29 มี.ค. เวลา 04:58 • ความคิดเห็น
ขออนุญาตเรียกน้องก็แล้วกันนะคะ ที่จริงอาจจะรุ่นป้าหรือรุ่นยายแล้วก็ได้ แต่เราจะไม่แก่เกินพี่ค่ะ...
หนูน่าจะอึดอัดแล้วก็ลำบากใจมากๆกับเรื่องนี้ น่าจะอดทนแล้วก็พยายามกับปห.นี้มานาน พี่อาจจะบอกไม่ได้หรอกว่ากาารแก้ปห.ที่ดีที่สุดคืออะไร บริบทแต่ละบ้านแต่ละครอบครัวต่างกัน... หลายครั้งพี่ก็อยู่ในสถานการณ์แบบนี้แม้ว่าพ่อแม่จะไม่ได้หย่ากัน ฉะนั้น พฤติกรรมแบบนี้ของพ่อแม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการหย่าร้าง และลูกก็ไม่ใช่สาเหตุ ต้นเหตุหรือเป็นคนที่ต้องคอยแก้ไข
ไม่ว่าจะอย่างไร เขาก็ยังคงรักลูกเสมอ แม้บางคนอาจจะแสดงออกไม่เก่งจนเราไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเขารักเรา ห่วงเรา ตัวเราเองบางทีเราก็สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจว่าเรารักได้ลำบาก พ่อแม่ก็เหมือนกันค่ะ แม้แต่การที่เราอึดอัดใจก็ยากที่จะบอก
เวลาท่านบ่นมตำหนิกันหนูก็รู้ว่ามันเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีของท่าน โกรธ ไม่สบายใจ เสียใจ อื่นๆ
1.การทะเลาะกันของพ่อแม่ไม่ว่าจะเรื่อวอะไร แม้แต่จะบ่นเรื่องลูกไม่ใช่เพราะหนู ไม่รักหนู แต่เพราะแค่เขาคิดเห็นไม่ตรงกันแล้วสื่อสารกันไม่เข้าใจ ที่จริงสิ่งที่เขาไม่ชอบมันมีพฤติกรรบางอย่าง ไม่ใช่ตัวตนของคนๆนั้น....
แม้แต่ตัวหนูเองถ้ามีใครสักคนมาว่าเรา
บางคนสื่อสารเก่งบอกได้ชัดว่าสิ่งที่เขาตำหนิเราคือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือเขาไม่ชอบ แต่บางคนใช้คำพูดที่เราไม่สบายใจ ก็ขอให้เราฟังแล้วแยกเอาสิ่งที่เขาพูดมาพัฒนาตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเราให้ดีขึ้น แต่อย่าเข้าใจผิดว่าตัวเราด้อยค่าไม่เก่ง ไม่ดี ไม่เอาไหน 😊
2.หนูไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาให้ผู้ใหญ่ และหนูไม่สามารถควบคุมอารมณ์ใครได้นอกจากของตัวเอง แต่เราช่วยไม่ให้อารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นแย่ลงได้ โดยที่เราก็ควรดูแลอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองไปด้วยค่ะ ไม่ไหวก็แยกตัวออกมาให้เราสบายใจก่อน
3.แค่รับฟังบางทีพ่อแม่ก็สบายใจขึ้น แค่หนูบอกเขานิดๆว่าหนูรู้วาแม่โมโห ในขณะที่หนูก็บอกแม่ได้ค่ะว่าหนูรู้สึกยังไง หนูอึดอัดที่พ่อแม่โกรธกัน หนูไม่สบายใจที่แม่กับพ่อโกรธกัน หนูอยากช่วยแต่ไม่รู้จะทำยังไง หนูอยากให้แม่อารมณ์ดี
หนูรู้ว่าแม่โกรธพ่อ หนูก็เสียใจที่แม่ไม่สบายใจ หนูแม่อยากเล่า หนูจะฟังแม่นะ.... / แต่ถ้าหนูรับไม่ไหว หนูบอกแม่ตรงๆได้นะคะว่า หนูรู้ว่าพ่อ/แม่โกรธมาก แต่หนูรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องรับฟัง เราหามุมสงบให้ตัวเองก่อนดีไหม
หรือ เวลาเริ่มบ่น หนูบอกท่านตรงๆได้เหมือนกันด้วยการสื่อสารความรู้สึกของตัวเอง + พฤติกรรมดีๆที่เราอยากให้ท่านช่วยทำให้เรา เช่น
หนูรู้พ่อ/แม่ กำลังหงุดหงิดพ่อ/แม่ แต่ตอนนี้หนูอยากให้พ่อ/แม่คุยกับหนูดีๆ หนูอยากให้พ่อ/แม่อารมณ์ดีกับหนูเราไปกินขนมกัน/กิจกรรมอื่นก่อนดีมั้ย หรือขวนคุยเรื่องอื่นไป อาจจะพอเบี่ยงเบนประเด็นให้ท่านได้บ้าง
มันอาจจะช่วยเรียกสติท่านมาบ้าง การที่หนูสื่อสารตรงไปตรงมาด้วยการบอกอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง มันช่วยลดการปะทะะเวลาสื่อสาร
มันไม่ง่ายนะคะกับคำพูดแบบนี้ที่เราจะเอามาคุยกันดีๆ
ทุกคนต้องการความรัก หนูต้องการ แม่ก็ต้องการ พ่อก็ต้องการ
การที่หนูเข้าใจความรู้สึกของท่าน มันจะช่วยทำให้พ่อแม่สบายใจที่อย่างน้อยลูกเข้าใจ
แต่หนูบอกท่านได้ว่าหนูยังอยากได้อ้อมกอดของท่านอยู่ เวลาแม่บ่นพ่อ กอดแม่ได้นะคะเวลาแม่โมโห หรือเวลาพ่อบ่นแม่ ให้พ่อโอบไหล่เราไว้ก็ได้ค่ะ มันทำให้ท่านสงบได้ เหมือนตอนเราเด็กๆ เวลาร้องไห้งอแงอาละวาดท่านก็จะมากอดเราไว้ หนูยังมีครอบครัว มีพ่อแม่นะ แต่ท่านคุยกัยไม่ค่อยรู้เรื่องเฉยๆ บ้านไหนก็เป็นค่ะ
บ้านพี่ก็เป็น ฟังไป ลูกเข้าบ้านทีแย่งกันฟ้องลูก
พออยู่กับพ่อก็... แม่แกอย่างนั้นอย่างนี้ พ่อไม่มีดีสักอย่าง
พออยู่กับแม่ก็.... พ่อแกอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ได้เรื่อง
ก็เออออห่อหมก หรือชวนคุยเรื่องอื่น หรือสื่อสารเขาในแบบที่นุ่มนวลแต่ตรงไปตรงมาถึงความรู้สึกและความต้องการของเรา... ไม่ว่ากัน ไม่ตำหนิกัน...
พ่อแม่บางทีคิดไม่ทัน หนูคิดได้ทัน คิดได้ก่อน หนูก็เบรคก่อนจะได้ไม่ปะทะค่ะ 😊😊😊...
บางเรื่องไม่ใช่เพิ่งเกิดมาแค่ไม่กี่วัน หลายอย่างมันสะสมมานับสิบปี เอาใจช่วยนะคะเข้มแข็งแล้วก็ต้องยืดหยุ่นกับชีวิตได้ เห็นคุณค่าของตัวเอง... ชีวิตก็ต้องสู้ต่อค่ะ
โฆษณา