29 มี.ค. เวลา 05:00 • ท่องเที่ยว

อภิชา แย้มเกษร SALOTTO

Salotto อีกหนึ่งชื่อที่วงการกาแฟต่างก็คุ้นหูกันเป็นอย่างดี ในฐานะผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จากกาแฟทุกรูปแบบ ทั้งเครื่องบดเครื่องคั่ว เครื่องชง รวมถึงเมล็ดกาแฟ ภายใต้การนำของคุณติ๊ก (อภิชา แย้มเกษร) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซาลอตโต้ จำกัด ผู้มีประสบการณ์ในวงการกาแฟมามากกว่า 15 ปี
Salotto อีกหนึ่งชื่อที่วงการกาแฟต่างก็คุ้นหูกันเป็นอย่างดี ในฐานะผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จากกาแฟทุกรูปแบบ ทั้งเครื่องบด เครื่องคั่ว เครื่องชง รวมถึงเมล็ดกาแฟ อย่างไรก็ตาม Salotto ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำเข้าเท่านั้น แต่ยังเป็นโรงคั่วกาแฟชื่อดัง ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากร้านกาแฟ ภายใต้การนำของคุณติ๊ก (อภิชา แย้มเกษร) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซาลอตโต้ จำกัด ผู้มีประสบการณ์ในวงการกาแฟมามากกว่า 15 ปี
“ผมเปิดร้าน Salotto สาขาแรกในปี 2547 เป็นร้านกาแฟเล็ก ๆ ถามว่าตอนนั้นรู้เรื่องกาแฟไหม คำตอบคือไม่รู้อะไรเลย โชคดีที่ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนที่เปิดร้านที่เชียงใหม่ก่อนเราสัก 1 - 2 ปี แต่ด้วยความที่เราเป็นคนซน อยากรู้อยากเห็น ผมจึงอยากเรียนรู้เรื่องกาแฟเพิ่มเติม ผมเริ่มศึกษาเรื่องกาแฟอย่างจริงจังครั้งแรกที่ดุสิตธานี ส่วนเทคนิคการชงกาแฟ ผมเรียนรู้จากเพื่อนที่เคยเป็นรูมเมทกันสมัยเรียนมหาวิทยาลัยที่บางแสน”
ด้วยความเป็นคนที่รักในการทดลอง ประกอบกับความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ร้านกาแฟ Salotto กลายเป็นที่รู้จักในหมู่คอกาแฟอย่างรวดเร็ว และด้วยรสชาติที่ดี จากวิธีการชงที่ง่าย จึงทำให้พอเปิดร้านไปได้ระยะหนึ่ง ก็เริ่มมีคนสนใจเข้ามาเรียนรู้เทคนิคการชงกาแฟของ Salotto มากขึ้น
ซึ่งนั่นทำให้คุณติ๊กเริ่มมองเห็นถึงความต้องการความรู้และคุณภาพในการชงกาแฟที่กำลังเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้องการหาคำตอบว่าสิ่งที่ตัวเองรู้นั้นถูกต้องหรือไม่ จึงได้ตัดสินใจไปศึกษาต่อที่ The American Barista & Coffee School ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
“หลังจากเรียนจบกลับมา มันก็เริ่มมีการขยายงานมากขึ้น นอกจากเปิดร้านกาแฟแล้ว เรายังมีการขายเมล็ดกาแฟ แล้วก็การทำ product อื่น ๆ ที่ใช้ในร้านกาแฟ อย่างพวกช็อกโกแลต ชาไทย ชาเขียว วัตถุดิบที่ใช้ในร้านกาแฟ ตอนนั้นมันเริ่มขยายไปเรื่อย ๆ เพราะเราก็เริ่มสอนด้วย แล้วก็เป็นตัวแทนนำเข้าเครื่องชงกาแฟต่าง ๆ แล้วก็ขยายขึ้นไปอีก จนมาเป็นตัวแทนขายเครื่องคั่ว พอมาขายเครื่องคั่ว เราเพิ่มส่วนงานในด้านเซอร์วิสและติดตั้งบริการเข้าไปด้วย”
ปัจจุบันที่เป็น version ที่ 8 ของ Tempesta ซึ่ง version นี้ เป็นเครื่องที่สมบูรณ์มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบ วัสดุ อุปกรณ์ Motor ที่ใช้ แล้วเราก็ผลักดันให้เขาไป certify มาตรฐาน CE
‣ สู่การเป็นตัวแทนนำเข้าเครื่องคั่วกาแฟระดับโลก
“หลังจากเปิดร้านได้ประมาณสองปี บังเอิญมีคนต้องการนำเข้าเครื่องคั่วกาแฟและขอให้ผมช่วยหารค่าขนส่ง แต่ตัวผมในตอนนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องคั่วกาแฟเลยแต่เรามีปัญหาเรื่องเมล็ดกาแฟอยู่ จากเหตุการณ์นั้นมันจึงทำให้เราต้องซื้อเครื่องคั่ว เครื่องคั่วเครื่องแรกผมต้องเอารถตัวเองไปขายเพื่อซื้อ แถมตอนนั้นก็ยังไม่รู้เลยว่าจะคั่วเป็นรึเปล่า ไม่รู้จะติดตั้งยังไงด้วย คือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเดียว
แต่นั้นก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิต เป็นแรงกดดันให้เราต้องคั่วกาแฟ พอได้เครื่องคั่วมา ก็ได้คุณ วุฒิพร Seat2Cup เป็นอาจารย์คนแรก แล้วหลังจากนั้นเราคั่วมาเรื่อย ๆ”
ย้อนกลับไปเมื่อสองปีก่อนที่การระบาดของโควิด-19 จะเริ่มขึ้น คุณติ๊กได้มีโอกาสรู้จักกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคั่วกาแฟในประเทศเวียดนาม ก่อนจะตัดสินใจร่วมมือกันเพื่อสร้างเครื่องคั่วกาแฟแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา ที่รู้จักกันในชื่อ Tempesta
“Tempesta จะผลิตจากโรงงานที่เวียดนาม ซึ่งตลอดเวลาเราก็จะคุณกับเขาว่าจะปรับปรุงพัฒนา Tempesta ยังไงให้ดีขึ้น ตั้งแต่ version ที่ 1 2 3 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่เป็น version ที่ 8 ของ Tempesta ซึ่ง version นี้เป็นเครื่องที่สมบูรณ์มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบ วัสดุ อุปกรณ์ Motor ที่ใช้ แล้วเราก็ผลักดันให้เขาไป certify มาตรฐาน CE เพราะการที่ผ่านมาตรฐาน CE มันเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าระบบไฟฟ้า
และการประกอบใน Tempesta ได้มาตรฐานสูง ไม่ใช่งานตลาดทั่วไป ส่วนตัวผมค่อนข้าง happy กับ Tempesta ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องระดับ Economic แต่ความทนทานและการทำงานผมรับรองได้”
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณติ๊กกับธุรกิจคั่วกาแฟได้ก้าวไปอีกขั้น เมื่อเขาได้เป็นผู้นำเข้าและตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่องคั่วกาแฟ PROBAT ซึ่งเป็นบทบาทที่คุณติ๊กได้รับมาโดยบังเอิญ จากการเดินทางไปเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของ PROBAT ประเทศเยอรมนีกับเพื่อน ซึ่งความสนใจแรกของคุณติ๊ก มีเพียงแค่การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ PROBAT เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเชี่ยวชาญที่บริษัทได้สะสมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมาเท่านั้น
ณ ปัจจุบันเราได้เป็นตัวแทนทั้ง UG22 , PROBAT shop roaster และ PROBAT industrial roasters เราได้เป็นตัวแทนทั้งหมด ซึ่งไม่ได้ทุกประเทศที่จะได้เป็นตัวแทน PROBAT industria
“ตอนนั้น PROBAT กำลังทำ UG22 ซึ่งบริษัทที่ทำจะเป็นบริษัทลูกของ PROBAT ตอนค่ำคุณ Joachim Burgers ซึ่งเป็นเจ้าบ้านพาทัวร์ก็พาไปทานข้าวและได้พูดคุยกัน และเราได้ทราบว่า PROBAT UG เป็นโปรเจกต์ใหม่ซึ่งยังไม่มีตัวแทน แล้วเขาก็ถามว่าเราสนใจจะมาเป็นตัวแทนขาย UG22 ที่เมืองไทยไหม คือตอนนั้นผมก็ยังงง ๆ อยู่ แต่เมื่อโอกาสมาแล้ว ก็เลยโอเครับมา แล้วมาลองทำตลาดที่เมืองไทยดู หลังจากรับ UG22 มาได้ 6 เดือน ผมขายไปได้ 6 ตัว คือมันเป็นจังหวะที่พี่ ๆ น้อง ๆ อยากจะใช้เครื่องคั่ว PROBAT พอดี”
จุดเปลี่ยนมาถึงอีกครั้ง เมื่อบริษัทแม่อย่าง PROBAT เริ่มรู้จัก Salotto จากการขาย UG22 ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่สัญญาของตัวแทนเดิมในไทยหมดอายุลงและไม่ได้ต่อสัญญากับ PROBAT พอดี ทาง PROBAT จึงได้เชิญคุณติ๊กไปพูดคุยเรื่องสัญญา จากนั้น Salotto ก็ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียวของ PROBAT shop roaster เป็นการเลื่อนมาเป็น step ที่ 2 จากตัวแทนบริษัทลูกมาเป็นตัวแทนบริษัทแม่นั่นเอง
“จากนั้นอีกประมาณ 1 ปี เราก็ได้เป็นตัวแทน PROBAT industrial roasters ณ ปัจจุบันเราได้เป็นตัวแทนทั้ง UG22, PROBAT shop roaster และ PROBAT industrial roasters เราได้เป็นตัวแทนทั้งหมด ซึ่งไม่ได้ทุกประเทศที่จะได้เป็นตัวแทน PROBAT industrial ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ที่ผู้ใหญ่ให้การสนับสนุน”
‣ มองอนาคตวงการกาแฟไทย
