27 มี.ค. เวลา 09:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ถอดแนวทางเสริมศักยภาพธุรกิจ ผ่านบทบาท AI บริหารอย่างไรให้มั่งคั่ง?

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - Finnomena ถอดแนวทางเสริมศักยภาพธุรกิจ ยกระดับบทบาทของ AI สำหรับการบริหารความมั่งคั่ง
26 มีนาคม 2568 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Finnomena ฟินเทคสตาร์ตอัปสัญชาติไทย ได้เปิดเผยแนวทางในการยกระดับ AI เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจ พร้อมสะท้อนถึงความท้าทายที่ต้องเผชิญ ทั้งในแง่ของความน่าเชื่อถือ การควบคุมความเสี่ยง และการสร้างความร่วมมือระหว่างมนุษย์กับ AI เพื่อให้การบริหารความมั่งคั่งมีประสิทธิภาพสูงสุด
นายถิรพันธุ์ สรรพกิจ รองผู้จัดการและหัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสาระสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการเริ่มต้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ พยายามเอา AI ไปวางไว้ในมือของ Business ก่อน
ถอดแนวทางเสริมศักยภาพธุรกิจ ผ่านบทบาท AI บริหารอย่างไรให้มั่งคั่ง?
แล้วค่อยรับโจทย์จากเทคโนโลยี หรือจากลูกค้า พอเขารู้ว่าเทคโนโลยีทำตรงนี้ได้ ก็ให้เขารับโจทย์มาแล้วเอาไปทำ แต่ความท้าทายจริง ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ คือ เราเป็นหน่วยงานที่มีความเชื่อมั่นสูง ฉะนั้น การเอามาใช้ต้องมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง
ต้องยอมรับว่า AI ช่วงแรก ๆ ต้องมีการทดสอบ การใช้ข้อมูลให้ถูกต้อง ถึงจะเป็น Consumer ไม่ใช่ใช้ทำงานทั่ว ๆ ไป เป็นการทำงานด้านการเงิน ตรงนี้เป็นหมุดหมายสำคัญที่เราจะสร้างความน่าเชื่อถืออย่างไร จะเห็นได้ว่าเซอร์วิสต่าง ๆ ที่มี “Human in the loop” โดยเฉพาะถ้าเป็น Public ก็ควรมาดูอีกรอบว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะสุดท้ายมนุษย์ก็ยังต้องมาคอยดำเนินการอยู่ แต่ถ้าถึงจุดหนึ่งที่ไปถึงระดับ Agentic Multimodal ที่มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น เราอาจจะค่อย ๆ มั่นใจ และ Release
อย่างไรก็ตาม การ Release โดยใช้แค่ AI ตนคิดว่าต้องเขียนให้ชัดเจนว่าข้อมูลนี้สร้างโดย AI ฉะนั้น ต้องเข้าใจว่าอาจจะมีโอกาสถูกหรือมีโอกาสผิด ถ้ามีคนตรวจทานอีกรอบอาจจะไม่ Release แต่ถ้า AI ออกมาเลยจะ Release เสมอ
ด้านนายกสิณ สุธรรมมนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหน่วยลงทุน Finnomena กล่าวว่า ธุรกิจของ Finnomena เป็นผู้แนะนำการลงทุน ฉะนั้น ในแต่ละช่วงเราบอกนักลงทุนว่า วันนี้ถ้ามีเงินอยู่ คุณเอาไปลงทุนอะไรดี สมมติว่า คุณแชตกับ Finnomena แล้ว AI บอกว่า ให้เอาเงิน 1 ล้านซื้อกองทุนหุ้นจีน จะซื้อไหม ?
กับแบบที่ 2 มีที่ปรึกษาด้านการเงินบอกว่าจีนดีแบบนั้นแบบนี้ ซื้อ AI กองนี้ 3 เดือนให้น่าจะได้กำไร คุณเชื่อแบบไหนมากกว่า ? ก็ต้องแบบ 2
การให้คำแนะนำผู้คน แนะนำด้านการเงิน ต้องใช้คนในการยืนยันอยู่ ธุรกิจของ Finnomena ปีแรก ๆ ตั้งใจที่จะไม่ใช้คนเยอะ เน้นใช้เทคโนโลยี แต่ทำไปได้ 2 ปี บริษัทไม่โต จึงเปลี่ยนเอาคนเข้ามาด้วย ฉะนั้น ธุรกิจการเงินในไทยยังต้องใช้คนอยู่อีกเยอะ ซึ่งคล้าย ๆ กับต่างประเทศ
ถอดแนวทางเสริมศักยภาพธุรกิจ ผ่านบทบาท AI บริหารอย่างไรให้มั่งคั่ง?
นายกสิณกล่าวต่อว่า การนำ AI มาใช้สำหรับธุรกิจการเงิน ตนมองว่า สถาบันการเงินอยากให้เอาทุนมาใช้เองอยู่แล้ว เพราะถ้าเอาทุนมาใช้เยอะ ต้นทุนในการบริการก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น แต่วันนี้ AI พร้อมหรือยัง ที่จะเดินออกไปให้บริการ คำตอบ คือ ยังไม่พร้อม
ดังนั้น สถาบันการเงินไหนที่จะเอา AI มาใช้ ต้องระวัง 3 อย่าง คือ AI ตอบอะไรผิดข้อกฎหมายหรือไม่ คนที่แนะนำการลงทุนได้ต้องให้ข้อมูลอย่างถูกต้องจากสำนักงานก่อนจะตอบ ซึ่ง AI จะมีระบบตัดไม่เข้ามาดูก่อนที่จะตอบให้นักลงทุนดูจริงๆ ว่ามันถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
สอง คือ AI เหมือนคนที่เราคลอดออกมา เราจะสอนเขาในแนวไหน ขึ้นอยู่กับเราให้อะไรเขาไป AI เกิดขึ้นมาแล้ว ถ้าเอา Data ไปสอนแบบไม่ถูกต้อง AI ก็จำผิด
สาม คือ Human AI Collaboration วันนี้ AI ยังไม่ได้ทดแทนมนุษย์ 100% โดยที่ Finnomena มีที่ปรึกษาทางการเงินประมาณ 2,700 คน กระจายทั่วประเทศ การจะคุยกับคน 2,700 คนทุกวันมันหนัก ตนจึงเอา AI มาบอกที่ปรึกษา คือ สมมติว่า Finnomena เอากองทุนจีนหรือกองทุนไทย 1 กองทุนมา จะทำอย่างไรให้ที่ปรึกษา 2,700 คน พูดถึงกองทุนกองเดียวกัน มันยาก เพราะแต่ละคนจะมีไอเดียเป็นของตัวเอง แต่สุดท้ายเขามาถาม Finnomena ที่เป็นตัวกลาง จะรู้ว่ามุมมองกลางของบริษัทเป็นอย่างไร การให้บริการ คำแนะนำต่าง ๆ ก็จะง่ายขึ้น
นายกสิณ กล่าวโดยสรุปว่า AI เข้ามาช่วยในปัจจุบัน แต่วันนี้อาจจะต้องประกอบกับการให้คนเข้าไปบริการเสริมด้วย ในเรื่องของ Human AI Collaboration นั่นเอง
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/wealth/stock-investment/245566
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา