Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
29 มี.ค. เวลา 10:50 • ข่าวรอบโลก
ไหวขนาดนี้ คิดเป็นกี่นิวตัน
จากแผ่นดินไหวที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยแล้วกับการประเมินความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตราริกเตอร์ (Richter scale) และ โมเมนต์แมกนิจูด (Moment Magnitude Scale: Mw) ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อหลายสำนักนำเสนอ
ซึ่งแต่ละแมกนิจูดที่เพิ่มขึ้น พลังงาน การทำลายล้าง ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับความเสียหายที่จะตามมา
ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็นการวัดที่สัมพันธ์กับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในระหว่างการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งหมายความว่าแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงกว่ากัน 1 หน่วย จะมีพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 32 เท่า และหากสูงกว่ากัน 2 หน่วย พลังงานจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เท่า
แผ่นดินไหวขนาด Magnitude 2.0 ปลดปล่อยพลังงาน 6.3 x 10^4 J เทียบเท่ากับระเบิดมือ 1 ลูก เมื่อเป็น Magnitude 2.0 จะปลอดปล่อยพลังงาน 2.0 x 10^6 J
มีแรงกระทำต่อพื้นที่เท่ากันเป็น 2,000,000 N เทียบได้กับ ระเบิด TNT 500 กรัม
ส่วนความแรง Magnitude 4.0 จะสร้างแรงกระทำได้ถึง 63,000,000 N Magnitude 5.0 สร้างแรงกระทำได้ถึง 2,000,000,000 N ส่วนความแรงที่ Magnitude 6.0 จะมีแรงกระทำที่ 63,000,000,000 N ปลดปล่อยพลังงาน 6.3 x 10^10 J เทียบได้กับพลังงานที่ถูกปลดปล่อยจากระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา
1
ขนาดตั้งแต่ Magnitude 7.0 ขึ้นไป เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สามารถทำลายเมืองและโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ สร้างแรงกระทำได้มากถึง 2,000,000,000,000 N(สองล้านล้านนิวตัน) ความรุนแรงเทียบเท่ากับการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เมตร ที่ตกลงมาสู่พื้นโลก ปลดปล่อยพลังงานได้ถึง 2.0 x 10^12 J
Magnitude 8.0 เทียบเท่ากับการระเบิดของ TNT 15 ล้านตัน ปลดปล่อยพลังงานได้ถึง 2.0 x 10^15 J มีแรงกระทำต่อพื้นที่ 1 หน่วย SI อยู่ที่ 63,000,000,000,000 N(หกสิบสามล้านล้านนิวตัน) 9 และ 10 ยิ่งไม่ต้องพูดถึง มีการปลอดปล่อยพลังงานมหาศาล เป็นผ่นดินไหวระดับมหาวิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากและสร้างความเสียหายในระดับโลก ส่งแรงกระทำระดับพันล้านนิวตัน
ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น คือหนึ่งในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัวที่สุดครั้งหนึ่งในภูมิภาคนี้ และทำให้เราตระหนักว่า การ
เตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหวทั้งระบบนั้น มีความสำคัญมากแค่ไหน
อ้างอิง
Richter, C. F. (1935). An instrumental earthquake magnitude scale. Bulletin of the Seismological Society of America, 25(1), 1-32.
U.S. Geological Survey (USGS). (2023). Earthquake magnitude, energy release, and shaking intensity. Retrieved from
https://www.usgs.gov
ข่าวรอบโลก
ความรู้รอบตัว
วิทยาศาสตร์
2 บันทึก
9
4
1
2
9
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย