29 มี.ค. เวลา 14:03 • อสังหาริมทรัพย์

รอยร้าวแบบไหนอันตรายที่สุด

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา ซึ่งป็นแผ่นดินไหวขนาด 8.2 นั้น ได้ส่งผลกระทบให้ตึกอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบหนัก เกิดรอยร้าวจนอาจส่งผลอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยได้
เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ในเรื่องนี้ ทาง กทม. ได้ออกประกาศว่า สำหรับประชาชนที่พบอาคารเสียหาย มีรอยร้าว ส่งภาพแจ้งเข้ามาในระบบ #TraffyFondue หรือ โทร. 1555 ทันที
ล่าสุด..วันนี้ (29 มี.ค.) กทม. ได้ปรับปรุงระบบ Traffy Fondue หลังเจอรอยร้าวอาคาร 5,500 เคส พร้อม ระดมวิศวกรอาสา 100 ชีวิตลงพื้นที่เร่งด่วน
ด้านการสังเกตรอยร้าวและความเสียหายเบื้องต้นนั้น มีข้อมูลจาก เพจ The Sales-Partan : หมอกิม โดย "หมอกิม น.สพ.ธีรพงษ์" ได้แชร์ความรู้เกี่ยวกับรอยร้าว 4 ประเภทว่าแบบไหนอันตรายมาก-น้อย อย่างไร ไว้ดังนี้
1. รอยแตกเส้นผม (Hairline Cracks) - อันตรายต่ำ
เป็นเพียงรอยเล็กๆ ที่มีความกว้างไม่เกินขนาดเส้นผม มักเกิดจากการหดตัวของวัสดุก่อสร้าง ยังไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง แต่ควรเฝ้าระวัง
2. รอยแตกแนวตั้ง (Vertical Cracks) - อันตรายต่ำถึงปานกลาง
พบได้ตามกำแพง โดยมีลักษณะบางหรือหนา หากรอยแตกมีความกว้างเกิน 5 มิลลิเมตร ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
3. รอยแตกแนวนอน (Horizontal Cracks) - อันตรายสูง
รอยแตกแนวนอนที่พาดผ่านจากซ้ายไปขวาถือเป็นรอยแตกร้ายแรง ต้องได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทันที
4. รอยแตกเฉียง (Diagonal Cracks) - อันตรายที่สุด
รอยแตกชนิดนี้มักเกิดขึ้นในมุม 30 ถึง 70 องศา ซึ่งเป็นสัญญาณของโครงสร้างที่ได้รับแรงกระทำจากแผ่นดินไหวหรือการทรุดตัวของดิน ต้องได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
โฆษณา