25 มี.ค. เวลา 10:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

🇯🇵 เมื่อ “การทิ้งขยะ” ของคนญี่ปุ่น… กลายเป็นวัฒนธรรมของทั้งประเทศ

ในญี่ปุ่น ขยะ ไม่ใช่แค่ของเสียที่ “ทิ้งแล้วจบ” แต่เป็นสิ่งที่ต้อง “จัดการ” อย่างใส่ใจ เพราะตั้งแต่ปี 1990 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายระดับชาติในการลดการใช้หลุมฝังกลบ ลดปริมาณขยะ และส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างจริงจัง ทำให้ท้องถิ่นทั่วประเทศออกมาตรการเสริมที่เข้มงวด และคนญี่ปุ่นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
♻️ การแยกขยะในญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้
1️⃣ ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง และกล่องกระดาษ
- ล้างให้สะอาด
- แยกฝาออกจากขวด (ฝา = พลาสติก / ขวด = รีไซเคิล PET)
- กล่องต้องแกะและพับ
- กระป๋องสเปรย์ต้องเจาะรูระบายแก๊สก่อนทิ้ง
2️⃣ ขยะเผาได้ เช่น ขยะเปียกในครัว ทิชชู่ ผ้าพันแผล พลาสติกเปื้อนคราบอาหาร ฟองน้ำล้างจาน เป็นต้น
3️⃣ ขยะเผาไม่ได้ เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระจก และเครื่องปั้นดินเผา
4️⃣ ขยะชิ้นใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่
ต้อง “จองล่วงหน้า” ผ่านโทรศัพท์หรือออนไลน์
ซื้อ “สติ๊กเกอร์เฉพาะ” มาติดก่อนนำออกไปทิ้งตามเวลาที่กำหนด
📆 เรื่องแปลกแต่จริงเกี่ยวกับการทิ้งขยะในญี่ปุ่น
✅ ถ้าทิ้งขยะผิดประเภทหรือไม่ล้างให้สะอาด เจ้าหน้าที่ อาจติดโน้ตเตือน หรือ ส่งขยะคืนกลับ มาที่หน้าบ้าน
✅ ญี่ปุ่น แทบไม่มีถังขยะสาธารณะ แต่เมืองสะอาดมาก เพราะคน พกขยะกลับบ้าน หรือหาทิ้งตามจุดที่กำหนด
✅ บางพื้นที่ต้องเขียนชื่อบนถุงขยะ โดยเฉพาะขยะชิ้นใหญ่หรือขยะผิดกฎ เพื่อให้ตามตัวเจ้าของได้
✅ ต้องรู้ “ปฏิทินขยะ” เพราะแต่ละวันจะเก็บขยะแต่ละประเภทแตกต่างกัน ใครทิ้งผิดวัน จะไม่เก็บ
👉 รู้หรือไม่? สิ่งของหลายอย่างที่เราเคยคิดว่า "รีไซเคิลได้"
ในญี่ปุ่น กลับถูกจัดเป็น “ขยะเผาได้” เพราะทำจากพลาสติกหลากชนิดยากต่อการรีไซเคิล และมักปนเปื้อนคราบอาหารหรือสารเคมี เช่น
ส้อม ช้อน หลอดพลาสติกทั่วไป
แปรงสีฟัน
เครื่องเขียน (ปากกา ดินสอกด และไม้บรรทัด)
ของเล่นพลาสติก
🌟 ไอเทมเก๋ๆ ที่ช่วยให้ทิ้งขยะในญี่ปุ่นง่ายขึ้นแบบนึกไม่ถึง
🇯🇵 ผงแข็งตัวน้ำมัน - เปลี่ยนน้ำมันทอดเหลือใช้ให้แข็ง ทิ้งง่าย และไม่เลอะ
🇯🇵 มีดลอกฉลากขวด PET - ลอกฉลากออกง่าย แยกรีไซเคิลได้เป๊ะ
🇯🇵 เครื่องหั่นขวด PET เป็นเส้นพลาสติก - แปลงขวดน้ำเป็นเชือก DIY ใช้ต่อได้จริง
🌱เพราะที่ญี่ปุ่น ขยะไม่เคยจบแค่การทิ้ง
✅ ทุกคนตระหนักถึง “ปลายทางของขยะ”
✅ มีวินัยในการแยกขยะอย่างเป็นระบบ
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ญี่ปุ่นสะอาด เป็นระเบียบ และบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
“ขยะ” ไม่ได้หายไปไหน แต่มันจะกลับมาหาเราในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ยิ่งแยกให้ถูก ยิ่งลดภาระโลก ลดภาระโรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการรีไซเคิล
ลองย้อนกลับมาถามตัวเองว่า…
🇹🇭 เราพร้อมแค่ไหนที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงในแบบของเรา?
เพราะ “ขยะ” ไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือหน้าที่ของเราทุกคน
เริ่มง่ายๆ ได้ที่ตัวเรา แยกขยะวันนี้ เพื่อโลกที่ดีกว่าในวันข้างหน้า 🌏♻️
.
เรื่องและภาพ: พรปวีณ์ ธรรมวิชัย & ทักษิณ แซ่เตียว Economist, Bnomics
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
#แยกขยะ #รีไซเคิล #สิ่งแวดล้อม #TheGreatGreenTransition #ธนาคารกรุงเทพ #Bnomics #BBL #BangkokBank
โฆษณา