“ตลาดกาแฟไทยตอนนี้ดีมาก ๆ ถ้ามองเฉพาะตลาดเครื่องคั่ว สำหรับผมก็คิดว่ามันเป็นโชคมาก ๆ แล้ว เพราะ Tempesta เองผมก็ขายไปเกือบ 60 กว่าตัว PROBAT เกือบ 70 ตัว คือตั้งแต่ช่วงโควิด ตอนนั้นทุกคนคิดว่าตลาดมันจะดาวน์ แต่กลับกลายเป็นว่า คนซื้อเครื่องคั่วเล็ก ๆ มาคั่วกาแฟกันเยอะขึ้น พอเศรษฐกิจฟื้นคืนกลับมา ร้านกาแฟต่าง ๆ ก็ต้องการมีอัตลักษณ์เป็นของตนเองมันก็เลยเป็นโอกาสที่เราจะได้ดูแลผู้ที่ต้องการคั่วกาแฟ มันจึงเป็นโอกาสของเราที่ทำให้เรามียอดขายที่เกินคาด”
คุณติ๊กให้ความเห็นเกี่ยวกับตลาดอุตสาหกรรมกาแฟของไทย ที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และในฐานะผู้ใหญ่ในวงการ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกาแฟพิเศษไทยคนแรก เรื่องราวการเดินทางและคำแนะนำของคุณติ๊ก ย่อมมีคุณค่าต่อผู้ที่ชื่นชอบ และคนรุ่นใหม่ที่ใฝ่ฝันอยากจะประสบความสำเร็จในวงการกาแฟได้
“บางครั้งเมื่อเราเจอของใหม่ ๆ เราต้องไม่กลัวที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม ผมเริ่มต้นจากคนที่อยู่หน้าบาร์ชงกาแฟ มาเป็นผู้ผลิต product มามีโรงงานโพรเซสกาแฟ มีโรงคั่ว จนมาเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องชงเครื่องคั่ว คืองานของผมเกือบจะตั้งแต่เกษตรกรยัน engineer คนเราทุกคนไม่มีใครมีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
แต่สิ่งที่สำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จ คือคนที่ทำตัวเหมือนฟองน้ำ ที่พร้อมจะซึมซับความรู้ตลอดเวลา ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ แล้วไปถามผู้รู้ หาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา เพื่อให้เราจะได้เข้าใจในสิ่งที่เราทำให้ดีที่สุด แล้วทำมันออกมาได้ดีที่สุด”
คำแนะนำของคุณติ๊ก ไม่ได้เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาชีพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมกาแฟไทยอีกด้วย โดยคุณติ๊กกล่าวว่า เขาได้เห็นความก้าวหน้าของกาแฟ ผ่านการแข่งขันที่เกิดขึ้น เช่น การแข่งขันสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย จากสมาคมกาแฟพิเศษไทย
ซึ่งการแข่งขันเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ โดยกระตุ้นให้เกษตรกรไทย พยายามพัฒนากาแฟของตนให้ดีขึ้น และได้รับการยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุด คือการให้ผู้บริโภคได้ดื่มด่ำกับกาแฟคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยยกระดับตลาดกาแฟไทยในภาพรวมได้ในที่สุด
“พอได้กินกาแฟอร่อย ๆ มันก็จะมีการบอกต่อ จนเป็น environment เป็น culture ที่ทำให้รู้สึกว่า กาแฟในเมืองไทย มันไม่ใช่กาแฟเดิม ๆ ที่ดื่มแล้วมีแต่รสขม แต่กาแฟในเมืองไทย มีการพัฒนาที่ดีขึ้น แล้วก็มีเรื่องของ specialty ด้วยเพราะฉะนั้นตลาดมันยังโตได้อีกเยอะ ถ้าเราช่วยกันพัฒนาทั้งองค์รวมของตลาดกาแฟ มันจะทำให้ตลาดกาแฟไทย โตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน”
คนเราทุกคนไม่มีใครมีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่สิ่งที่สำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จ คือคนที่ทำตัวเหมือนฟองน้ำ ที่พร้อมจะซึมซับความรู้ตลอดเวลา ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ แล้วไปถามผู้รู้ หาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา เพื่อให้เราจะได้เข้าใจในสิ่งที่เราทำให้ดีที่สุด แล้วทำมันออกมาได้ดีที่สุด
Coffee Traveler เป็นนิตยสารรายสองเดือน
ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
.
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ :
IN BOX Facebook : Coffee Traveler
.
ช่องทางการติดตามอื่น ๆ
Youtube : Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag
Tiktok : coffee traveler mag
โฆษณา