Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
27 มี.ค. เวลา 16:08 • สุขภาพ
อวดร่ำอวดรวย ใจสนอง หรือสมองสั่ง
ในยุคที่ใครๆก็เรียกหาการยอมรับจากสังคมโลกกว้าง โชเชียลมีเดีย กลายเป็นช่องทางของการนำเสนอตัวตน เรียกร้องความสนใจด้วยหลายแง่มุม ทั้งความเก่ง ความสำเร็จ รูปร่างหน้าตา และสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่สุด "ค ว า ม ร ว ย"
มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ แต่ถ้าไม่มี ไม่ได้เป็นอะไรทั้งนั้น สิ่งนี้ไม่ต่างกันในมุมมองของสังคมชั้นสูง ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน ความรวยคือสิ่งที่ใช้ตีค่าคนในสังคม ผู้คนมากมายจึงพยายามแสดงให้เห็นในทุกทางว่า ตนก็มั่งก็มี ก็ไม่น้อยหน้าใคร ไม่ว่าจะต้องเจ็บแค่ไหน หมดแค่ไหน เป็นหนี้จนเหมือนตกนรกทั้งเป็นแค่ไหนก็ตาม
ว่าแต่ แรงขับทางสังคม เป็นปัจจัยเดียว ที่ทำให้คนเราอยากแสดงตัวว่าร่ำว่ารวย จริงหรือ?
ความอวดร่ำอวดรวย" หรือ Conspicuous Consumption เป็นแนวคิดที่อธิบายพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างสถานะทางสังคม ทั้งในทางจิตวิทยาและสรีรวิทยา นอกจากทฤษฎีทางสังคมแล้ว พฤติกรรมนี้มีรากฐานมาจากกลไกของสมองที่เกี่ยวข้องกับกลไกที่เรียกว่า reward system อีกด้วย
Mesolimbic Dopamine System เกี่ยวข้องโดยตรง กับ reward system ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับที่ทำงานเมื่อได้รับสิ่งเร้าทางบวก เช่น อาหาร, การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, หรือการเสพติดต่างๆ นิวเคลียสแอคคัมเบนส์ (Nucleus Accumbens, NAc) เป็นศูนย์กลางของระบบรางวัล เมื่อบุคคลแสดงความมั่งคั่งหรือได้รับการยอมรับจากสังคม สมองจะปล่อย โดพามีน (Dopamine) ทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ
1
ยิ่งคนไลค์ คนแชร์ ว่าปั๊ว ว่าปัง ว่าแม่อย่างนั้นอย่างนี้ ระบบดังกล่าวยิ่งถูกกระตุ้นซ้ำ
หรือ Reinforcement Loop เมื่อคนอวดรวยและได้รับความสนใจจากผู้อื่น สมองจะเรียนรู้ว่านี่คือพฤติกรรมที่ให้รางวัล และกระตุ้นให้ทำซ้ำไปเรื่อยๆ
ออกซิโทซิน (Oxytocin) นอกจากกลไกเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเรียบแล้ว ยังเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ทางสังคมและการสร้างความไว้วางใจ พฤติกรรมการอวดร่ำอวดรวยสามารถช่วยให้บุคคลสร้างสถานะหรือกลุ่มสังคมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจสร้างให้เกิด in-group bias คือการแบ่งแยกทางสังคม โดยบุคคลที่ร่ำรวยอาจรู้สึกว่า "กลุ่มของตน" เหนือกว่าผู้อื่น
1
ที่ว่ามาทั้งหมดขัดแย้งกับฝั่งเหตุผลของสมอง คือ Prefrontal Cortex เป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจและการควบคุมตนเอง ยิ่ง reward system ทำงานมาก ฝั่งเหตุผลอย่าง Prefrontal Cortex ต้องใช้เวลาในการไตร่ตรองและประมวลผล ตามไม่ทันอารมณ์ หากด่วนตัดสินใจ ยิ่งใช้อารมณ์มาก การคิดยิ่งรอบคอบทำได้ยาก
จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นได้
คนที่มี self-control ต่ำ อาจมีการทำงานของ dorsolateral prefrontal cortex (dlPFC) ที่ลดลง ทำให้มีแนวโน้มจะใช้เงินเกินตัวเพื่อความพึงพอใจระยะสั้น พอนานวัน ก็จะยิ่งพอกพูนหนี้ สุดท้ายก็จะติดกับดัก นำไปสู่ความลำบากระยะยาว การตัดสินใจในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่แค่เรื่องเงิน ยังรวมถึง เรื่องเพศ ความสัมพันธ์ การกิน การใช้ชีวิต และเรื่องอื่นๆ
ยาที่จะป้องกันการอวดร่ำอวดรวยอย่างได้ผล มี 3 ตัว 1. อย่าใส่ใจความเห็นคนอื่นเกินความเป็นจริง เพราะที่จริงแล้ว ไม่ได้มีใครสนใจเราขนาดนั้น 2. อยากซื้อ อยากได้อะไร ให้ทิ้งเวลาไว้สักระยะ รอจน reward system อ่อนแอลง Prefrontal Cortex เข้มแข็งขึ้น เมื่อนั้นเราจะตัดสินใจได้ว่า อะไรสำคัญหรือไม่สำคัญ ควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ ก็จะลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้
ข้อที่ 3. คือหมั่นศึกษาหาความรู้ด้านการเงิน การลงทุน ใช้เงินที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด คำนึงถึงเหตุผล ก่อนหน้าตาเสมอ เท่านี้ ก็จะไม่มีหนี้พอกพูนโดยไม่จำเป็น
อ้างอิง
Berridge, K. C., & Kringelbach, M. L. (2015). Pleasure systems in the brain. Neuron, 86(3), 646-664.
https://doi.org/10.1016/j.neuron.2015.02.018
Schultz, W. (2015). Neuronal reward and decision signals: From theories to data. Physiological Reviews, 95(3), 853-951.
https://doi.org/10.1152/physrev.00023.2014
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
ข่าว
4 บันทึก
15
7
3
4
15
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย