26 มี.ค. เวลา 10:15 • ท่องเที่ยว

Egypt (08) พีรามิดแห่งซักการา (The Pyramid of Saqqara or Djoser’s Pyramid)

พีรามิด เป็นสิ่งก่อสร้างของโลกโบราณที่น่าทึ่งมาก .. เสน่ห์จากความลึกลับ และคำถามต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพีรามิดที่ยังไม่มีคำตอบที่สมบูรณ์ ทำให้หลายคนหลงใหลในวัฒนธรรม อารยะธรรมของอียิปต์ที่เก่าแก่ด้านนี้
การศึกษาวิวัฒนาการของโครงสร้างของพีรามิดบอกเราว่า .. พีรามิดอันแรกที่เป็นต้นกำเนิดของพีรามิดที่โด่งดังของโลก ดังเช่น The Great Pyramid of Giza แท้จริงมีวิวัฒนาการมาจาก The Pyramid of Saqqara
.. บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปชมบรรพบุรุษแห่งพีรามิดทั้งหลายที่เมือง ซัคคาร่า กันค่ะ .. รวมถึงเรื่องราวของพีรามิด และ Mastabas ของกษัตริย์และขุนนางอื่นๆ ที่อยู่ในเมืองนี้อีกด้วย
เมืองซัคคาร่า ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ห่างจากไคโรราว 20 กม. เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยทะเลทราย
ซึกการ่า เป็นเมืองแห่งสุสานที่สำคัญของอียิปต์ ด้วยเหตุที่เมืองนี้มีสุสานของฟาร์โรห์ทั้งหมด 11 แห่ง แต่ปัจจุบันยังคงเหลือพีรามิดอยู่ไม่กี่แห่ง ที่สำคัญคือพีรามิดขั้นบันได แต่ยังมีสุสานของบุคคลสำคัญๆอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรเก่า
พีระมิดแห่งซักการา นับเป็นพีระมิดแห่งแรกของโลกและของอียิปต์ สร้างตั้งแต่ช่วงปี 2650 BC หรือนานราว 5,000 ปีมาแล้ว สร้างโดยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser หรือ Zoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 ในช่วงเวลาที่อียิปต์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพทางด้านการเมือง มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศต่างๆ เศรษฐกิจมั่งคั่ง
ในสมัยเริ่มต้นแห่งราชวงศ์ที่ 3 จึงมีการสร้างบ้านแปงเมือง สร้างพระราชวัง และมีความก้าวหน้าด้านสถาปัตยกรรม (An era of vision and invention) ซึ่งจะเห็นได้จากหมู่อาคารต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นและยังคงมีร่องรอยหรือเห็นได้จนปัจจุบัน .. ในสมัยราชวงศ์ที่ 3 จึงถือได้ว้าเป็นช่วงเริ่มต้นของ “ยุคทองของอียิปต์โบราณ”
Djoser Complex .. The birth of the pyramid
พีรามิดขั้นบันไดและหมู่อาคารและสิ่งก่อสร้างรอบๆ .. เป็นเพียงสถานที่ไม่กี่แห่งในโลกที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของโลก ด้วยเหตุที่เป็นการพลิกโฉมหน้าของการก่อสร้างที่เคยมีมาในโลก ด้วยการใช้หินก้อนใหญ่ๆมาสร้างสถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่โตมากๆ และเป็นครั้งแรกในการคิดสร้างอนุสรณ์สถานของผู้ปกครองในรูปแบบของพีรามิดขึ้น .. จารึกของราชวงศ์ที่ 19 กล่าวว่า ฟาร์โรห์ Djoser เป็นผู้ริเริ่ม Stone Architecture
ก่อนที่จะมีการสร้างพีรามิด สุสานของฟาโรห์จะสร้างอยู่ใต้ดินโดยปิดทับด้วยสิ่งก่อสร้างลักษณะสี่เหลี่ยมที่สร้างด้วยอิฐ (Mud Brick) ที่ไม่สูงมากนักเรียกว่า มัสตาบา (Mastaba) .. ฟาร์โรห์ในสมัยราชวงศ์ที่ 3 ต้องการให้สุสานของพระองค์แสดงออกถึงพลังอำนาจของพระองค์ที่เป็นอมตะแม้หลังความตาย
อิมโฮเทป (Imhotep) มหาปุโรหิต และที่ปรึกษาประจำองค์ฟาโรห์ .. ได้ออกแบบให้มีการสร้างสุสานของฟาร์โรห์ด้วยหิน เพื่อให้ฟาร์โรห์บรรลุพระประสงค์ และการริเริ่มนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก
อิมโฮเทป .. เริ่มแรกได้ออกแบบมัสตาบาสำหรับฟาร์โรห์ที่ยกตัวสูงจากพื้นดิน และเขาได้เพิ่มความสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น “พีรามิดขั้นบันได” องค์แรก มีรูปลักษณ์สื่อถึงบันไดทางขึ้นสู่สวรรค์สำหรับฟาร์โรห์ และลงจากสวรรค์มาเยือนโลกมนุษย์
หมู่อาคารของสุสานแห่งองค์ฟาร์โรห์ ณ ที่แห่งนี้มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีความซับซ้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งในอียิปต์ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นทั้งสถานที่พักชั่วนิรันดร และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการรวมกิจทางการปกครองและกิจทางศาสนาเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว
พีรามิดขั้นบันได .. บันไดสู่ความเป็นนิรันดร
The Entrance and the Hall Column
“กำแพงพวกนี้ดูแปลก รูปทรงเหมือนบางอาคารเรียนในลอสแองเจลิส ..นี่มันไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างแบบอียิปต์ ” … เป็นความรู้สึกแรกเมื่อฉันมองไปเห็นกำแพงด้านนอกที่ล้อมรอบพีระมิดขั้นบันไดที่มีลักษณะคล้ายๆกับอาคารปัจจุบันของสถาบันการศึกษาในโลกตะวันตกที่ฉันได้เคยพบและผ่านสายตามา
.. จินตนาการไม่ออกเลยว่า เมื่อหลายพันปีก่อน คนโบราณมีความฝัน มีแนวความคิดที่จะออกแบบสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้อย่างไร
กำแพงที่ปรากฏในสายตาตอนนี้ดูมันหมดจด มีความสมบูรณ์แบบของการก่อสร้าง รูปแบบล้ำสมัยมาตั้งหลายพันปี
… แต่แบบที่ออกมาก้าวกระโดด โดยไม่มีต้นแบบอื่นๆให้เป็นบทเรียนเพื่อต่อยอดออกมาเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น .. ต้องนับถือความเป็นอัจฉริยะระดับเทพของผู้ออกแบบก่อสร้างเลยล่ะค่ะ
ทางเข้าสู่หมู่อาคารและพีระมิดโจเซอร์มีทางเดียว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแนวกำแพง .. เมื่อข้ามเข้าสู่ด้านในจะมีทางเดินแคบๆ หลังคาเป็นหิน จนไปสิ้นสุดที่มุขทางออกสู่ลานหน้าพีรามิด
ด้านในมีเสาหินขนาดใหญ่ 40 ต้นเชื่อมให้ดูสวยงามด้วยกำแพงเล็กๆ เรียงรายอยู่ทั้ง 2 ด้านของทางเดินแคบๆ .. คาดกันว่าเสาที่ใหญ่โตนี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึง 40 เมืองต่างๆในเขตอียิปต์ตอนเหนือและตอนล่างในขณะนั้น
เมื่อสิ้นสุดโถงที่มีเสาหิน จะเป็นโถงสี่เหลี่ยมมีหลังคาค้ำยันด้วยเสาที่เตี้ยกว่าด้านในจำนวน 8 ต้น หลังคาส่วนนี้สร้างขึ้นมาใหม่ด้วยหินที่พังเกลื่อนกลาดบนพื้นในตอนนั้น
.. ดูจากความใหญ่โตของหินที่นำมาประกอบขึ้นใหม่ จินตนาการได้ไม่ยากว่า คงเป็นงานที่หินจริงๆ
คงยากลำบากไม่น้อยกว่าจะสามารถแยกแยะว่าชิ้นไหนจะต้องประกบกับชิ้นไหน ให้เข้ากันได้พอดี และเป็นรูปร่างอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
The Enclosure Wall
พีรามิดและสิ่งก่อสร้างต่างๆ อยู่ภายในบริเวณที่ล้อมรอบไปด้วยกำแพงหินสูงที่มีประตูหลอก 14 ประตู
แต่มีประตูจริงที่ชำรุดพังทลาย ซึ่งคาดว่าจะเป็นประตูที่เรียกว่า White Wall of Memphis ซึ่งเดิมเรียกว่า ineb-hedj
The Great Courtyard
มีลานกว้างที่ทอดยาวจากทิศเหนือของพีรามิดไปถึงทางใต้ของกำแพงหมู่อาคาร ตรงช่วงกลางๆของลานมีสิ่งก่อสร้างหินอยู่ 2 อาคารมีลักษณะของคานคลอดิน (Ground Floor)เป็นรูปตัว B ซึ่งคล้ายกับรูปพระจันทร์ครึ่งดวง
ยังไม่รู้แน่ชัดถึงวัตถุประสงค์ของอาคารนี้ แต่คาดว่ามีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมของราชสำนักในช่วงเทศกาล heb-sed (Jubilee) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อครั้งในวาระครองราชย์ครบ 30 ปี
เทศกาล heb-sed (Jubilee) เป็นเทศกาลทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดเทศกาลหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ … ในช่วงปีที่ 25 หรือปีที่ 30 ของการครองราชย์ จะมีการจัดเทศกาล heb-sed ขึ้น (ปกติจะมีภาพเขียนที่เล่าเรื่องบนกำแพง) ซึ่งจะเริ่มต้นในวันแรกของเดือน Tybi ซึ่งเป็นฤดูการหว่านเมล็ดพืชผลในแปลงเพาะปลูก โดยจะทำพิธีดั้งเดิมจะทำในสถานที่ที่สร้างด้วยใบไม้ กระดาษปาปิรัส หรือหน่อดอกบัว …
.. ฟาร์โรห์โจเซอร์ ต้องการให้พิธีและเทศกาลนี้มีความสำคัญมากขึ้น มีสถานที่จัดที่คงทนถาวร สถานที่จัดพิธีจึงเปลี่ยนมาใช้การสร้างด้วยหินแทน
.. พิธีจะเริ่มด้วยขบวนแห่ของนักบวชชั้นสูง และการแสดงจะทำในหลายๆอารามรอบๆลานพระราชวัง … ว่ากันว่า เมื่อเทพเจ้าอำนวยพรองค์ฟาร์โรห์ว่ามีจิตวิญญาณที่เหมาะสม องค์ฟาร์โรห์ก็จะต้องแสดงพลังทางร่างกายให้เห็นถึงความเหมาะสมนั้น ซึ่งการแสดงออกอาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยของฟาร์โรห์แต่ละพระองค์
