26 มี.ค. เวลา 03:29 • ปรัชญา
[197] อธิษฐาน หรือ อธิษฐานธรรม 4
ธรรมเป็นที่มั่น, ธรรมอันเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล, ธรรมที่ควรใช้เป็นที่ประดิษฐานตน เพื่อให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นที่หมายไว้ได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด และไม่เกิดสิ่งมัวหมอง หมักหมมทับถมตน,
*บางทีแปลว่า ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
(foundation; foundations on which a tranquil sage establishes himself; virtues which should be established in the mind)
1. ปัญญา
ความรู้ชัด คือ หยั่งรู้ในเหตุผล พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายจนเข้าถึงความจริง
(wisdom; insight)
2. สัจจะ
ความจริง คือ ดำรงมั่นในความจริงที่รู้ชัดด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจาจนถึงปรมัตถสัจจะ
(truthfulness)
3. จาคะ
ความสละ คือ สละสิ่งอันเคยชิน ข้อที่เคยยึดถือไว้ และสิ่งทั้งหลายอันผิดพลาดจากความจริงเสียได้ เริ่มแต่สละอามิสจนถึงสละกิเลส
(liberality renunciation)
4. อุปสมะ
ความสงบ คือ ระงับโทษข้อขัดข้องมัวหมองวุ่นวายอันเกิดจากกิเลสทั้งหลายแล้ว ทำจิตใจให้สงบได้
(tranquillity; peace)
ทั้ง 4 ข้อนี้ พึงปฏิบัติตามกระทู้ดังนี้
1. ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย
ไม่พึงประมาทปัญญา คือ ไม่ละเลยการใช้ปัญญา
(not to neglect wisdom)
2. สจฺจํ อนุรกฺเขยฺย
พึงอนุรักษ์สัจจะ
(to safeguard truthfulness)
3. จาคํ อนุพฺรูเหยฺย
พึงเพิ่มพูนจาคะ
(to foster liberality)
4. สนฺตึ สิกฺเขยฺย
พึงศึกษาสันติ
(to train oneself in tranquillity)
อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
โฆษณา