริกาได้ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศสมาชิกนาโตมาโดยตลอด ส่วนคลังอาวุธนิวเคลียร์ขนาดเล็กของอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหานี้
เครดิตภาพ: Illustrated by Thomas Gaulkin; Photo (modified) by Dominique Jacovides / Abaca / Alamy
นิตยสาร Newsweek ยังทบทวนคำพูดของทรัมป์ที่ว่า “ถ้าพวกเขาไม่จ่าย ผมจะไม่ปกป้องพวกเขา” นั่นคือ ถ้าสมาชิกคนอื่นๆ ของพันธมิตรไม่ปฏิบัติตามอัตรางบทางการทหารที่วอชิงตันกำหนดไว้ที่ 5% ของ GDP นิตยสารดังกล่าวยังบรรยายถึงสถานการณ์ที่อเมริกาถอนกำลังภาคพื้นดินออกจากยุโรป เหลือเพียงกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองกำลังนิวเคลียร์
ทั้งหมดนี้สามารถประเมินได้ว่าเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผล ทรัมป์ทำให้พันธมิตรในยุโรปของเขาหวาดกลัวด้วยงบการใช้จ่ายทางทหาร และตอนนี้ 2 ใน 3 ของพวกเขาได้จัดสรรงบอย่างน้อย 2% ของ GDP สำหรับนาโตแล้ว และพวกเขายังบอกด้วยว่าพวกเขาพร้อมที่จะจ่ายมากขึ้น อาจจะไม่ใช่ 5% แต่ตอนนี้ขอก่อน 3% ได้ไหม ซึ่งมันก็ดีกับทั้งทรัมป์และกลุ่มอุตสาหกรรมการทหารของอเมริกา ซึ่งจะได้รับออเดอร์คำสั่งซื้อใหม่อยู่แล้ว
กองทัพสหรัฐฯ ยังไม่ถอนตัวจากยุโรปเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นการที่สหรัฐฯ ละทิ้งนาโตก็เท่ากับว่าสหรัฐฯ ละทิ้งทวีปยุโรป ซึ่งจะกระทบต่อจุดยืนระดับโลกของอเมริกาทันที และทำลายสถานะการเป็นผู้นำของอเมริกาซึ่งไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดอยู่แล้วอย่างจริงจัง
โดยรวมแล้วจุดยืนของทรัมป์เกี่ยวกับยูเครนไม่ได้บ่งชี้ว่ารัฐบาลของเขามีเจตนาที่จะลดอิทธิพลของสหรัฐฯ ในยุโรป ตรงกันข้าม ทรัมป์มีเจตนาที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับยูเครน แต่จะทำนอกกรอบของนาโต (ผ่านทางยุโรป) ยังไงทรัมป์ก็ยังต้องการคำสั่งซื้ออาวุธจากทางยุโรปเพื่อป้อนให้กับยูเครนอยู่ดี หากเขาบีบคั้นมากๆ จนยุโรปไม่เอาอเมริกา พัฒนาของตัวเอง เวลานั้นคนที่เดือดร้อนก็คืออเมริกาเอง
เครดิตภาพ: Chip Somodevilla/Getty Images
เรียบเรียงโดย Right Style
24th Mar 2025
■
อ้างอิง:
[1]
https://www.ft.com/content/1a7c9b17-862d-4986-ac09-42de2dee44f2
[2]
https://www.ft.com/content/f9e5f2a9-5d81-4557-af6d-ed3a33eecf1a
[3]
https://www.newsweek.com/donald-trump-nato-exit-us-army-europe-2044325
<เครดิตภาพปก: Justin Metz / The Economist>
สหรัฐอเมริกา
ยุโรป
russia
บันทึก
34
10
7
34
10
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย