29 มี.ค. เวลา 01:17 • ข่าว

ไทยควรมี SMS เตือนภัย #ตึกถล่ม #แผ่นดินไหว#SMS alert

SMS ALERT ที่ป้าจะเล่า(ในบทความ) ที่ญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ 2011 ค่ะ
ไทยไม่มีการส่ง SMS จากรัฐบาล หน่วยงานที่ดูแลหรือหน่วยใด ๆ เลย
เช่น #ตึกถล่ม ก็เพิ่งมารู้จากโซเชียล แล้วคนที่ยังติดอยู่ในบริเวณนั้นล่ะ
🌏🌍🌎
บทความนี้จะเล่าสรุปถึงการจัดการของไทย ใน #แผ่นดินไหว
และพูดถึงการจัดการที่ญี่ปุ่นและความแตกต่างกับของเรา
เท่าที่จำได้ค่ะ
🌊 🌊 🌊
1
ป้าเคยเจอแผ่นดินไหวมาหลายครั้ง และอยู่ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิวิปโยคที่ญี่ปุ่น 11 มีนาคม 2011
ขอจับประเด็นเด่นๆ
—>ที่ญี่ปุ่นมีข้อความส่งเข้าโทรศัพท์ทุกเครื่องทุกค่าย ส่งข้อความเตือนรายงานสถานการณ์ และข้อควรปฏิบัติ
—>SMS มีมาตลอดเป็นระยะๆ โทรศัพท์จะมีเสียงตื๊ดๆ ให้เรารู้ว่าเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์อย่างไร เช่น
- จะมีแผ่นดินไหวหรือ after shock เวลาเท่าไหร่อีก ให้เตรียมกระเป๋าช่วยชีวิต (เป้ ใส่อาหารแห้ง น้ำดื่ม ไฟฉาย ยา..) เตรียมพร้อมหนีหรือย้ายไปอยู่จุดไหนได้บ้าง
- SMS คนหาย เด็กหาย
- NEX หรือรถไฟฟ้าด่วนพิเศษนาริตะเอกเปรส ปิดบริการ
- รับข้าวรับน้ำได้ที่จุดใดบ้าง
- สถานที่ทำการจะเปิดปิด เวลาอะไร
- รายงานไฟไหม้ น้ำท่วม..
…เยอะเลยค่ะ
ทำให้เราเตรียมตัวได้ทันการ
#SMS ALERT
ไทยเรายังไม่มี
การส่งข้อความเตือนภัย
หรือ SMS alert
จะจากรัฐบาลหรือ หน่วยงานที่ดูแล หน่วยใดก็ได้สักหน่วยหนึ่ง
เรายังไม่มีเลย
🌊
วันนี้เพื่อนป้าถามว่า
แผ่นดินไหวที่กรุงเทพเทียบกับที่ญี่ปุ่นในปีที่มีสึนามิใหญ่ 2011
ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง
คงจำได้ว่า ครั้งนั้นเหตุเกิดที่จังหวัดเซนได ญี่ปุ่นและเป็นต้นเหตุให้เกิดสึนามิ
วิปโยคครั้งใหญ่ด้วย
คนถามประมาณว่า ถือว่าแบบในไทยนี้แรงมั้ย
จากความทรงจำของตัวเองและจากคำบอกเล่าของเพื่อนที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่า(เพื่อนอยู่ใจกลางจังหวัดเซนได)
เลยเอามาเล่าไว้หน่อยค่ะ
(คำเตือน:ไม่ได้ค้นอ้างอิง&ไม่ใช่วิชาการรวบรวมจากประสบการณ์ตรง)
1. ความแรงของการสะเทือนหรือสั่นไหว
ญี่ปุ่น: แรงกว่านี้ แรงกว่ามาก แรงจนทุกคนต้องรีบหมอบใต้โต๊ะ
ความแรงเหมือนในหนังเหมือนมีแรงอะไรพัด ผลัก หรือกระชากข้าวของบนโต๊ะให้หลุดร่วงลงมา
ทุกคนจึงหาที่หลบภัยใต้โต๊ะ เกาะมุมเสาและหรือนอนราบหาสิ่งป้องกันสวมใส่กันศีรษะไว้
..
แต่ที่เมืองไทยวันนี้(ใจกลางกรุงเทพ) เหมือนมีแรงใครมาดึงให้ห้องทั้งห้อง แผ่นดินทั้งผืนโยกไปข้างหน้าและข้างหลัง คล้าย ๆ ตอนนั่งเรือไวกิ้งในสวนสนุก..จนรู้สึกเหมือนบ้านหมุน คลื่นไส้อยากจะอาเจียน
(ตอนแรกตกใจว่าเรากำลังจะเป็น stroke หรือเส้นเลือดในสมองตีบหรือเปล่า ลืมกินยากันโงนเงนมาด้วย และมีปัญหาเรื่องเส้นเลือดในสมองอยู่แล้ว)
ตอนเกิดเหตุกำลังอยู่ในห้องประชุม เหมือนมีการเคลื่อนไหวรอบตัวที่แรงขึ้นทีละนิด ๆไหวไปทางแนวราบ ไม่ค่อยรู้สึกว่าเหมือนขึ้นลง
ตอนที่อยู่ในห้องประชุม
มีพิธีการ มีการเปิดโคมไฟกลางห้องที่มีก้านยาว
เมื่อแหงนดูโคมไฟ พบว่า โคมไฟ แกว่งไปมาค่อนข้างแรงเลยค่ะ
จึงเริ่มบอกกับผู้คนที่อยู่รอบตัวเราว่า“แผ่นดินไหว” แน่ ๆ
2. ผู้คนเริ่มตกใจและกลัว ป้าตั้งสติได้ รีบโทรหาผู้ร่วมงาน คิดว่าเราเองกำลังอยู่ชั้นสอง เป็นห่วงคนอื่นๆ ทีีอยู่ชั้นสูง ๆ 3,4, 5… แล้วจึงรีบโทรหา ครอบครัว ญาติ ๆ
ปรากฎว่า สายขัดจ้อง มารู้ทีหลังว่าสายโทรศัพท์แจมกันมาก
3. โทรหาที่บ้านด้วยความเป็นห่วงน้องหมาแมวไก่และกระต่าย
4. ป้าทำงานที่โรงพยาบาลหลังจากนั้นจึงช่วยกันดูแลคนไข้ที่มีทีมงานพาย้ายลงมาจากตึกผู้ป่วย
5. อากาศร้อนมากผู้คนก็ช่วยกันพัดด้วยกระดาษแข็งบ้าง สมุดบ้างแม้กระทั่งน้องบางคนหยิบเอาใบไม้ใบใหญ่ที่พื้นขึ้นมาพัด
ปล. บทนี้ร่างไว้ตอนนั่งรอประกาศจากโรงพยาบาล และรอให้เดินทางกลับไปหยิบกระเป๋าในห้องทำงานได้
คิดว่าจะมาเขียนต่อแต่รู้สึกปวดหัว จึงขอจบไว้ก่อน ฝากอ่านการจัดการ#แผ่นดินไหวของญี่ปุ่น
—>เก็บมาใช้ให้เป็นประโยชน์นะคะ
หวังให้สถานการณ์คลี่คลายและปลอดภัยทุกคนนะคะ
ป้าพา
โฆษณา