28 มี.ค. เวลา 15:05 • ข่าวรอบโลก

เช็กหน่วยริกเตอร์ แต่ละแมกนิจูดแผ่นดินไหวแรงแค่ไหน?

วันนี้ (28 มี.ค.68) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูดในพม่า จุดศูนย์กลางอยู่ใกล้เนปยีดอและย่างกุ้ง ส่งผลกระทบถึงประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ผู้คนในอาคารสูงรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนชัดเจนจนต้องอพยพออกจากอาคาร มีรายงานความเสียหายและการบาดเจ็บอย่างไม่เป็นทางการ
6
ชวนรู้จักช่วงขนาดและผลกระทบของแผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูดถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดมหาศาลที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก มาตราริกเตอร์ คือมาตราที่ถูกพัฒนาโดย Charles F. Richter ในปี 1935 เพื่อวัดขนาดของแผ่นดินไหวโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ ซึ่งแต่ละระดับมีความรุนแรงและผลกระทบที่แตกต่างกัน
น้อยกว่า 2.0 แมกนิจูด (ขนาดเล็กมาก) คนไม่สามารถรับรู้ได้ แต่เครื่องมือตรวจจับได้ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้าง เกิดขึ้นประมาณ 1.4 ล้านครั้งต่อปีทั่วโลก
1
2.0-2.9 แมกนิจูด (ขนาดเล็ก) รู้สึกได้แต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่มีความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นประมาณ 1.3 ล้านครั้งต่อปี
3.0-3.9 แมกนิจูด (ขนาดเบา) มักรู้สึกได้ แต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายสำคัญ มีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายเล็กน้อย เกิดขึ้นประมาณ 130,000 ครั้งต่อปีทั่วโลก
1
4.0-4.9 แมกนิจูด (ขนาดปานกลาง) ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของสิ่งของในบ้านพร้อมเสียงรบกวน ไม่มีความเสียหายสำคัญ เกิดขึ้นประมาณ 13,000 ครั้งต่อปีทั่วโลก
5.0-5.9 แมกนิจูด (ขนาดรุนแรง) อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญต่อสิ่งปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งปลูกสร้าง เกิดขึ้นประมาณ 1,300 ครั้งต่อปีทั่วโลก
6.0-6.9 แมกนิจูด (ขนาดใหญ่) ก่อให้เกิดความเสียหายมากในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายและเกิดการเคลื่อนย้ายของพื้นดิน เกิดขึ้นประมาณ 100 ครั้งต่อปี
7.0 ขึ้นไป (ขนาดมหาศาล) ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง การทำลายล้างสิ่งปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เกิดขึ้นประมาณ 10-20 ครั้งต่อปีทั่วโลก โดยปกติจะมีแผ่นดินไหวเพียง 1 ครั้งต่อปีที่มีขนาดระหว่าง 8 ถึง 10 ยังไม่เคยมีการบันทึกแผ่นดินไหวที่มีขนาด 10 ขึ้นไป
โฆษณา