Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Happiness Index
•
ติดตาม
27 มี.ค. เวลา 04:51 • หนังสือ
เตือนสติการเงินและการใชัชีวิตในสังคมที่เต็มไปด้วยภาพของการอวดรวย
ปัจจุบันโซเซียลมีเดียถือเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คนแทบทุกคน ที่มีไว้ใช้ติดตามข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร และแชร์สารของตนไปสู่สาธารณชน แต่การใช้งานส่วนใหญ่ของคนทั่วไปมักใช้รับสารข้อมูล ที่ไม่สามารถตอบได้เต็มปากว่าสารที่ได้รับนั้นเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ 100% หรือเปล่า?
และสิ่งที่ค่อนข้างจะเป็นปัญหาของคนวัยหนุ่มสาวที่กำลังเริ่มต้นสร้างตัวสร้างฐานะของตนนั้น คือความอยากได้อยากมีเมื่อเห็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันโพสต์ภาพ รถใหม่ป้ายแดง บ้านหลังใหญ่ หรือความหรูหราในการดำเนินชีวิตของเขา ทำให้เราเริ่มตัดพ้อกับตัวเองว่าทำไมเรายังไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินอย่างคนอื่นบ้าง
วันนี้ผู้เขียนจึงอยากจะมาแชร์แนวคิดและประสบการณ์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ "The Psychology of Money" หรือชื่อภาษาไทยคือ "จิตวิทยาว่าด้วยเงิน"
1. ความร่ำรวยกับความมั่งคั่ง ความนิยามต่างกันอย่างลึกซึ้ง
ความร่ำรวย คือสถานะรายได้ในปัจจุบัน เช่นคนที่ขับรถคันละ 1 ล้านก็เรียกว่าร่ำรวยได้แล้ว เพราะถึงแม้จะเป็นเงินที่ได้มาจากการกู้ซื้อรถ เขาก็ต้องมีรายได้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจะจ่ายค่างวดได้ เช่นเดียวกันกับบ้านหลังโต คนรวยนั้นหาไม่อยากเพราะเขามักทำตัวเองให้โดดเด่นเห็นชัด แต่ความมั่งคั่งนั้นถูกซุกซ่อนอยู่ มันคือรายรับที่ไม่ถูกจ่ายออกไป คือทางเลือกที่ยังไม่ถูกนำไปซื้ออะไร คุณค่าของมันคือการที่ให้คุณมีทางเลือก มีความยืดหยุ่นในชีวิตมากขึ้น
2. บางคนประสบความสำเร็จแค่ระดับพื้น แต่ใช้เงินมหาศาลจากเงินเดือนไปกับการซื้อรถ
ในตอนหนึ่งของหนังสือได้เล่าว่า ผู้เขียนมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งชื่อว่า โรเจอร์ ที่ไม่รู้ว่าเขาทำอาชีพอะไรแต่เขาขับรถพอร์ช ซึ่งทำให้คนรอบข้างคิดว่าเขาประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ในวันหนึ่งเขากลับมาพร้อมกับรถฮอนด้าเก่าๆคันหนึ่ง ผู้เขียนจึงถามไปว่ารถพอร์ชของคุณอยู๋ไหน เขาตอบมาว่า"มันถูกสินเชื่อยึดไปแล้วหลังจากผมผิดนัดชำระหนี้" และในสังคมปัจจุบัน ก็เต็มไปด้วยคนอย่างโรเจอร์
3. เรามีแนวโน้มจะตัดสินความมั่งคั่งจากสิ่งที่เราเห็น เพราะมันคือสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า เราไม่เห็นเงินในบัญชีหรือหลักฐานทางการเงินของเขา นั่นทำให้เราใช้รูปลักษณ์ภายนอกประเมินความสำเร็จของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น รถ บ้าน หรือรูปถ่ายในอินสตาแกรม
4. เวลาที่คนส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาต้องการเป็นเศรษฐี สิ่งที่พวกเขาอาจหมายถึงจริงๆ ก็คือ "ฉันต้องการใช้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งล้านดอลลาร์" และนั่นคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเศรษฐีจริงๆโดยสิ้นเชิง
5. บิลล์ แมนน์ เคยเขียนเอาไว้ว่า "ไม่มีวิธีไหนที่ทำให้รู้สึกรวยเร็วไปกว่าการใช้เงินไปกับสิ่งของหรูหราต่างๆ แต่หนทางสู่ความร่ำรวยนั้น คือการใช้เงินที่คุณมี และไม่ใช้เงินที่คุณไม่มี มันเป็นเรื่องง่ายๆเพียงเท่านี้"
6. แน่นอนว่าคนที่มั่งคั่งก็ยังใช้จ่ายเงินจำนวนมากไปกับการซื้อสิ่งของ ซึ่งในกรณีนี้เราเห็นเพียงแต่ความร่ำรวยของเขา รถที่เขาขับ โรงเรียนที่ลูกเขาเรียน บ้านที่เขาอาศัยอยู่ แต่เราจะไม่เห็นเงินในบัญชีเงินฝาก บัญชีเกษียณ หรือพอร์ตการลงทุนของเขาเลย เงินที่เขาจ่ายไปตลอดทั้งปีนั้น อาจเป็นจำนวนเพียง เศษ1ส่วน4ของรายรับทั้งหมดเขาก็ได้
7. ลึกลงไปแล้วผู้คนต่างต้องการความมั่งคั่ง เพราะพวกเขาต้องการอิสระและความยืดหยุ่นที่สินทรัพย์ของเขาให้ได้ แต่มันกลับฝั่งรากลึกลงไปในตัวเราว่าการมีเงินคือการใช้เงินอย่างอู้ฟู่ โดยหารู้ไม่ว่าความมั่งคั่งที่แท้นั้นจำเป็นจะต้องยับยั้งชั่งใจจึงจะได้มันมา
โลกเต็มไปด้วยผู้คนที่ดูสมถะแต่แท้จริงแล้วมั่งคั่ง และเต็มไปด้วยผู้คนที่ดูร่ำรวยแต่อยู่บนคมดาบแห่งความล้มละลาย จงจำสิ่งนี้ไว้ให้ขึ้นใจในเวลาที่คุณกำลังตัดสินความสำเร็จของผู้อื่นและตั้งเป้าหมายของตัวคุณเอง มันยากที่จะยับยั้งช่างใจไม่ให้เดินไปตามกระแสสังคมของคนส่วนใหญ่ แต่จากข้อมูลแล้วในบรรดาประชากรทั้งโลกนี้ มีเพียง 1% เท่านั้นที่เป็นผู้มั่งคั่งที่แท้จริง แล้วเพื่อนๆยังอยากเป็นอย่างคนส่วนใหญ่ 99% อยู่หรือเปล่าครับ
ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ The Psychology of Money จิตวิทยาว่าด้วยเงิน เขียนโดย คุณ Morgan Housel แปลไทยโดย คุณ ธนิน รัศมีธรรมชาติ
หากชื่นชอบเนื้อหาบทความเหล่านี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจ Happiness Index เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน และเพื่อที่ท่านจะไม่พลาดเนื้อหาบทความแบบนี้ในอนาคต
หากมีข้อติชมใดๆ รบกวนคอมเมนต์ เพื่อให้ผู้เขียนได้นำไปพัฒนาต่อไป
ขอบคุณสำหรับทุกการสนับสนุนครับ
#แรงบันดาลใจ
#ปรัชญา
#ชีวิต
#ทัศนคติ
#happinessindex
พัฒนาตัวเอง
การเงิน
การใช้ชีวิต
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย