25 มี.ค. เวลา 14:10 • การศึกษา

❤️กฎหมายใหม่ ห้ามลงโทษบุตร📚

คือ สามารถทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน หรือปรับพฤติกรรมได้ แต่ต้องไม่ทารุณกรรม ต้องไม่ทำร้ายด้วยความรุนแรง ต่อร่างกาย หรือจิตใจ และไม่ทำด้วยวิธีที่มิชอบ เช่น ทำโทษด้วยวิธีการอันเป็นการด้อยค่า หรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ️ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2568 มาตรา 1567 (2) นั่นเอง✨️
📚ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ"
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย"
📚โดย️พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 25 การทำโทษบุตร
มาตรา 3 ได้มีการยกเลิกข้อความใน (2) ของมาตรา 1567 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากเดิม
❎️ มาตรา 1567 (2) บัญญัติไว้ว่า
(2)ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
มาเป็น...
✅ ️มาตรา 1567(2) บัญญัติไว้ว่า
ทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนหรือปรับพฤติกรรม โดยต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรม หรือทำร้ายด้วยความรุนแรงต่อร่างกายหรือจิตใจ หรือกระทำโดยมิชอบ
📍 ซึ่งมีผลบังคับใช้ วันที่ 25 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป
✨️ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ มีการบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว การลงโทษนั้นหลายกรณีกลับกลายเป็นการกระทำในลักษณะทารุณกรรมหรือทำร้ายอันส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของบุตร เป็นการเฆี่ยนตีบุตร หรือจะทำโทษด้วยวิธีการอันเป็นการด้อยค่า
ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของบุตรและไม่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดหรือพฤติกรรมของบุตรที่จำเป็นต้องว่ากล่าวสั่งสอน อีกทั้งประกอบกับการปรับแก้ไขสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครองในการทำโทษบทนี้เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีข้อเสนอแนะทั่วไปฉบับที่ 8 ที่ออกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และประเทศไทยได้รับและให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามกลไก
โฆษณา