… เช่น อาจจะมีการแสดงการต่อสู่กับวัวกระทิง การยิงธนู แต่ที่เห็นเป็นปกติ คือ การแข่งขันในลู่วิ่งในลาน และเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ฟาร์โรห์จะได้รับการสวมมงกุฎแห่งอำนาจสีแดงและสีขาวของอาณาจักรทั้งสอง เป็นครั้งที่ 2 (Double Coronation as the sovereign of upper and lower Egypt)
The Step Pyramid
พีระมิดโจเซอร์ (Djoser's Pyramid) .. “พีระมิดขั้นบันได” .. ถือกันว่าเป็นก้าวกระโดดของอียิปต์โบราณด้านสถาปัตยกรรมของสิ่งก่อสร้างที่ทำจากหิน บริเวณของพีระมิดประกอบด้วย ห้องฝังพระศพ วิหารพิธีศพ และวิหารบูชา ที่มารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เหนือห้องฝังพระศพสร้างเป็นพีระมิดแบบขั้นบันได 6 ชั้น
บริเวณอนุสรณ์สถานล้อมรอบด้วยกำแพงที่สร้างแบบกำแพงพระราชวังนักอียิปต์วิทยาเรียกอนุสรณ์สถานนี้ว่าพีระมิดคอมเพล็กซ์
“พีระมิดขั้นบันได” เดิมสูงราว 60 เมตร ยาวด้านละ 113 เมตรทางทิศตะวันออกและตะวันตก ยาว 107 เมตรทางด้านเหนือและใต้ ซึ่งสร้างจากรูปลักษณ์ของ มัสตาบาเดิมที่ออกแบบให้สูงแค่ 8 เมตร ..
พีรามิดเมื่อเริ่มสร้าง .. มีรูปแบบเป็นบันได 4 ชั้น แต่ต่อมาได้เพิ่มเป็น 6 ขั้น …บริเวณพีรามิดของ ฟาโรห์ดโจเซอร์ ไม่ได้มีแต่องค์พีรามิดเพียงอย่างเดียว รอบๆ องค์พีรามิดยังรายล้อมไปด้วยวิหาร แท่นบูชา ปะรำพิธี เฉลียงทางเดิน ห้องเก็บของและห้องโถง ซึ่งสอดรับและเอื้อประโยชน์หน้าที่ซึ่งกันและกันอย่างลงตัว รวมทั้งอุโมงค์ทางเดินอันสลับซับซ้อนอีกมากมาย
.. มีทางลงใต้พีรามิดยาว 28 เมตรไปถึงสถานที่ฝังพระศพ และมีระบบทางเชื่อมที่ซับซ้อน เพื่อใช้เป็นทางเข้า-ออก รวมถึงเป็นเส้นทางขนส่งสัมภาระ วัสดุต่างๆที่ใช้ในการก่อสร้างและตกแต่งพีรามิด
ด้านทิศใต้ของพีรามิด สามารถเห็นทางเข้าที่เป็นอุโมงค์ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน .. มีสิ่งของต่างๆที่ถูกค้นพบ เช่นยานพาหนะหินในหลายรูปแบบ จารึก จารึกที่ระบุพระนาม หรือจารึกเปล่า บางโถงยังมีภาพเขียนสีด้วย
โถที่ทำด้วยหิน Alabaster ที่พบใต้ฐานพีรามิดมีลักษณะพิเศษที่สำคัญสำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนา มีภาพเขียน และบัลลังก์ (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์) ทีสื่อถึงการสืบสานบัลลังก์ต่อไปในอนาคตอีกนับล้านๆปี
Ref : The Treasure of Saqqara by Essan Amin Abuo Alika
Imhotep มหาบุรุษแห่งอียิปต์โบราณ
อียิปต์ในยุคราชอาณาจักรเก่า การบูชาเทพเจ้าราคือศาสนาแห่งรัฐ .. เทพเจ้าราเปรียบเหมือนหัวหน้าเทพเจ้าของเหล่าเทพอื่นๆ .. ดังนั้น หัวหน้านักบวชชั้นสูงของวิหารเทพเจ้ารา จึงเป็นคนที่มีสติปัญหาฉลาดสุดของอียิปต์ หนึ่งในหัวหน้านักบวชนี้มีนามว่า “อิมโฮเตป”
“อิมโฮเตป” .. เป็นทั้งสถาปนิกหลวง และอัครเสนาบดีของฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) ฟาโรห์องค์แรก หรือคนที่ 2 ของราชวงศ์ที่ 3 มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเมมฟิส
เขาเป็นคนแรกที่บันทึกประวัติศาสตร์ของชาวไอยคุปต์ไว้ มีชื่อเสียงโด่งดังในความสามารถหลายอย่าง ทั้งเป็นนักเขียน เป็นหมอ เป็นนักบวชที่เรียนรู้หลักคำสอนของเฮลีออโปลีเทนและเป็นผู้ที่ค้นพบหลักวิชาดาราศาสตร์และสถาปัตยกรรม
ความฉลาดปราดเปรื่องของอิมโฮเทปทำให้ประชาชนเชื่อถือว่าเขาเกี่ยวข้องกับเทพองค์สำคัญ อย่างเช่น เทพปตาห์ (Ptah) และเทพธอธ (Thort)
คนในปัจจุบันได้ยินชื่อเสียงของอิมโฮเตป ในฐานะเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบพีระมิดแห่งแรกของโลกที่นักอียิปต์วิทยาเรียกว่า “พีระมิดขั้นบันได” หรือมาสตาบาแห่งโจเซอร์ที่ซักการา ใกล้ ๆ กับเมืองเมมฟิส
สัญลักษณ์ของอิมโฮเทปเป็นนักบวชโกนศีรษะ นั่งหรือคุกเข่าบนม้วนกระดาษพาไพรัส บางครั้งก็สวมกระโปรงยาวอย่างนักบวช ม้วนกระดาษพาไพรัสแสดงถึงแหล่งของความรู้ ส่วนการแต่งกายอย่างนักบวชนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ทางศาสนา
การขุดพบเศษกระเบื้องในบริเวณพีระมิดขั้นบันได ที่เป็นของฟาโรห์โจเซอร์ มีการบะรุชื่อของอิมโฮเตป แต่สุสานของอิมโฮเตปเอง ยังไม่ถูกค้นพบจนถึงทุกวันนี้
เมื่อมาถึงช่วงยุคปลายประมาณปี 600 BC รูปปั้นของอิมโฮเทปไม่ว่าจะทำจากทองสัมฤทธิ์หรือแม้กระทั่งรูปปั้นเล็กๆ รวมทั้งเครื่องรางของอิมโฮเทปล้วนแล้วแต่ออกมาให้เห็นจนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งรูปปั้นส่วนมากของอิมโฮเทปที่เราคุ้นเคยและเห็นบ่อยก็คือรูปของชายที่นั่งบนเก้าอี้ ศีรษะโล้นไม่มีผม และถือม้วนกระดาษปาปิรุสอยู่บนตัก
การบูชาอิมโฮเทปในฐานะเทพเจ้าขึ้นถึงสูงสุดในยุคปลายและยุคกรีก-โรมัน มีแท่นบูชามากมายสร้างเพื่อุทิศให้แด่อิมโฮเทปที่เมืองซักคาร่า เกาะฟิเล และเมืองธีปส์ บริเวณวิหารประกอบพิธีศพของฟาโรห์หญิงฮัตเซปซุต ที่เดียร์เอล-บาหรีย์ และวิหารแห่งเทพีฮาเทอร์ที่เดียร์ เอล-เมดินา
มีผู้มาแสวงบุญในยุคหลังๆมากมายที่ต้องการให้อิมโฮเทปในฐานะเทพเจ้าช่วยรักษาโรคให้ พวกเขาจะนำอวัยวะจำลองเช่นพวกแขนขา หรืออวัยวะที่พวกเขารู้สึกเจ็บป่วยมาวางไว้ และหวังว่าอิมโฮเทปและเทพเจ้าทั้งหลายจะช่วยรักษาให้หายได้
Ref : เนื้อความบางส่วนจาก Wikipedia และ
โฆษณา