29 มี.ค. เวลา 05:38 • สุขภาพ

เวียนหัวหลังแผ่นดินไหว(PEDS) แก้อย่างไร

วันนี้มีคนมาถามเยอะมาก หลังจากเมื่อวานที่รู้สึกวูบ เวียนหัว ตอนที่เกิดแรงสั่นสะเทือน หลายคนเป็นคนชั่วคราว หลายคนไม่ได้รู้สึกไม่สบายหลังมีอาการดังกล่าว แต่มีหลายคนเหมือนกัน ที่มีอาการมึนหัว ปวดหัว ต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้
วันนี้เลยจะมาชวนคุยว่า ทำให้แผ่นดินไหวแล้วเวียนหัว มึนหัว แล้วจะแก้อย่างไร ต้องใช้ยามั้ย? วันนี้มีคำตอบครับ
1
อาการเวียนศีรษะหลังแผ่นดินไหว หรือที่เรียกว่า Post-Earthquake Dizziness Syndrome (PEDS) คือภาวะที่ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวรู้สึกเวียนศีรษะ โคลงเคลง หรือเสียการทรงตัว แม้แผ่นดินไหวจะผ่านพ้นไปแล้ว เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกเวียนศีรษะหรือเสียการทรงตัวหลังจากประสบกับแผ่นดินไหว
4
อาการทั่วไปของ PEDS คือ เวียนศีรษะหรือรู้สึกเหมือนกำลังโคลงเคลง สูญเสียสมดุลหรือรู้สึกเหมือนพื้นกำลังสั่น คลื่นไส้ อาจมีอาการคล้ายอาการเมารถ บางรายหลังจากแผ่นดินไหวพ้นไปแล้วยังมีอาการปวดศีรษะ มึนหัว เหนื่อยล้าและสมาธิลดลง
ทั้งนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทขนาดเล็ก (Vestibular Dysfunction) ระบบการทรงตัวภายในหูชั้นในอาจได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ การเคลื่อนไหวรุนแรงและไม่ปกติระหว่างแผ่นดินไหวสามารถรบกวนการทำงานของระบบทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหรือรู้สึกหมุน
1
นอกจากนี้ ผลกระทบทางจิตใจและความเครียด (Psychogenic Factors) –ความตื่นกลัวหรือ PTSD จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอาจทำให้สมองยังคงรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวที่ไม่มีอยู่จริง จากการวิจัย พบว่าความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์กับการทำงานของระบบทรงตัวที่ลดลงหลังแผ่นดินไหว ความขัดแย้งของข้อมูลทางประสาทสัมผัส (Sensory mismatch) อาจทำให้ข้อมูลจากการมองเห็น ความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และระบบทรงตัว ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งความไม่ตรงกันนี้สามารถทำให้เกิดความรู้สึกสับสนในการรับรู้ตำแหน่งตัวเองในอวกาศและเวียนศีรษะได้
จากการศึกษาพบว่า าผู้หญิงและผู้ที่มีอายุมากกว่า 21 ปีมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะนี้มากกว่าค่าเฉลี่ยของคนโดยทั่วไป คนที่มีประวัติเมารถหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวมาก่อนมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ คนที่อยู่บนชั้นสูงของอาคารหรืออยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวซึ่งรับรู้การสั่นไหวรุนแรง อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะรู้สึกเวียนศีรษะภายหลัง
การรักษาทั่วไปเป็นการรักษาตามอาการ เช่นการใช้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ร่วมกับยาลดความกังวล เนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นของ PEDS นอกจากนี้ การฟื้นฟูระบบการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation Therapy, VRT) หรือการทำกายภาพบำบัดที่ออกแบบมาเพื่อฝึกสมองและหูชั้นในให้ปรับตัวกับภาวะสมดุลใหม่ ก็เป็นทางเลือกที่ดีในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงและต่อเนื่อง ร่วมกับการบำบัดรักษาทางจิตใจ
3
อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงการวินิจฉัยแยกโรค เพื่อดูปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่ออาการ หากมีอาการรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างถูกต้องต่อไป
2
อ้างอิง
โฆษณา