Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NIA : National Innovation Agency
•
ติดตาม
26 มี.ค. เวลา 12:00 • ธุรกิจ
รู้จัก “ปัจจัยด้านสถาบัน” Institutions เสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม
📜 #GIISeries “ข้อระเบียบ (Regulations), กฎหมาย (Laws), นโยบาย (Policies) และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment)” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการเสริมสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมไทย
ซึ่งเกณฑ์การจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก หรือ GII หนึ่งใน 7 ปัจจัยที่ถูกใช้ในการคำนวณศักยภาพของประเทศด้านนวัตกรรม ก็คือ ปัจจัยด้านสถาบัน หรือ Institutions ซึ่งจะประกอบไปด้วย ตัวชี้วัดที่เป็นองค์ประกอบหลัก ‘3 ประการ’ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political Environment) สภาพแวดล้อมด้านระเบียบข้อบังคับ (Regulatory Environment) และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment)
หากข้อระเบียบ กฎหมาย นโยบาย และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีความเข้มแข็ง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม ช่วยสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม และส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น นำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
ภาพรวมคะแนนปัจจัยนี้ของประเทศไทยในปี 2024 อยู่อันดับที่ 74 ของโลก โดย “ปัจจัยด้านสถาบัน” มีเป้าหมายหลักเพื่อประเมินว่าระบบการกำกับดูแลของประเทศเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมมากน้อยเพียงใด ปัจจัยนี้ครอบคลุม กรอบกฎหมาย นโยบายภาครัฐ ประสิทธิภาพของระบบราชการ และเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการลงทุนด้านนวัตกรรม
ภายใต้ตัวชี้วัดนี้ ส่วนที่ NIA มีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ผ่านการทำงานควบคู่กัน 2 ทิศทางหลัก เริ่มจากตัวชี้วัดย่อยในด้านนโยบายความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Policies for Doing Business) ที่ NIA มีส่วนในการเป็นผู้นำในด้านการผลักดัน พ.ร.บ. สตาร์ทอัพ ซึ่งจะมีมาตรการสำคัญ สำหรับผลักดันระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยให้มีความเข้มแข็ง และเอื้อต่อการเติบโตได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
และอีกหนึ่งตัวชี้วัดย่อยภายใต้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจคือ นโยบายและวัฒนธรรมความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurships Policies and Culture) ซึ่งจะมาจากคะแนนเฉลี่ยในการรับรู้ของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการของประเทศ ดังนั้นในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านวัฒนธรรมความเป็นผู้ประกอบการของประเทศไทยให้โดดเด่น NIA จึงมีแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพในประเทศอย่างรอบด้าน
🎓 เริ่มตั้งแต่รั้วโรงเรียนผ่านแผนการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม ‘STEAM4INNOVATOR’ สำหรับเยาวชนที่ต้องการก้าวไปเป็นนวัตกร โดยบูรณาการความรู้ด้าน STEAM ผนวกกับกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม 4 ขั้นตอน ต่อเนื่องด้วยระดับมหาวิทยาลัยผ่าน ‘โครงการ Startup Thailand League’ เวทีการเรียนรู้ที่จะช่วยปลูกฝังแนวคิดและทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับเยาวชนในระดับมหาวิทยาลัย
ซึ่งจะมีทั้งการจัดอบรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมแข่งขันนำเสนอไอเดียธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่พร้อมออกสู่ตลาด โครงการนี้จึงถือเป็นรากฐานสำคัญของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ ที่จะสร้างผู้ประกอบการที่เติบโตมาเป็นกำลังสำคัญให้กับเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
📈 และนอกจากการพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรมให้กับกลุ่มเยาวชน NIA ก็เห็นความสำคัญในการส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กรให้กับภาคธุรกิจ โดยหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องมีคือการวัดผล ‘โครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Program: IOP)’ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินองค์กร ส่งเสริมให้มีการจัดการด้านนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะมีทั้งระบบประเมินแบบออนไลน์ การให้คำปรึกษา โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ และกลไกการสนับสนุนอื่นๆ ที่จะช่วยให้องค์กรมองเห็นโอกาสในการอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน
🧑🏻💼 แต่การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เห็นผลในระดับประเทศ จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนกันตั้งแต่ระดับผู้นำ เพื่อวางรากฐานกระบวนการคิดแบบนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation) ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้บริหารระดับกลางและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในระดับสูง โดยมีเป้าหมายในการปรับชุดความคิด วิธีการพัฒนากระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดและเป็นนวัตกรรม
📝อย่างที่รู้กันดีว่า การมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี จำเป็นต้องมีนโยบายในการส่งเสริมที่ตอบโจทย์ จึงเป็นที่มาของหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมสำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชน (Public and Private Chief Innovation Leadership: PPCIL)
ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้นำให้มีฐานคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้าง ที่สำคัญยังเป็นพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายผู้นำนวัตกรรมในอนาคต ที่จะสามารถผลักดันให้เกิดนวัตกรรมเชิงนโยบายได้ในที่สุด
🌎 อีกหนึ่งหลักสูตรที่ NIA มองเห็นถึงโอกาสในการสร้างผู้นำที่จะเป็นเครือข่ายการพัฒนาเชิงพื้นที่คือ ‘หลักสูตรผู้บริหารเมืองนวัตกรรม (Chief City Innovation Officer: CCIO)’ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจด้านนวัตกรรมให้กับกลุ่มบริหารระดับสูง (C-Level) ในการพัฒนาเมืองและชุมชน การวางแผนยุทธศาสตร์ การจัดการเมืองตามหลักสากล ที่องค์ความรู้ทั้งหมดจะถูกนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น จนสามารถช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานรากไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ
🤝🏻 ทั้งหมดนี้คือ การดำเนินงานของ NIA ที่ตอบ “ปัจจัยด้านสถาบัน” ของดัชนีนวัตกรรมโลก หรือ GII ซึ่งหากข้อระเบียบ กฎหมาย นโยบาย และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีความเข้มแข็ง ก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็น “ชาตินวัตกรรม” ต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจาก:
https://www.nia.or.th/2022/frontend/bookshelf/ORrZSAwRPuyUt/635a58327dbae.pdf
https://www.wipo.int/edocs/gii-ranking/2024/th.pdf
https://www.nia.or.th/GII-Indicator-Framework
https://www.nia.or.th/2022/frontend/bookshelf/ORrZSAwRPuyUt/635a58327dbae.pdf
https://techsauce.co/tech-and-biz/nia-startup-trends-2025
https://www.mcot.net/view/WgTsi0n3
https://iop.nia.or.th/#/dashboard
https://academy.nia.or.th/site/ppcil-2/
https://ccio.nia.or.th/#objective-section
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย