24 มี.ค. เวลา 17:58 • ประวัติศาสตร์

ชาว “อุยกูร์” ไม่ใช่ชาวจีนมุสลิม

โดยทั่วไปผู้คนมักสับสนระหว่าง ‘เชื้อชาติ’ กับ ‘ศาสนา’ อย่างเมื่อพูดถึงผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ก็มักเข้าใจผิดว่ามุสลิมทั่วโลกคือชนชาติเดียวกัน ในความจริงประชากรมุสลิมเท่าที่สำรวจได้อย่างเป็นทางการมีอย่างน้อยประมาณ 1,900 ล้านคนทั่วโลกนั้น ยุคปัจจุบันมีอยู่ในทุกชาติทุกภาษาจากการเปลี่ยนศาสนา แต่เดิมมุสลิมมีหลายชนชาติ นอกจากสายตระกูลอาหรับ อารยัน (เปอร์เซีย) และเอเชียใต้แล้ว ก็ยังมีมลายู เตอร์กิก สลาฟ (ยุโรปตะวันออก) อัฟริกัน (คองโกซาฮารัน) ฯลฯ
ช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อกระแสหลักอาจสื่อสารไม่ครบถ้วนในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชาวมุสลิมในประเทศจีน ว่าชาวมุสลิมจีนคือ “อุยกูร์” ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริงของสังคมประเทศจีน
คนมุสลิมเชื้อสายจีนเรียกว่า “ชาวหุย“ (回族 / Huízú) ซึ่งเป็นชาวฮั่นแท้ ๆ รวมถึงชาวฮั่นที่มีเชื้อสายตะวันออกกลางมาตั้งแต่ยุคโบราณสมัยราชวงศ์ซ่ง พ่อค้าจากตะวันออกกลางได้เข้ามาผสมผสานถูกกลืนเป็นเชื้อชาติจีนมากว่า 600 ปีแต่ยังคงนับถือศาสนาอิสลาม เหล่านี้เรียกว่าชาวหุย มีพื้นเพอยู่ในแผ่นดินจีนมาทุกราชวงศ์ ท้องถิ่นดั้งเดิมส่วนมากอยู่ในซีอาน กวางโจว หลานโจว หางโจว กานซู หูหนาน หยุนหนาน
มีมัสยิดมากกว่า 10,000 แห่งในประเทศจีนที่ไม่ได้อยู่ในเขตปกครองพิเศษซินเจียง โดยมัสยิดเก่าแก่ที่สุดอยู่ในกวางโจว ถูกสร้างในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ศ.ศ.1349) และถ้ารวมกับซินเจียงด้วยทั้งหมด นับทั้งมัสยิดเก่า-ใหม่ล่าสุดปี 2014 คือมีจำนวน 39,135 แห่ง ซึ่งมุสลิมในพื้นเพเขตปกครองพิเศษซินเจียงนี่เองที่เรียกว่า “ชาวอุยกูร์” (Uyghurs) พวกเขาไม่ใช่ชาวหุยหรือจีนมุสลิม แต่เป็นชนชาติเชื้อสายเตอร์กิก มีอารยธรรมมีประวัติศาสตร์ของตนเองในถิ่นนั้นมานาน ก่อนที่อยู่ภายใต้อำนาจของจีน
ประวัติของชาวอูยกูร์โดยสังเขป:
1. ต้นกำเนิดและอาณาจักรในอดีต
• ชาวอุยกูร์เป็นชนเผ่าเตอร์กิกที่มีรากเหง้าในเอเชียกลาง เคยก่อตั้ง อาณาจักรอุยกูร์ (ค.ศ. 744–840) ในมองโกเลีย ก่อนจะถูกกดดันจากชาวคีร์กีซและอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่แคว้นซินเจียงในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นศูนย์กลางเส้นทางสายไหมและมีวัฒนธรรมหลากหลาย
• ชาวอุยกูร์เดิมไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นชาวพุทธเช่นเดียวกับทิเบตและมองโกเลีย แต่ภายหลังชาวเมืองได้เปลี่ยนศาสนามาเป็นอิสลามในยุคที่อาณาจักรเติร์ก-มองโกลแผ่ขยายอารยธรรม
2. อุยกูร์ในซินเจียง
• ในอดีต ซินเจียง (แปลว่า “พรมแดนใหม่” ในภาษาจีน) เคยเป็นอาณาจักรอิสระ เช่น รัฐคานาเตแห่งโคชการ์ (ยุคศตวรรษที่ 17-18) ก่อนที่จีนราชวงศ์ชิงจะเข้าปกครองช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ต่อมามีความพยายามประกาศเอกราชเป็น สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก สองครั้ง (1933, 1944) แต่สุดท้ายจีนคอมมิวนิสต์ได้ควบคุมซินเจียงอย่างสมบูรณ์ในปี 1949
3. ความขัดแย้งกับคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนในสมัยต่อมา
• จีนมองซินเจียงเป็นดินแดนสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ขณะที่ชาวอุยกูร์บางส่วนต้องการเอกราชหรืออิสระทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความตึงเครียด จีนใช้มาตรการเข้มงวด เช่น การเข้าควบคุมและห้ามปรามในเรื่องศาสนา นโยบายกลืนชาติ และการตั้งค่ายกักกัน ซึ่งจีนอ้างว่าเป็น “ค่ายปรับทัศนคติ” เพื่อต่อต้านการแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การประณามจากนานาชาติในเรื่องการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
• รัฐบาล “สี จิ้นผิง” ได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างหมดจด โดยในปัจจุบันรัฐบาลจีนไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปะทะกับเขตซินเจียง ได้ส่งเสริมการพัฒนาในทุกด้าน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ซินเจียงยอมรับการรวมชาติและการถือสัญชาติจีน ถึงแม้สื่อตะวันตกยังคงนำเสนอภาพลักษณ์เก่า ๆ ของรัฐบาลจีนอยู่ก็ตาม
โฆษณา