Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
30 มี.ค. เวลา 15:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แผ่นดินไหวปี 1995 ที่ทำให้เทรดเดอร์คนหนึ่งเสียเงินกว่า $2,200 ล้าน
📉 นักลงทุนและเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงความเสี่ยงกันอยู่แล้วโดยธรรมชาติครับ ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของตลาด งบผิดคาด อัตราดอกเบี้ย การเมือง ฯลฯ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงบางประเภทที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากจนแทบไม่มีใครนำมาพิจารณา อย่างเช่น แผ่นดินไหว
แต่ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดน้อยมากไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดขึ้น และเมื่อมันเกิดขึ้น มันสามารถกลายเป็นเหตุการณ์ "Black Swan" ที่สร้างความเสียหายมหาศาลได้ แบบเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารแบริ่งส์ในปี 1995 และเทรดเดอร์ที่ชื่อ นิค ลีสัน
นิค ลีสัน เป็นหัวหน้าเทรดเดอร์ด้านอนุพันธ์ของธนาคารแบริ่งส์ประจำสาขาสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 1992 เขามีหน้าที่เทรดแบบอาร์บิทราจ (Arbitrage) คือการทำกำไรจากส่วนต่างของราคาสัญญาฟิวเจอร์ส Nikkei 225 ที่ซื้อขายในตลาดโอซาก้าและสิงคโปร์
คุณลีสันควรจะซื้อในตลาดหนึ่งและขายในอีกตลาดหนึ่งทันทีเพื่อทำกำไรเล็กน้อยตามที่วางแผนไว้ แต่แทนที่จะอาร์บิทราจ เขาเริ่มเอาเงินมากขึ้นมาเทรดฝั่งเดียว โดยอิงกับอนาคตว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะต้องขึ้น
🇯🇵 แต่แล้ววันหนึ่งก็เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบเมื่อปี 1995
1
ก่อนเกิดแผ่นดินไหวเมื่อมกราคมปี 1995 ดัชนี Nikkei ซื้อขายอยู่ในช่วง 19,000 ถึง 19,500 จุด คุณลีสันมีสถานะลอง (long) อยู่ประมาณ 3,000 สัญญาในตลาดหลักทรัพย์โอซาก้า
แต่หลังจากแผ่นดินไหวโกเบเมื่อวันที่ 17 มกราคม ตลาดเปิดลง แม้ตอนนั้นสถานะที่มีจะเริ่มขาดทุนแล้ว แต่เขายังคงเปิดสถานะลองเพิ่มอีก เพราะเชื่อว่า Nikkei ลงแรงก็ต้องเด้งแรงได้
แต่สุดท้าย Nikkei ก็ไม่เด้งกลับขึ้นไปอย่างที่เขาคิด
ผลลัพธ์คือการขาดทุนประมาณ 2,200 ล้านดอลลาร์ จนทำให้ธนาคารแบริ่งส์ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1762 ประกาศล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1995
💰 แต่ถ้ามีคนขาดทุน 2,200 ล้านดอลลาร์ ก็ต้องมีอีกฝ่ายที่ได้กำไร คำถามคือใครล่ะ?
มีกลุ่มเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้มหาศาลจากเหตุการณ์นี้ นั่นคือเทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์เทรดตามเทรนด์ เพราะตอนนั้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นเริ่มเป็นขาลงแบบเห็นได้ชัด ซึ่งกลยุทธ์นี้จะล้อไปตามตลาด หากตลาดเป็นขาขึ้นก็ซื้อ ถ้าเป็นขาลงก็ขายหรือชอร์ต
จอห์น ดับเบิ้ลยู. เฮนรี่ เทรดเดอร์ตามแนวโน้มระดับตำนาน ทำกำไรได้หลายสิบ % ในช่วงเวลาเดียวกับที่ธนาคารแบริ่งส์ล้ม และเขายืนยันในปี 1998 ว่าผลกำไรที่เขาได้ในช่วงนั้น มาจากการเทรดที่ตรงข้ามกับธนาคารแบริ่งส์
และยังมีกองทุนที่เป็นสายเทรดตามแนวโน้มอีกหลายกองที่ทำเงินได้เช่นกัน
- Dunn (WMA) : +13.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ และ +24.4% ในเดือนมีนาคม
- Mark J. Walsh : +17.0% ในเดือนกุมภาพันธ์ และ +32.3% ในเดือนมีนาคม
- Millburn Ridgefield : +8.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ และ +19.4% ในเดือนมีนาคม
ภัยพิบัติแบบแผ่นดินไหวโกเบ หรือรวมถึงแผ่นดินไหวที่เราคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านเพิ่งเจอ แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นครับ
แต่ในฐานะเทรดเดอร์ คุณต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนเสมอ ไม่ใช่แค่ความไม่แน่นอนระดับธรรมดาอย่างราคาที่ขึ้นๆ ลงๆ แต่รวมถึงความไม่แน่นอนระดับที่คาดการณ์ได้ยากจนเกือบจะเป็น Black Swan ด้วย
ไม่ว่าจะเทรดด้วยวิธีไหนก็ตาม หลักสำคัญคือต้องมีระบบจัดการความเสี่ยงที่ดี ตัดขาดทุนเมื่อตลาดเคลื่อนไหวผิดทิศทาง และไม่เพิ่มสถานะเมื่อขาดทุน ถ้าตอนนั้นคุณลีสันเพียงแค่อาร์บิทราจตามปกติ ทุกวันนี้ธนาคารแบริ่งส์อาจจะยังอยู่ก็ได้
ความเสี่ยงน้อยไม่ได้แปลว่าไม่มีความเสี่ยงเลย และนั่นคือหน้าที่ของเทรดเดอร์อย่างเราที่ต้องรับมือกับมันให้ได้ครับ
- ทีมงานสนพ. Investing. in. th
อ้างอิง :
https://www.facebook.com/photo?fbid=1064822055677593&set=a.640022381490898
#MakeRichGeneration #การเงิน #แผ่นดินไหวโกเบ1995 #NicKLeeson
6 บันทึก
6
1
1
6
6
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย