26 มี.ค. เวลา 06:27 • ธุรกิจ

อธิบาย เบสิกต้นทุน 3 แบบ Opportunity Cost, Depreciation, Sunk Cost พร้อมไอเดียการคำนวณ ไว้ใช้จริง

1. Opportunity Cost (ต้นทุนค่าเสียโอกาส) = ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเลือกทางเลือกหนึ่ง ทำให้เสียโอกาสในการได้รับผลประโยชน์ จากอีกทางเลือกที่มีมูลค่าสูงสุดในชอยซ์ที่เหลือไป
ตัวอย่างเช่น
สมมติว่าเรามี 2 แผนธุรกิจที่ต้องเลือกซึ่งจะใช้เงินลงทุน 1 ล้านบาท เท่ากัน
- แผนที่หนึ่ง: ใช้เงิน 1 ล้านบาท เปิดร้านกาแฟในซอยทองหล่อ คาดว่าจะทำกำไรได้เดือนละ 20,000 บาท
- แผนที่สอง: ใช้เงิน 1 ล้านบาท เปิดร้านไก่ทอดในซอยทองหล่อ คาดว่าจะทำกำไรได้เดือนละ 15,000 บาท
1
สรุปแล้วเราเลือกที่จะเปิดร้านกาแฟ
โดยเคสนี้ Opportunity Cost ของเรา คือการเสียโอกาสเปิดร้านไก่ทอด และเสียโอกาสในการสร้างกำไรเดือนละ 15,000 บาท จากการทำร้านไก่ทอด
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว Opportunity Cost ที่ว่านี้ ไม่ได้เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง
และเราก็ได้เลือกอีกทางเลือกที่ดีกว่า และใช้ทุนเท่ากัน คือเปิดร้านกาแฟ ที่จะได้กำไรเดือนละ 20,000 บาท
2. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) = ค่าใช้จ่ายที่ทยอยรับรู้จากสินทรัพย์ที่นำมาใช้ในการทำธุรกิจ แล้วเสื่อมโทรมลง
โดยวิธีการคิดคือ จะตัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่เราใช้ทำธุรกิจ เท่า ๆ กันทุกปี ซึ่งเราสามารถคิดได้จากสูตร
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน - มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
3
ตัวอย่างเช่น
เครื่องชงกาแฟมูลค่า 100,000 บาท คาดว่าสามารถใช้งานได้ 5 ปี
และมีราคาขายต่อ (มูลค่าซาก) หลังจากการใช้งาน 10,000 บาท
เพราะฉะนั้น ค่าเสื่อมราคาจะเท่ากับ (100,000 - 10,000) / 5 = 18,000 บาท ต่อปี
(ต้องหมายเหตุว่า วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา มีอีกหลายวิธี แต่วิธีนี้เป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุด)
ซึ่งค่าเสื่อมราคา ในทางบัญชีเราไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสดจริง ๆ ระหว่างทาง
แต่สุดท้าย พอเครื่องจักรหรือสินทรัพย์นั้นเสื่อมลงไปจนหมดอายุการใช้งาน
ถึงตอนนั้น เราก็ต้องเสียเงินซื้อของใหม่มาแทน
3. ต้นทุนจม (Sunk Cost) = ต้นทุนที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ว่าธุรกิจของเราจะดำเนินไปได้ดี หรือไม่ดี
1
เช่น เราลงทุนซื้อแฟรนไชส์ไก่ทอด แบรนด์ Holy Chix ด้วยเงิน 300,000 บาท มาเปิด
1
ไม่ว่าในปีแรก เราจะทำกำไรได้ 150,000 บาท หรือ 300,000 บาท หรือ 500,000 บาท
อย่างไรเราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าแฟรนไชส์ 300,000 บาท อยู่แล้ว
ดังนั้นคนที่จะเริ่มธุรกิจ ก็ต้องคิดถึง Sunk Cost หรือต้นทุนจมให้ดี ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนตอนแรกสูง ๆ มีต้นทุนจมสูง ๆ
เพราะฉะนั้น ก่อนเริ่มธุรกิจเราควรแจกแจงต้นทุนของเราให้ดี และลองประมาณการรายได้ของเราดูหลาย ๆ Scenario
เพื่อจะได้เห็นว่า รายได้ที่เราน่าจะทำได้ เทียบกับต้นทุนที่เสียไป ทั้งเป็นเงินจริงและไม่เป็นเงินจริง อย่างเช่น 3 ต้นทุนในบทความนี้
สุดท้ายแล้ว เราโอเคกับโมเดลธุรกิจของเราจริง ๆ ไหม
1
โฆษณา