28 มี.ค. เวลา 10:37 • ข่าว

แผ่นดินไหว ทำนายล่วงหน้ายังไม่ได้นะ จะรู้เมื่อเกิดแล้ว

อย่างมากคือรู้จากศูนย์ตรวจจับแผ่นดินไหวที่ใกล้ที่เกิดเหตุ แล้วเตือนเลย จะรู้ก่อนมันมาถึงเพียงแค่ไม่กี่นาที
แผ่นดินไหวบนบกเดินทางเป็นคลื่นหลัก 2 แบบ ที่เรียกว่า Primary Wave (P-Wave), Secondary Wave (S-Wave) โดยคลื่นแบบ P-Wave เป็นคลื่นแบบบีบอัด (compression) (ให้นึกถึงคลื่นเสียง) สามารถส่งต่อตามพื้นดินได้ด้วยความเร็วสูงถึง 5-8 กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้นระยะทางจาก Mandalay มา กทม.​ ประมาณ 1,100 กิโลเมตร มันก็จะใช้เวลาเดินทางเพียง 2-4 นาทีเท่านั้น ส่วน S-Wave เป็นคลื่นแบบขึ้นลง (transverse) เดินทางประมาณ 1-9 กิโลเมตรต่อวินาที (ปกติเฉลี่ยประมาณ 4 กิโลเมตรต่อวินาที)
ดังนั้น
1. sms alert ไม่ได้ช่วยอะไรนะครับ กว่าจะรู้ตัว กว่าจะร่างจดหมายให้หัวหน้าเซ็น กว่าประสานงานให้ ais/true แจ้ง ก็หมดไปเป็นชั่วโมงแล้วครับ ใครบ่นเรื่อง sms alert ทำไมไม่ใช้ บอกได้เลยว่า ใช้แจ้งเตือนล่วงหน้าไม่ได้ อย่างมากคือ แจ้งแนวทางปฏิบัติหลังเกิดเหตุครับ
ถ้าอยากให้เตือนล่วงหน้าให้เร็วที่สุด ต้องทำเป็นระบบอัตโนมัติเท่านั้นครับ อย่างในสหรัฐ มีระบบของ FEMA ที่พอเตือนได้ โดยอาศัยข้อมูลจาก USGS)
2. ใครที่บอกว่า เวลานั้นเวลานี้จะเกิด aftershock มั่วครับ ถ้ารู้แม่น ขนาดนั้น ช่วยทายการเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรกล่วงหน้าด้วยสิ
3. Aftershock ส่วนใหญ่จะเบากว่าครั้งแรกครับ ถ้า aftershock แรงกว่าก่อนหน้า aftershock จะถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นดินไหวหลักทันที ส่วนแผ่นดินไหวก่อนหน้าจะถูกเรียกว่า foreshock ดังนั้น ไม่มี aftershock ที่แรงกว่าเหตุการณ์หลักนะครับ
4. แผ่นดินไหว scale ความแรงเป็น log 10 ถ้าเห็น aftershock 4 ไม่ต้องตกใจ มันแรงเพียง 1 ใน 1000 เมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวระดับ 7
5. แผ่นดินไหวเกิดขึ้นไกลพอควร กว่าจะมาถึง กทม. จริงๆ มันจิ๊บๆ มากแล้ว ตาม scale ของ USGS ถ้าใครลองสังเกตดู ถ้าเราไม่ได้อยู่บนตึกสูง เราจะไม่ค่อยรู้สึกมากนัก และแทบไม่มีความเสียหายใดๆ นั่นเป็นเพราะเราห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาก แต่ที่อันตรายคือ คลื่นของแผ่นดินไหว ที่มันมาแบบตามแนวนอน และมีความถี่เฉพาะตัว ถ้าตึกไหนมีความถี่เฉพาะตัวตรงกับคลื่นนี้พอดี จะเกิด resonance ตึกจะสั่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดความเสียหายได้
(ขึ้นอยู่กับการออกแบบตึก ความสูง และวัสดุที่ใช้) ถ้านึกไม่ออก ลองดู
1
6. สำคัญมากๆ คือ ตึกใหญ่ๆ บริษัทใหญ่มี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน อยู่ด้วย และมีการอบรมการซ้อมแผนฉุกเฉินอยู่แล้ว เวลาเกิดเหตุ จริงๆ ต้องให้คนเหล่านี้รับผิดชอบครับ ไม่ใช่ทางการ แต่ละอาคาร ต้องปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน และแจ้งผู้ที่อยู่ในอาคารให้ปฏิบัติตามครับ
7. เรื่องอาคารสูงกับความเสี่ยงแผ่นดินไหว จริงๆ เรามีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้ออกแบบอาคารต้องคิดเผื่อเรื่องแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ปี 2564 ด้วยนะครับ (https://asa.or.th/laws/news20210305/)
1
8. อยากเห็นที่เกิดแผ่นดินไหวแบบ real-time ติดตามได้ที่ คลิปนี้มีเสียงแจ้งเตือนด้วย
จากคนรู้น้อย แต่ตื่นเต้นเรื่องแผ่นดินไหวมาตั้งแต่สึนามิรอบที่แล้วครับ
อย่างที่ญี่ปุ่น จะมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้า และใช้วิธีการเตือนผ่านทีวี และ SMS
ตัวอย่าง แต่เตือนที บอกว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่มากภายใน 30 ปีข้างหน้า
Android จริงๆ มีระบบเตือนนะครับ ลองไปอ่านกันที่
Youtube นี้ เข้าไปดูได้นะครับ แจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ทั่วโลก ไม่ต้องรอใครเซ็นจดหมาย
ข้อมูลเกี่ยวกับระบบแจ้งเตือน https://www.facebook.com/share/p/1A9JaRsdsr/?mibextid=wwXIfr
โฆษณา