29 มี.ค. เวลา 10:00 • ไลฟ์สไตล์

‘กระเป๋ารับมือภัยพิบัติ’ มาตรการรับมือของ ‘ญี่ปุ่น’ ควรเตรียมอะไรบ้าง หากเกิด ‘แผ่นดินไหว’

เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 แมกนิจูด ส่งผลให้บริเวณกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ได้รับแรงสั่นสะเทือน ทำให้อาคารก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่จตุจักรถล่ม เจ้าหน้าที่เร่งให้ความช่วยเหลือ
ขณะเดียวกัน ผู้คนที่ทำงานและอาศัยอยู่บนตึกสูงต่างเร่งอพยพออกมาจากอาคาร ทำให้เกิดความโกลาหล เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเช่นนี้มาก่อน ทำให้ประชาชนไม่รู้ว่าจะต้องรับมืออย่างไร หรือเตรียมสิ่งของใดติดตัวไว้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
“ญี่ปุ่น” ประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง ออกคู่มือให้ประชาชนเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ ได้แก่ แผ่นดินไหว สึนามิ ไต้ฝุ่น การอพยพ โดยแนะนำให้เตรียม “กระเป๋าโบไซ” (Bousai Bag) หรือ “กระเป๋ารับมือภัยพิบัติ” ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินที่สามารถช่วยให้ประชาชน ครอบครัว และสัตว์เลี้ยงในความดูแลดำรงชีพได้นานถึง 3-5 วัน ซึ่งจะรวบรวมสิ่งของจำเป็นทั้งหมดที่ทุกคนอาจต้องการระหว่างที่รอคอยการช่วยเหลือได้ ประกอบไปด้วย
1. อาหารและน้ำ
2. อาหารและน้ำสัตว์เลี้ยง
3. ชุดปฐมพยาบาล
4. เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ให้ความอบอุ่น
5. โทรศัพท์มือถือ เครื่องชาร์จ สายเคเบิลและอุปกรณ์เสริม แบตเตอรี่สำรอง
6. ไฟฉาย แบตเตอรี่ และเตาแบบพกพา
7. เอกสารสำคัญและเงินสด
8. เครื่องมืออเนกประสงค์
9. สิ่งของดูแลสุขอนามัย
10. สิ่งของเพื่อความสบายใจ
เพื่อให้ตระเตรียมสิ่งของเหล่านี้ให้ง่ายขึ้นและไม่ขาดตกบกพร่อง ทางการจึงแนะนำให้ทำเช็คลิสต์สิ่งที่อยู่ในกระเป๋าไว้ด้วย
1
ในปัจจุบันที่โลกเกิดภัยพิบัติบ่อยขึ้น อะไรที่ไม่เคยเกิดก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย อย่ารอให้เกิดภัยพิบัติก่อน เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาแล้ว จะได้พร้อมรับมือกับทุกสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้
1
โฆษณา