Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SinghaEsai-eyeview
•
ติดตาม
30 มี.ค. เวลา 13:00 • ความคิดเห็น
ตอนต่อไป! แผ่นดินไหวแล้วยังไงต่อดี?
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 จุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ได้ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทยในหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ก่อความเสียหายเป็นวงกว้างโดยเฉพาะอาคารตึกสูงสิ่งปลูกสร้าง สาธารณูปโภคต่างๆ
ว่ากันว่าเป็นภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
แล้วยังไงต่อกันดี! เป็นคำถามที่แสดงถึงความงุนงงปนความวิตกกังวลสงสัยของประชาชนคนไทยต่อมา
การประเมินความเสียหายต่อเนื่องด้วยการเยียวยาฟื้นฟูเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอับดับแรกแน่นอนอยู่แล้วนั้น แต่ผลกระทบระยะยาวต่อจากนี้ต่างหากที่ประชาชนอย่างเราๆหวั่นวิตก
ผลกระทบระยะยาวของเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้จะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาดูกันครับ
อันดับแรกเลย
ผลกระทบทางสภาพจิตใจ
จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ความสูญเสีย ความวิตกกังวล ความเครียด panic และบาดแผลจากประสบการณ์ที่ได้รับร่วมกันทั้งจากผู้ประสบเหตุโดยตรงหรือไม่ก็ตามแต่นั้น อาจทำให้ผู้คนรู้สึกเปราะบางและมีความผิดปกติต่างๆ ไปจนถึงภาวะซึมเศร้า หรือภาวะ PTSD ได้เลย
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เนื่องด้วยภัยพิบัติได้ก่อเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ถนน และอื่นๆ จะต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซมหรือก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ยังผลให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าทรัพย์สินกลับลดลงซึ่งเป็นภาระต่อเศรษฐกิจในชุมชนนั้นๆโดยภาพรวม และแม้กระทั่งงบประมาณในการเยียวยาผู้ประสบภัยก็จำเป็นต้องจัดเตรียมเช่นกัน
ซึ่งการตกงานที่ปัจจุบันในไทยก็แย่อยู่แล้ว อาจเกิดการปิดกิจการเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมทำให้คนตกงานเพิ่มมากขึ้น รายได้ครัวเรือนก็ลดลงไปอีก
ผลกระทบทางสังคม
เกิดสังคมหยุดชะงัก ผลกระทบจากผู้ประสบภัยโดยตรงนั้นอาจตกอยู่ในภาวะขาดแคลนที่อยู่อาศัย ขาดการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางสังคม ถูกทำลายเครือข่ายชุมชนและระบบให้การสนับสนุนต่างๆ
ผลกระทบระยะยาวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้กับประชาชนคนไทยครับ แล้วจะมีวีธีเตรียมพร้อมรับมือที่อาจเกิดขึ้นอีกอย่างไรได้บ้าง?
★
ควรพัฒนาแผนรับมือเหตุฉุกเฉินที่ครอบคลุมเหตุการณ์แผ่นดินไหวกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางอพยพหลบเลี่ยง วิธีสื่อสารและจุดนัดพบรวมพล โดยทำการฝึกซ้อมรับมือเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในชุมชนทราบวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รวดเร็วและปลอดภัย
★
มีความเข้มงวดในระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายก่อสร้างให้รับมือกับเหตุแผ่นดินไหวเพื่อเป็นไปตามมาตรฐาน
★
สร้างระบบการสื่อสารและเครือข่ายชุมชนที่เชื่อถือได้ในท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ติดตามข้อมูล คำเตือนและแบ่งปันทรัพยากรในด้านอื่นๆ
★
สนับสนุนให้ครอบครัวจัดเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินที่มีสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นเอาไว้ เช่น ยา ชุดปฐมพยาบาล น้ำสะอาด อาหารที่ไม่บูดหรือเน่าเสียได้ง่าย ไฟฉายและแบตเตอรี่ เป็นต้น เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที
★
ประเมินพื้นที่จุดเสี่ยงอันตราย อัพเดตแผนที่และวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่และพื้นที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อพัฒนาแผนการใช้ที่ดินใหม่ให้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
★
มีบริการฉุกเฉินในเครือข่ายชุมชน องค์กรในท้องถิ่นและรัฐบาลควรร่วมมือจัดทำศูนย์ให้บริการฉุกเฉินและรับทราบข้อมูลความรู้ เพื่อเพิ่มความพร้อม ทรัพยากรและการแบ่งปัน
★
มีแหล่งข้อมูลให้บริการด้านสุขภาพจิต เพื่อความมีสภาพจิตใจที่ดีและการจัดการด้านอารมณ์หลังเกิดเหตุภัยพิบัติ
การที่ได้เผชิญเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวกรณีรุนแรงชนิดไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาก่อนนั้น สิ่งเดียวที่พอจะทำได้คือนำมาเป็นบทเรียนเพื่อหาทางรับมือกันต่อไป
แน่นอนเราไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่? เมื่อไหร่? รุนแรงกว่านี้จะทำอย่างไร?
สิ่งเดียวที่ผมจะบอกคุณได้คือ
เราเป็นแค่ส่วนหนึ่งในธรรมชาติ อยู่ร่วมรวมกลุ่มกัน ช่วยเหลือไม่คิดทำลาย แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเพียงพอให้ท่านไม่พิโรธโกรธเคืองมนุษย์ได้หรือไม่นี่สิ!
แนวคิด
ความคิดเห็น
ข่าวรอบโลก
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย