26 มี.ค. เวลา 15:15 • สุขภาพ

คีเลชัน ศาสตร์ดีๆ ที่ไม่ใช่สำหรับทุกคน

ช่วยนี้เทรนการแพทย์ทางเลือกกำลังมาแรง การบำบัดรักษาที่เป็นศาสตร์ดั้งเดิม ทั้งแผนไทย แผนจีน และศาสตร์ทางเลือกต่างๆ ถูกงัดขึ้นมาพูดถึงเป็นจำนวนมาก ทั้งจากเทรนการดูแลสุขภาพที่หลายคนให้ความสนใจ และจากการสนับสนุนของภาครัฐ
แต่อย่างไรก็ตาม ศาสตร์ทางเลือกจำนวนมากยังมีข้อจำกัดเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัย การหยิบมาใช้ จึงต้องคำนึงถึงเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคล
หนึ่งในศาสตร์ที่กำลังมาแรงในตอนนี้คือ คีเลชันบำบัด หรือ Chelation Therapy
ซึ่งเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ และการออกมาให้ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้กลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง
คีเลชันบำบัด (Chelation Therapy) เป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้สารคีเลต (Chelating Agents) เช่น EDTA (Ethylenediaminetetraacetic Acid) และ DMSA (Dimercaptosuccinic Acid) เพื่อจับและขับโลหะหนักออกจากร่างกาย ผ่านระบบไหลเวียนโลหิตหรือระบบทางเดินอาหาร เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท และสารหนู
สารคีเลตดังกล่าวสามารถจับกับไอออนของโลหะหนักในร่างกายแล้วขับออกผ่านทางปัสสาวะหรืออุจจาระ วิธีนี้ช่วยลดระดับโลหะหนักในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ ลดความเสี่ยงจากพิษของโลหะหนัก
นอกจากประโยชน์ในแง่ของการบำบัดภาวะพิษจากโลหะหนักเช่น ตะกั่ว ปรอท แล้ว
บางแหล่งยังพูดถึงขั้นว่า คีเลชันบำบัดมีส่วนต่อการรักษาภาวะบางอย่างเกี่ยวกับช่วยกำจัดแคลเซียมที่สะสมในหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว รวมไปถึงโรคทางระบบประสาทบางชนิดเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตาม มีความกังวลจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โรคหัวใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยชี้ว่าการทำคีเลชันบำบัด สารคีเลตอย่าง EDTA ซึ่งขับออกทางไตเป็นหลัก การกำจัดโลหะหนักอย่างรวดเร็วอาจทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น ผู้ที่มีโรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease - CKD) อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมเร็วขึ้น หรือในกรณีรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury - AKI)
นอกจากนี้ EDTA และสารคีเลตอื่น ๆ ไม่ได้จับเฉพาะโลหะหนักเท่านั้น แต่ยังสามารถจับแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะไม่สมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดลดลงของแคลเซียมอาจส่งผลต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิงในผู้หญิง ความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต หัวใจเต้นผิดจังหวัด ยังไม่นับผลกระทบหากเกิดการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิดการแพ้ยาขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น การเข้ารับการทำคีเลชันบำบัด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไต โรคหัวใจ เนื่องจากอาจเพิ่มภาระให้กับไตและส่งผลต่อสมดุลแร่ธาตุของร่างกาย และอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆที่ตามมา
อ้างอิง
โฆษณา